รีเซต

ติดโควิดไร้อาการ-โรคร่วม ไม่ต้องกินฟาวิพิราเวียร์ สธ.ย้ำ! เข้าระบบ HI ให้แพทย์เช็กทุกวัน

ติดโควิดไร้อาการ-โรคร่วม ไม่ต้องกินฟาวิพิราเวียร์ สธ.ย้ำ! เข้าระบบ HI ให้แพทย์เช็กทุกวัน
มติชน
18 มกราคม 2565 ( 11:31 )
27
ติดโควิดไร้อาการ-โรคร่วม ไม่ต้องกินฟาวิพิราเวียร์ สธ.ย้ำ! เข้าระบบ HI ให้แพทย์เช็กทุกวัน

จากกรณีที่ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนเพิ่มขึ้น โดยส่วนหนึ่งได้เข้าระบบการดูแลที่บ้าน(Home Isolation) และส่วนหนึ่งได้รับการรักษาใน ฮอสปิเทล (Hospitel) ซึ่งพบว่าผู้ติดเชื้อที่อยู่บ้าน ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ค่อนข้างล่าช้า รวมถึงฮอสปิเทลบางแห่งมีการจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ แต่บางแห่งไม่ให้ จึงเกิดข้อสังเกตว่า ผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย ควรได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือไม่

 

ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 มกราคม นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย สามารถเข้ารักษาที่บ้าน(HI) ได้โดยติดต่อที่ 1330 หรือไลน์ @nhso สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จะเป็นผู้รับเรื่อง แล้วจับคู่กับรพ.หรือคลินิกใกล้บ้านผู้ติดเชื้อ ทั้งนี้ ตามไกด์ไลน์ของกรมการแพทย์ เมื่อผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบรักษาที่บ้าน แพทย์จะต้องเทเลเมด(Telemedicine) พูดคุย ซักถามอาการวันละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินอาการ หากไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ แต่หากมีเริ่มมีอาการที่อาจเปลี่ยนแปลงไปก็จะต้องจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ให้ทันที

 

“ส่วนคำว่ามีอาการน้อย หรือมีอาการ เราให้เป็นดุลยพินิจของแพทย์หน้างานที่คุยกับผู้ป่วย แต่เราย้ำว่า หากเป็นผู้ที่เริ่มมีอาการแล้วดูเหมือนจะเทิร์นไป ก็ต้องจ่ายยาเร็ว โดยหลักประเมินก็เช่น ผู้ติดเชื้ออายุน้อย ไม่มีโรคร่วม แต่มีอาการไอ เจ็บคอ ส่วนนี้ก็ไม่จำเป็นต้องรับฟาวิพิราเวียร์ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยเฉพาะโอมิครอนที่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อาการน้อยหรือไม่มีอาการ” นพ.สมศักดิ์ กล่าว

 

เมื่อถามต่อว่าหากผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อยมาก มีเพียงเจ็บคอ ไอ หากไม่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ ก็ไม่ได้แปลว่าเชื้อจะต้องลงปอด นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า หากไม่มีอาการ เช่น ไอ เจ็บคอ ผู้ป่วยแข็งแรง ไม่มีโรคร่วม ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งถ้าเข้าระบบ HI ก็จะมีแพทย์เทเลเมดทุกวัน เพื่อติดตามอาการ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง