STECON ได้เวลาฟื้น! เมย์แบงก์อัปเกรดเป็น "ซื้อ" มองอัปไซด์เด่น

#ทันหุ้น - บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ส่อง STECON ปรับคำแนะนำเป็น "ซื้อ" จาก "ถือ" โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 9 บาท อิงจากอัตราส่วน P/BV เป้าหมายที่ 0.73 เท่า ฝ่ายวิจัยเชื่อว่า STECON จะพลิกกลับมาเป็นกำไรในปี 68 โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ 1) ไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษเพิ่มเติม หลังจากที่มีการบันทึกไปแล้วทั้งหมดใน Q4/67 ซึ่งจะช่วยให้อัตรากำไรฟื้นตัว 2) ไม่ต้องรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนกว่า 500 ล้านบาทต่อปี จากการเปลี่ยนวิธีการบัญชีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและชมพู 3) Backlog เพียงพอรองรับรายได้ในช่วง 3 ปีข้างหน้า พร้อมอัปไซด์จากการประมูลโครงการภาครัฐเพิ่มเติม ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ระดับ P/BV ปี 68 เพียง 0.4 เท่า (-1.4SD) และ P/E 11 เท่า (-2.5SD) ซึ่งถือว่าน่าสนใจ และมีโอกาสได้รับการปรับมูลค่า (re-rating) หลังกำไรกลับมาสู่ระดับปกติ
ประเด็นความกังวลหลายอย่างคลคลายแล้วใน Q4/67 STECON เผชิญปัญหาหลายด้านในปี 67 ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญส่วนใหญ่ได้คลี่คลายแล้วใน Q4/67 โดย 1) ในปี 67 STECON มีอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) รายไตรมาสที่อ่อนแอราว -13% ถึง 3% (เทียบกับปกติที่ 5–6%) เนื่องจากมีการบันทึกค่าซ่อมแซมโครงการบึงหนองบอน อย่างไรก็ตามบริษัทได้ตั้งสำรองเต็มจำนวนสำหรับค่าใช้จ่ายทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและคาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมดแล้วราว 1 พันล้านบาทใน Q4/67 2) ตั้งสำรอง 1 พันล้านบาท สำหรับความเสียหายจากอุบัติเหตุในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและชมพู 3) ตั้งสำรอง 1.1 พันล้านบาท สำหรับโครงการ Clean Fuel Project (CFP) ของ TOP หลังจากผู้รับเหมาหลักผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งการตั้งสำรองเหล่านี้ส่งผลให้ STECON ขาดทุน 2.2 พันล้านบาทใน Q4/67 แต่ฝ่ายวิจัยมองว่า ตอนนี้สถานการณ์เลวร้ายที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว มีแผ่นเปลี่ยนวีธีบนทุกบัญชีทำให้ไม่ต้องรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนอีกต่อไป
STECON มีแผนจะเปลี่ยนประเภทการรับรู้เงินลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีชมพู จาก “บริษัทร่วม” (ตามวิธีส่วนได้เสีย) เป็น “สินทรัพย์ทางการเงิน” ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้อง รับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนอีกต่อไป แม้ว่า STECON จะถือหุ้นเพียง 15% แต่ที่ผ่านมาใช้วิธีส่วนได้ เสียเนื่องจากผู้บริหารของบริษัทดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทโครงการ เมื่อมีการวางแผน ลาออกจากตำแหน่งเหล่านี้ ฝ่ายวิจัยคาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีผลใน Q2/68 ซึ่งจะทำให้ส่วนแบ่งขาดทุนในปี 68 ลดลงเหลือ 148 ล้านบาท (จากขาดทุน 584 ล้านบาทในปี 67) และจะไม่มี ผลกระทบต่อกำไรอีกเลยตั้งแต่ปี 69 เป็นต้นไป
คาดผลประกอบการปี 68 พลิกเป็นกำไร กลับมาโดดเด่น ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 68-69 ขึ้น 20–37% จาก GPM ที่ดีขึ้นและส่วนแบ่งขาดทุนที่ลดลง โดยปัจจัยสนับสนุนการเติบโต ได้แก่ 1) รายได้ที่โตต่อเนื่องจาก backlog ที่มากกว่า 1 แสนล้านบาท 2) GPM เพิ่มขึ้นสู่ระดับปกติที่ 5.6% 3) ส่วนแบ่งขาดทุนที่ลดลง นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยยังมองเห็น ปัจจัยบวกอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น แนวโน้มกำไร Q1/68 ที่แข็งแกร่ง และการประมูลโครงการภาครัฐที่จะเร่งขึ้นใน 2H68 นอกจากนี้ STEON ยังมีโครงการซื้อหุ้นคืน (share buyback) วงเงินสูงสุดไม่เกิน 900 ล้านบาท หรือ 150 ล้านหุ้น โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 18 มี.ค. ถึง 17 ก.ย. สะท้อนความเสี่ยงขาลงที่จำกัด