รีเซต

TEPCO เตรียมติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ใน 'โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ' หลังเหตุน้ำปนเปื้อนรั่วไหล

TEPCO เตรียมติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ใน 'โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ' หลังเหตุน้ำปนเปื้อนรั่วไหล
Xinhua
8 เมษายน 2567 ( 12:39 )
15
TEPCO เตรียมติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ใน 'โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ' หลังเหตุน้ำปนเปื้อนรั่วไหล

  (แฟ้มภาพซินหัว : คนประท้วงหน้าสำนักงานใหญ่ของโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ คอมปานี หรือเทปโก เพื่อต่อต้านแผนการปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์ลงสู่ทะเลของรัฐบาลญี่ปุ่น ในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่น วันที่ 16 พ.ค. 2023 โตเกียว, 8 เม.ย. (ซินหัว) -- โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ คอมปานี หรือเทปโก (TEPCO) ผู้ดำเนินงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ของญี่ปุ่น ประกาศแผนการติดตั้งชุดอุปกรณ์เพื่อเป็นมาตรการป้องกัน หลังจากเกิดกรณีน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีรั่วไหลออกจากโรงไฟฟ้าแห่งดังกล่าวเมื่อไม่นานนี้เมื่อวันศุกร์ (5 เม.ย.) เทปโกเปิดเผยแผนการจะติดตั้งท่อและช่องระบายอากาศใหม่ ซึ่งถูกออกแบบมาลำเลียงของเหลวใดๆ ที่รั่วไหลออกมาให้อยู่ภายในอาคารของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของการปนเปื้อน โดยการติดตั้งดังกล่าวมีกำหนดเริ่มต้นวันจันทร์ (8 เม.ย.) และจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนเมษายนการติดตั้งชุดอุปกรณ์ใหม่เป็นการตัดท่อที่เชื่อมต่อกับอาคารเตาปฏิกรณ์อุณหภูมิสูงที่เกิดการรั่วไหลของน้ำปนเปื้อน และติดตั้งท่อใหม่ในแนวตั้งเพื่อปล่อยเฉพาะก๊าซออกจากช่องระบายอากาศสู่นอกอาคาร ส่วนน้ำในท่อจะไหลตรงสู่ถังพลาสติกในอาคารโดยมีส่วนปิดคลุมป้องกันการกระเด็น และพื้นที่นอกถังจะมีอุปกรณ์กักเก็บน้ำ พร้อมกล้องและเครื่องตรวจจับการรั่วไหลนอกจากนั้นเทปโกยื่นขออนุมัติจากสำนักงานกำกับควบคุมนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น สำหรับการแก้ไขแผนการรื้อถอน ซึ่งประกอบด้วยแผนการก่อสร้างสถานกักเก็บแบบแห้งเพื่อจัดการเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิสถานกักเก็บแบบแห้งดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ราว 9,800 ตารางเมตร จะมีหน่วยเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วแบบเสริมกำแพงคอนกรีตหนา 40 เซนติเมตร จำนวน 9 หน่วย ซึ่งจะกักเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วราวครึ่งหนึ่งของเชื้อเพลิงใช้แล้ว 9,532 ชุด ที่ยังคงอยู่ในเตาของหน่วยผลิตที่ 1-4 และเชื้อเพลิงใช้แล้วเหล่านี้จะเก็บอยู่ในถังเหล็ก 69 ใบเทปโกตั้งเป้าหมายริเริ่มการก่อสร้างสถานกักเก็บแบบแห้งดังกล่าวภายในอาณาเขตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ภายในปีงบการเงิน 2025อนึ่ง กรณีน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีรั่วไหลออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ก.พ. โดยน้ำปนเปื้อนนิวเคลียร์ราว 1.5 ตัน ซึ่งมีสารกัมมันตรังสี 6.6 พันล้านเบ็กเคอเรล รั่วไหลออกจากโรงไฟฟ้าฯ เพราะความผิดพลาดของมนุษย์รายงานระบุว่าวาล์วหลายตัวที่ควรถูกปิดกลับถูกเปิดทิ้งไว้ระหว่างการทำความสะอาดท่อของระบบบำบัดและฟื้นฟูน้ำเชิงรุก (SARRY) ซึ่งใช้บำบัดน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีภายในอาคารโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ จึงนำสู่การรั่วไหลข้างต้นขณะก่อนหน้านี้เมื่อเดือนตุลาคม 2023 เกิดเหตุกลุ่มคนงาน 5 คน สัมผัสกับน้ำเสียที่ปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสีโดยตรงด้วยสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ แห่งนี้ เผชิญแผ่นดินไหว ขนาด 9.0 ตามมาตราแมกนิจูด และสึนามิตามมา เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2011 ทำให้เกิดการหลอมละลายของแกนกลางจนปล่อยกัมมันตรังสีออกมา นำสู่การเกิด "อุบัติเหตุนิวเคลียร์ระดับ 7" ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (INES)โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ได้ผลิตน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีปริมาณมหาศาลจากการหล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในอาคารเตาปฏิกรณ์ ซึ่งปัจจุบันถูกกักเก็บอยู่ในถังของโรงไฟฟ้าฯ และเริ่มต้นปล่อยน้ำเสียลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเดือนสิงหาคม 2023 แม้มีกระแสคัดค้านจากรัฐบาลและชุมชน กลุ่มสิ่งแวดล้อม เอ็นจีโอ และกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านนิวเคียร์ในญี่ปุ่นและภูมิภาคแปซิฟิกเทปโกและรัฐบาลญี่ปุ่นถูกตั้งคำถามอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการปล่อยน้ำเสียลงสู่มหาสมุทรขณะกระบวนการรื้อถอนยังคงคลุมเครือ ท่ามกลางกระแสวิตกกังวลด้านความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในหมู่สาธารณชนญี่ปุ่นหลังจากเกิดอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ อยู่หลายครั้ง(แฟ้มภาพซินหัว : โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ในจังหวัดฟุกุชิมะของญี่ปุ่น วันที่ 6 มี.ค. 2023)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง