รีเซต

RCEP เพิ่มพลังความร่วมมือเศรษฐกิจการค้า 'จีน-ไทย'

RCEP เพิ่มพลังความร่วมมือเศรษฐกิจการค้า 'จีน-ไทย'
Xinhua
2 มกราคม 2566 ( 09:53 )
108

หนานหนิง, 1 ม.ค. (ซินหัว) -- ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งถือเป็นเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการครบหนึ่งปีในวันที่ 1 ม.ค. 2023

ห้วงเวลาหนึ่งปีที่ผันผ่าน ความตกลงฯ ได้ส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจ กระตุ้นการเติบโตทางการค้าและการลงทุนระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมถึงเกื้อหนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนและไทยความตกลงฯ ส่งผลประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียนผ่านมาตรการปรับลดภาษีศุลกากร ซึ่งช่วยตัดลดต้นทุนการนำเข้าและเพิ่มพูนโอกาสส่งออกอย่างมากการค้าสินค้าภายในภูมิภาคตามความตกลงฯ มากกว่าร้อยละ 90 จะมีการจัดเก็บภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ในท้ายที่สุด ซึ่งจะกลายเป็นพลังสนับสนุนการค้าข้ามพรมแดนอย่างมหาศาลปัจจุบันมีการขนส่งทุเรียน ลำไย มะพร้าว และกล้วยของลาวและไทยเข้าสู่จีนผ่านทางรถไฟจีน-ลาว โดยช่องทางนำเข้าผลไม้อาเซียนนี้ช่วยลดต้นทุนด้านเวลาและโลจิสติกส์อย่างมีนัยสำคัญช่วงไม่กี่ปีมานี้ มีการออกผลิตภัณฑ์ขนม เค้ก เครื่องดื่ม และอื่นๆ ที่ใช้ผลไม้อาเซียนเป็นวัตถุดิบหลักมาตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคชาวจีนอย่างต่อเนื่องตัวอย่างเช่นมะพร้าวไทยที่กำลังได้รับความนิยมชมชอบจากตลาดจีน เนื่องจากมีรสชาติหอมหวานและมอบความสดชื่น จึงถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารคาวหวานอย่างแพร่หลายปรากฏการณ์ข้างต้นส่งผลให้เกิดความร่วมมือทางการค้าระหว่างบริษัทจีนกับสวนมะพร้าวในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยฝ่ายหลังได้ลงนามข้อตกลงเป็นแหล่งส่งออกมะพร้าวแก่ผู้ประกอบการจีนการบังคับใช้ความตกลงฯ ควบคู่การสร้างระเบียงการค้าทางบก-ทะเลระหว่างประเทศใหม่ในภูมิภาคจีนตะวันตก ยังเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบการขนส่งสินค้าและความราบรื่นของโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคการขนส่งสินค้าจากอาเซียนสู่จีนนั้นมีตัวเลือกมากมาย ไม่ว่าทางถนน ทางราง ทางทะเล หรือทางอากาศ รวมถึงอาจผสมผสานตัวเลือกเหล่านั้นตามความต้องการที่แตกต่างกันขณะเดียวกันมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนด้านห่วงโซ่ความเย็น ห้องเย็นจัดเก็บสินค้า และบริการอื่นๆ ซึ่งช่วยให้การส่งออกผลไม้จากกลุ่มประเทศอาเซียนสู่จีนมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นท่าเรือชินโจว ณ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน ถือเป็นตัวอย่างชัดเจน โดยท่าเรือแห่งนี้มีบทบาทสำคัญต่อการค้าและโลจิสติกส์ข้ามพรมแดนระหว่างภูมิภาคจีนตะวันตกและกลุ่มประเทศอาเซียนมูลค่าการนำเข้าและส่งออกของระเบียงการค้าฯ ผ่านท่าเรือชินโจว ช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2022 สูงกว่า 1 แสนล้านหยวน (ราว 5 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.9 เมื่อเทียบปีต่อปีอนึ่ง กว่างซีถือเป็นประตูแห่งการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียน ซึ่งกอบโกยโอกาสจากความตกลงฯ และส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าด้านต่างๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา

 

(แฟ้มภาพซินหัว : สถานีตู้คอนเทนเนอร์ของท่าเรือชินโจว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน)

(แฟ้มภาพซินหัว : หญิงสวมชุดไทยนำเสนอสินค้าไทยภายในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งที่เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน)

 

(แฟ้มภาพซินหัว : รถขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์แบบขับเคลื่อนอัตโนมัติของท่าเรือชินโจว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง