เช็กอาการลองโควิด (Long COVID) ล่าสุด หายป่วยโควิด ยังมีอาการนาน 2 เดือน กระทบ 6 ระบบร่างกาย
สถานการณ์โควิด-19 ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากโควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” หรือ “โอไมครอน” ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มีผู้ติดเชื้อที่หายป่วยแล้วเป็นจำนวนมาก ที่ต้องเฝ้าระวังความเสี่ยง "ภาวะลองโควิด (Long COVID)" ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังหายป่วยโควิด และเป็นยาวนานกว่า 2 เดือน ส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆในร่างกาย ถึง 6 ระบบ
ลองโควิด คืออะไร
ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจากโรคโควิค-19 หรือ ภาวะ Long COVID เป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องกายหลังการติคเชื้อโควิค-19 ตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ และมีอาการอยู่นานอย่างน้อย 2 เดือน เกิคขึ้นได้หลายระบบ และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยอื่นๆ* จากการสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19ของกรมการแพทย์**
ภาวะลองโควิดยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดแต่สามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายและจิตใจของผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ได้ จึงแนะนำให้หมั่นสังเกตและประเมินร่างกายตัวเองอยู่เสมอหลังจากหายป่วย หากพบอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นระยะยาวและส่งผลกระทบต่อชีวิต ประจำวัน และหากปล่อยไว้นานก็อาจเป็นอันตรายได้
ผู้ที่หายจากโควิด-19 นอกจากการหมั่นสังเกตความผิดปกติแล้ว การตรวจร่างกายเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยให้รู้ทันความผิดปกติที่เกิดขึ้นและสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม
กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นภาวะ Long COVID
- ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว
- ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน
- เพศหญิงมีความเสี่ยงกว่าเพศชาย
อาการลองโควิดที่มักพบได้บ่อยล่าสุด
- ระบบประสาท พบได้ 27.33% ได้แก่ อ่อนแรงเฉพาะที่เฉียบพลัน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หลงลืม กล้ามเนื้อลีบ
- ระบบทางจิตใจ พบได้ 32.1% ได้แก่ นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด พบได้ 22.86% ได้แก่ เจ็บหน้าอก ใจสั่น
- ระบบทางเดินหายใจ พบได้ 44.38% ได้แก่ หอบเหนื่อย ไอเรื้อรัง
- ระบบผิวหนัง พบได้ 22.8% ได้แก่ ผมร่วง ผื่นแพ้
- ระบบทั่วไป พบได้ 23.41% ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ
ลองโควิด แพร่เชื้อได้ไหม
- ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ที่หายป่วยโควิดทุกคน
- ไม่สามารถแพร่เชื้อโควิดๆได้
- ไม่ทำร้ายปอดหรือร่างกายซ้ำ
- อาการจะค่อยๆดีขึ้นใน 3-4 เดือน
อย่างไรก็ตาม อาการผิดปกติดังกล่าวส่วนใหญ่หายได้เอง หากผู้ป่วยมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 2 เดือน ควรพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
ข้อมูล กรมการแพทย์
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<