รีเซต

"จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม" ดีเดย์ 23 ม.ค. เตรียมตัวอย่างไร - เอกสารมีอะไรบ้าง

"จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม" ดีเดย์ 23 ม.ค. เตรียมตัวอย่างไร - เอกสารมีอะไรบ้าง
TNN ช่อง16
8 มกราคม 2568 ( 18:08 )
20

กฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2568 นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของสังคมไทยที่เปิดโอกาสให้ทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างเท่าเทียม ไม่จำกัดเพียงชาย-หญิงอีกต่อไป


การให้บริการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม

ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2568 เป็นต้นไป คู่สมรสทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสได้ที่ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตทุกแห่งทั่วประเทศ โดยผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนสมรสต้องมีคุณสมบัติและเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้:


คุณสมบัติของผู้จดทะเบียนสมรส

  1. 1. บุคคลทั้ง 2 จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ กรณีผู้เยาว์ต้องนำบิดามารดา หรือ ผู้ปกตรองมาให้ความยินยอม กรณีต่ำกว่า 18 ปีต้องได้รับอนุญาตจากศาล 
  2. 2. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือ ไร้ความสามารถ
  3. 3. ไม่เป็นญาติใกล้ชิดทางสายโลหิตหรือพี่น้องร่วมบิดามารดา
  4. 4.  ไม่เป็นผู้ที่มีสถานภาพสมรสอยู่ในขณะยื่นจดทะเบียน หรือเป็นคู่สมรสของคนอื่น 
  5. 5. หญิง ชายผู้เป็นคู่สมรสตาย หรือ การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อสิ้นสุดการสมรสไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
  6. - คลอดบุตรแล้วในขณะนั้น
  7. - ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
  8. - มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
  9. - สมรสกับคู่สมรสเดิม 

  10.  ** เงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับเพศหญิง ** 
  11. หากผู้เข้าร่วมเป็นเพศหญิงและเคยผ่านการสมรสมาก่อน จะต้องผ่านการหย่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน หากยังไม่ครบกำหนด 310 วัน จะต้องแสดงใบรับรองแพทย์ยืนยันสถานะการไม่ตั้งครรภ์ ณ วันที่ลงทะเบียน

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรส


กรณีคนไทย

  1. 1. บัตรประชาชน
  2. 2. พยาน 2 คน ต้องเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะ

  3. กรณีคนไทยกับต่างชาติ

1.บัตรประชาชน และ หนังสือเดินทางพาสปอร์ต 

2. พยาน 2 คน ต้องเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะ

3. หนังสือรับรองการหย่า (กรณีที่เคยสมรสมาก่อน)


กรณีต่างชาติกับต่างชาติ

1. หนังสือเดินทางพาสปอร์ต 

2. หนังสือรับรองการหย่า (กรณีที่เคยสมรสมาก่อน)

3. พยาน 2 คน ต้องเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะ


ความสำคัญของกฎหมายสมรสเท่าเทียม

กฎหมายฉบับนี้สะท้อนถึงการยอมรับความหลากหลายทางเพศและความเท่าเทียมในสังคมไทย โดยเปิดโอกาสให้คู่รักทุกเพศสามารถสร้างครอบครัวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเท่าเทียมกับคู่สมรสชาย-หญิง เช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิทางการแพทย์ และสิทธิในการรับมรดก


ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจ

เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินการจดทะเบียนสมรส ผู้ที่สนใจควรเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและตรวจสอบรายละเอียดล่วงหน้ากับที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตในพื้นที่ของตน หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานทะเบียนในพื้นที่ใกล้เคียง


ภาพจาก: AFP  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง