รีเซต

นายกฯ ชูวิสัยทัศน์ “ABC” บนเวทีอาเซียน-เกาหลีใต้ เน้นพัฒนาเทคโนโลยี

นายกฯ ชูวิสัยทัศน์ “ABC” บนเวทีอาเซียน-เกาหลีใต้ เน้นพัฒนาเทคโนโลยี
TNN ช่อง16
10 ตุลาคม 2567 ( 11:35 )
23

10 ตุลาคม 2567 เวลา 10.15 น.นางสาวแพทองธาร นายกรัฐมนตรี ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ระหว่างผู้นำอาเซียนกับเกาหลีใต้ ครั้งที่ 25 โดยในการประชุมครั้งนี้ ( Yoon Suk Yeol ) นาย ยุน ซ็อก ย็อล ประธานาธิบดี สาธารณรัฐเกาหลีร่วมการประชุม โดยนายกรัฐมนตรี นางสาว แพทองธาร ได้กล่าวถ้อยแถลงในนามอาเซียน (ASEAN Common Statement) เนื่องจากประเทศไทย เป็นประเทศผู้ประสาน Coordinator และกล่าวในนามประเทศไทย โดยนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 

 

นางสาวแพทองธาร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปีนี้ถือเป็นปีสําคัญในการเฉลิมฉลองครบรอบ 35 ปีของความสัมพันธ์อาเซียน-เกาหลีใต้ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา อาเซียนกับเกาหลีใต้มีความร่วมมือ ที่ลึกซึ้งและขยายขอบเขตไปได้ทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้น บทบาทใหม่ของความสัมพันธ์ด้วยการจัดตั้งหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์รอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership : CSP) ซึ่งหวังว่าจะได้ดําเนินการ  CPS บนพื้นฐานของความไว้วางใจ เคารพซึ่งกันและกัน และเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน และการพัฒนาแผนปฏิบัติการอาเซียน-เกาหลีใต้ฉบับใหม่ (พ.ศ. 2569-2573) จะเป็นแนวทางความร่วมมือในอนาคต 


ทั้งนี้ อาเซียนชื่นชมการสนับสนุนของเกาหลีใต้ต่อความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และมุมมองของอาเซียนเกี่ยวกับอินโดแปซิฟิก ผ่านกลไกที่นําโดยอาเซียน รวมถึงชื่นชมการมีส่วนร่วมของเกาหลีใต้ในความร่วมมือภายใต้ AOIP ซึ่งสอดคล้องกับความร่วมมือเพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน(Korea ASEAN Solidarity Initiative : KASI)

 

ด้านการเมือง อาเซียนสนับสนุนความร่วมมือเพิ่มเติมในการจัดการกับปัญหาความมั่นคงที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม (non-traditional security issues) รวมถึงความมั่นคงทางไซเบอร์ อาชญากรรมข้ามชาติ และความมั่นคงทางทะเล ทางด้านเศรษฐกิจอาเซียนสนับสนุน RCEP และหวังว่าจะเริ่มการเจรจายกระดับ FTA อาเซียน-เกาหลีในปี พ.ศ. 2569 พร้อมกันนี้ อาเซียนสนับสนุน MSMEs สตาร์ทอัพ ให้กับเยาวชน คนรุ่นใหม่ และสุภาพสตรี รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และอุตสาหกรรมในอนาคต รวมถึงสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดน 


ส่วนทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ควรส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนและวัฒนธรรม หวังว่าเกาหลีใต้จะสนับสนุนการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพ ( TVET ) เพื่อแรงงานอนาคต รวมทั้ง สนับสนุนให้เกาหลีใต้ร่วมมือกับศูนย์อาเซียนด้านสาธารณสุข 

 

ส่วนของคาบสมุทรเกาหลี อาเซียนเรียกร้องให้เกาหลีเหนือปฏิบัติตามมติ UNSC พร้อมย้ำบทบาทที่สร้างสรรค์ และใช้กลไกของอาเซียน อาทิ ARF ส่งเสริมบรรยากาศการเจรจาอย่างสันติ ระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้ อาเซียนสนับสนุนความพยายามของเกาหลีใต้ในการเจรจาอย่างสันติและต่อเนื่องเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพที่ยั่งยืน เพื่อคาบสมุทรเกาหลีที่ปราศจากนิวเคลียร์ สงบสุข และเจริญรุ่งเรือง ในขณะที่ยอมรับการให้ความสำคัญกับ "August 15 Unification Doctrine" (วิสัยทัศน์ใหม่ด้านการรวมชาติ 15 สิงหาคม)

 

ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแถลงการณ์ของประเทศไทย โดยได้หยิบยกวิสัยทัศน์ 'ABC' ในการพัฒนาหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์รอบด้าน (CSP) กับเกาหลีใต้ นั้นก็คือ ด้าน'A' Advanced Technology การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เกาหลีใต้ในฐานะผู้นํานวัตกรรมหลายประเภท สามารถมีส่วนสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียน ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค และบูรณาการเศรษฐกิจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นผ่านการยกระดับ ASEAN-ROK FTA และ 'B'  Balanced development  คือการพัฒนาที่สมดุล สร้างอนาคตที่เท่าเทียมยั่งยืน และยืดหยุ่นมากขึ้น  โดยประเทศไทยขอให้เกาหลีใต้สนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง MSMEs  


ส่วนวิสัยทัศน์ 'C' Creative economy  หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้น หลายเรื่องที่ไทยได้รับแรงบันดาลใจจากความสําเร็จของเกาหลีใต้ โดยขอชื่นชมการมีส่วนร่วมของเกาหลีใต้ใน “Seminar on Thailand and Creative ASEAN” ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนที่แล้ว และประเทศไทยและเกาหลีใต้สามารถร่วมมือกันในประเด็นด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นจุดสนใจหลักของงานวันอาเซียน-เกาหลีใต้ในเดือนพฤศจิกายน2567 นี้




ภาพจาก รัฐบาลไทย

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง