รีเซต

รู้จัก โพแทสเซียมคลอเรต (KClo3) ต้นเหตุความรุนแรง โรงงานพลุระเบิดสุพรรณบุรี

รู้จัก โพแทสเซียมคลอเรต (KClo3) ต้นเหตุความรุนแรง โรงงานพลุระเบิดสุพรรณบุรี
TNN ช่อง16
19 มกราคม 2567 ( 11:14 )
68
รู้จัก โพแทสเซียมคลอเรต (KClo3) ต้นเหตุความรุนแรง โรงงานพลุระเบิดสุพรรณบุรี



กรณีเกิดเหตุโรงงานพลุระเบิด ที่ตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี  รายงานความเสียหายล่าสุด มีผู้เสียชีวิต 23 คน 


สำหรับ ส่วนสาเหตุที่เกิดครั้งนี้  โรงงานพลุมีวัตถุระเบิด คือ “ดินปืน” ที่เป็นตัวจุดระเบิด แต่สิ่งที่ทำให้ประชาชนบาดเจ็บ เสียชีวิต เป็นเพราะตัวเร่ง คือ โพแทสเซียมคลอเรต (KClo3) ที่เป็นสารแคตตาไลท์ ซึ่งเมื่อมีดินปืนระเบิด ทำให้เกิดการสันดาป จึงเกิดแรงระเบิด และแรงอัด ที่ทำให้ผู้อยู่ในบริเวณเสียชีวิตอย่างกะทันหัน  


ด้าน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการนายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรณีพลุระเบิด ที่วัดโรงช้าง ตำบลศาลาขาว จังหวัดสุพรรณบุรี  ระบุว่า จากการตรวจสอบพบว่า โรงงานมีการขอใบอนุญาตการให้ทำและค้าดอกไม้เพลิง ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงกระทรวงกลาโหม ได้ตรวจสอบการสั่งซื้อสารเคมีประกอบวัตถุระเบิด พบว่า ปฏิบัติตามกฎหมายถูกต้อง 


ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมตรวจสอบพบว่า สถานที่เก็บพลุแห่งนี้  ไม่ได้ขออนุญาตเป็นโรงงาน จึงทำให้ไม่มีการตรวจสอบวัตถุอันตราย ตนจึงมองว่า ตรงนี้เป็นจุดอ่อน เพราะทำให้ไม่มีการตรวจสอบ ส่วนผลกระทบจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณที่อาจเกิดสารเคมีแล้วตั้งแต่เมื่อคืนนี้


สาเหตุที่เกิดระเบิดเพราะมีสารดินปืน และโพแทสเซียมคลอเรต จำนวนมากเกินไปใช่หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่าสารโพแทสเซียมคลอเรต เป็นสารไม่สันดาปเอง แต่เป็นตัวเร่งหรือสารแคทตาไลท์ ทำให้เกิดแรงอัดสูง เป็นสารที่ต้องควบคุมปริมาณซึ่งไม่ได้ยืนยันสาเหตุแน่ชัด เพราะอยู่ในการพิสูจน์ของตำรวจ แต่ตนมองว่า กฎหมายและระเบียบทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนี้ ไม่สามารถควบคุมให้เกิดความปลอดภัยต่อโรงงานลักษณะนี้ในทุกประเด็น โดยจะเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการศึกษาว่า จะต้องปรับกฎเกณฑ์อะไรบ้าง


สำหรับ โพแทสเซียมคลอเรต เป็นสารประกอบที่มี โพแทสเซียม คลอรีน และออกซิเจน โดยมีสูตรโมเลกุล KClO₃ ในรูปบริสุทธิ์ เป็นสารผลึกสีขาว รองจากโซเดียมคลอเรต เป็นคลอเรตที่พบมากเป็นอันดับสองในอุตสาหกรรม เป็นสารออกซิไดซ์ที่แรงและการใช้งานที่สำคัญที่สุดคือการจับคู่ด้านความปลอดภัย ในการใช้งานอื่น ๆ นอกจากนี้ โพแทสเซียมคลอเรต ยังมีคุณสมบัติเข้าไปกระตุ้นทำให้ลำไยออกดอกได้ โดยไม่ต้องผ่านความหนาวเย็น ถ้าจำกันได้ เคยมีการเกิดเหตุโกดังเก็บสารโพแทสเซียมคลอเรตที่เกษตรกรใช้สำหรับเร่งต้นลำไยระเบิด ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บสาหัส 1 คน ในพื้นที่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่




เปิดตัวเลขเงินเยียวยาแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 


- กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี จะช่วยเยียวยาการเสียชีวิต 50,000 บาท

- การทำศพ 30,000 บาท

- ค่าดูแลบุตรที่กำลังศึกษาอายุไม่เกิน 25 ปี อีก 50,000 บาท รวมเป็นรายละ 130,000 บาท 

- เงินเยียวยา ของกระทรวงยุติธรรม ให้ผู้เสียชีวิตอีกประมาณ 200,000 บาท 

- เงินเยียวยาจากกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และกระทรวงมหาดไทย อีกจำนวนหนึ่ง 


ดังนั้น รวมแล้วครอบครัวผู้เสียชีวิต จะได้รับเงินเยียวยาประมาณรายละ 300,000 บาท


อย่างไรก็ตามในวันนี้ 19 ม.ค.67 เวลา 11.00 น. จะมีการประชุมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือเกี่ยวกับเหตุที่เกิดขึ้นทุกประเด็น รวมถึงการบูรณาการในการแก้ปัญหา ไม่ให้เกิดเหตุระเบิดซ้ำอีก พร้อมจะมีการหารือถึงการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ โดยข้อสรุปในที่ประชุมผมจะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันอังคารหน้า 



ภาพ ผู้สื่อข่าว จ.สุพรรณบุรี 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง