รีเซต

นักวิจัยเผย "เร่งความเร็ววิดีโอ" ขณะเรียน ไม่กระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน-นักศึกษา

นักวิจัยเผย "เร่งความเร็ววิดีโอ" ขณะเรียน ไม่กระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน-นักศึกษา
TNN ช่อง16
13 มกราคม 2565 ( 14:52 )
87
นักวิจัยเผย "เร่งความเร็ววิดีโอ" ขณะเรียน ไม่กระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน-นักศึกษา

คาดว่ามีนักเรียน-นักศึกษาส่วนใหญ่ยังต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านเป็นหลัก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในบางครั้งครูผู้สอนอาจทำวิดีโอสื่อการสอนเตรียมไว้ให้ผู้เรียนทำการศึกษาก่อนเริ่มออนไลน์ในวันถัดไป เชื่อว่ามีนักเรียน-นักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่ชอบรับชมวิดีโอแบบ "เร่งความเร็ว" เพื่อความสะดวกและประหยัดเวลาในการเรียน

ที่มาของภาพ Compare Fibre

 


อย่างไรก็ตาม อาจมีความเชื่อที่ว่าการเร่งความเร็วของวิดีโอการสอน จะส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ลดลง เพื่อพิสูจน์ความเชื่อนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-ลอสแอนเจลิส (UCLA) จึงทำการศึกษาผลของการเร่งความเร็ววิดีโอการสอนต่อการเรียนรู้ของนักเรียน-นักศึกษา


นักวิจัยทำการศึกษาในอาสาสมัครจำนวน 231 ราย โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่รับชมวิดีโอในความเร็วปกติ, กลุ่มที่รับชมวิดีโอในความเร็ว 1.5 เท่า, กลุ่มที่รับชมวิดีโอในความเร็ว 2 เท่า และกลุ่มที่รับชมวิดีโอในความเร็ว 2.5 เท่า จากนั้นจึงให้ทำแบบทดสอบประมวลผลจำนวน 40 ข้อ โดยวิดีโอที่นำมาใช้จะเป็นการสอนประวัติศาสตร์โรมัน และสอนวิธีการประเมินค่าทรัพย์สิน


ที่มาของภาพ Wes Hicks

 



ผลการประเมินพบว่าอาสาสมัครที่ได้รับชมวิดีโอด้วยความเร็วปกติ, ความเร็ว 1.5 เท่า และความเร็ว 2 เท่า ทำคะแนนในแบบทดสอบประมวลผลได้ใกล้เคียงกัน (คะแนนที่ต่างกันไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ) แต่ในกลุ่มที่รับชมวิดีโอด้วยความเร็ว 2.5 เท่า พบว่าทำคะแนนได้น้อยกว่า 3 กลุ่มข้างต้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งให้ความหมายว่าอาจมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้บ้าง (Minor learning impairments)


นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้ทำการทดสอบซ้ำในครั้งที่ 2 โดยเว้นช่วงระยะเวลาห่างไปอีก 1 สัปดาห์ ซึ่งผลการประเมินยังออกมาในลักษณะเดิม คืออาสาสมัครที่ได้รับชมวิดีโอด้วยความเร็วปกติ, ความเร็ว 1.5 เท่า และความเร็ว 2 เท่า ทำคะแนนในแบบทดสอบประมวลผลได้ใกล้เคียงกัน ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่า การเร่งความเร็วของสื่อการสอนวิดีโอในความเร็วที่เหมาะสม ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ที่มาของภาพ Annie Spratt

 


ทั้งนี้ แม้การรับชมสื่อการสอนแบบเร่งความเร็วเพิ่มขึ้นอาจจะไม่ส่งผลต่อการเรียนอย่างที่มีความเชื่อก่อนหน้านี้ แต่นักวิจัยจาก UCLA ตั้งข้อสังเกตว่าสำคัญวิดีโอที่มีรูปภาพหรือการเปลี่ยนฉากรวดเร็ว การเร่งความเร็ววิดีโออาจทำให้ผู้เรียนจดจำข้อมูลเหล่านั้นได้ยากขึ้นเมื่อเทียบกับการดูที่ความเร็วปกติ เพราะฉะนั้น จึงต้องพิจารณาตามความเหมาะสมเท่าที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก New Atlas

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง