รีเซต

ทำความรู้จัก “แผ่นดินไหวคลื่นยาว” สาเหตุที่ตึกสูงในไทยสั่นไหวรุนแรงและยาวนาน

ทำความรู้จัก “แผ่นดินไหวคลื่นยาว” สาเหตุที่ตึกสูงในไทยสั่นไหวรุนแรงและยาวนาน
TNN ช่อง16
29 มีนาคม 2568 ( 13:36 )
12

Weathernews บริษัทเอกชนของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยชื่อดังของญี่ปุ่นได้วิเคราะห์ถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรง ศูนย์กลางแผ่นดินไหวในเมืองมัณฑะเลย์ของเมียนมา บริเวณรอยเลื่อนสะกาย เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 13.20 น. ขนาดความรุนแรง 8.2 ที่ความลึก 10 กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ไกลถึงประเทศจีน รวมถึงภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเกิดอาฟเตอร์ช็อกเกิดขึ้นอีกกว่า 40 ครั้ง เนื่องจากความลึกอยู่ใกล้ผิวดิน


เหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้สร้างความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนจำนวนมากในกรุงเทพมหานคร แม้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไกลถึง 1,100 กิโลเมตร ส่งผลให้อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในพื้นที่เขตจตุจักรที่กำลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง ความสูง 30 ชั้น พังถล่มลงมา มีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก 


โดยรายจาก Weathernews พบว่าการสั่นสะเทือนของตึกและอาคารสูงในกรุงเทพมหานครคต่อเนื่องและรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากอิทธิพลของ “แผ่นดินไหวคลื่นยาว” หรือ Long-period Ground Motion เป็นคลื่นแผ่นดินไหวระยะยาว มีความถี่ต่ำ สามารถเดินทางได้ไกล ส่งผลให้อาคารสูงที่มีความยืดหยุ่นเกิดการสั่นพ้อง (Resonance) กับคลื่นแผ่นดินไหวระยะยาว


ความแตกต่างระหว่าง "แผ่นดินไหวปกติ" กับ "แผ่นดินไหวคลื่นยาว"

ภาพ: Weathernews

โดยปกติแล้ว “แผ่นดินไหวคลื่นยาว” เป็นการสั่นสะเทือนอย่างช้าๆ ที่มีระยะเวลา 2 วินาทีขึ้นไป สามารถเดินทางได้ไกล มักส่งผลกับอาคารสูงมากกว่าอาคารเตี้ย เมื่อเกิดการสั่นสะเทือนจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้โครงสร้างตึกที่ไม่แข็งแรง หรือไม่สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนอาจเกิดการเสียหายหรือพังถล่มลงมาได้ ในขณะเดียวกันแรงสั่นสะเทือนช่วงคลื่นที่ยาว และมีความถี่ต่ำ จึงไม่กระทบกับอาคารที่มีขนาดเล็ก 

 

ส่วน “คลื่นแผ่นดินไหวปกติ” มีแรงสั่นสะเทือนถี่และรวดเร็ว เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ เพียงแค่ 1 วินาที หรือน้อยกว่านั้น ตึกสูงที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นจึงได้รับผลกระทบน้อย เนื่องจากโครงสร้างสามารถซับแรงสั่นสะเทือนได้ดี แต่คลื่นแผ่นดินไหวระยะสั้นจะส่งผลกระทบกับอาคารเตี้ยมากกว่าเพราะมีโครงสร้างแข็งแรงแต่ไม่สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนแบบถี่ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง