รีเซต

โควิดมีหนาว! ม.อุบลฯผลิตเครื่อง UV ฆ่าเชื้อโควิด มุ่งช่วยชีวิตคน ทำแจก ไม่หวงแบบ

โควิดมีหนาว! ม.อุบลฯผลิตเครื่อง UV ฆ่าเชื้อโควิด มุ่งช่วยชีวิตคน ทำแจก ไม่หวงแบบ
77ข่าวเด็ด
17 เมษายน 2563 ( 02:29 )
400
โควิดมีหนาว! ม.อุบลฯผลิตเครื่อง UV ฆ่าเชื้อโควิด มุ่งช่วยชีวิตคน ทำแจก ไม่หวงแบบ

อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อุบล  คิดค้นเครื่องฆ่าเชื้อโควิด! ด้วยแสง UV เครื่องแรกในอีสาน พร้อมส่งต่อให้ รพ.ที่ขาดแคลน

 

ดร.อนิรุธ สืบสิงห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดเผยถึงแนวคิดว่าเครื่อง UBU-UVC: Smart Germicidal Irradiation Machine  ถูกพัฒนามาจากเครื่องฆ่าเชื้อที่ใช้โรงงานผลิตน้ำดื่ม ประจวบกับสถานการณ์โควิดปัจจุบันกำลังรุนแรงมากขึ้นโดยในฐานะประชาชนธรรมดาจึงอยากคิดนวัตกรรมที่ช่วยทีมหมอและโรงพยาบาลต่างๆด้วยเครื่องฆ่าเชื้อนี้ ซึ่งเริ่มศึกษาค้นคว้างานวิจัย จนค้นพบว่าแสงUV สามารถฆ่าเชื้อโควิดได้  ต่อมาจึงได้ปรึกษากับอาจารย์คณะวิศวกรรม ม.อุบลฯ  ร่วมออกแบบและหาข้อมูลเพิ่มเติมพัฒนาเครื่องฆ่าเชื้อโดยมีงบประมาณมาจากการขอรับบริจาคจากประชาชน

 

คุณสมบัติการทำงานของเครื่อง UBU-UVC จะปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลต UVC ออกมาฆ่าเชื้อโรคทั้งนี้แสง UVC เป็นแสงที่ค่อนข้างอันตรายหากเกิดการสัมผัสอาจส่งผลให้เป็นมะเร็งผิวได้ จึงทำให้ขณะใช้งานเครื่องฆ่าเชื้อนี้จะต้องเป็นห้ามมีบุคคลใดอยู่ใกล้และต้องเป็นห้องทึบห้ามมีแสงเล็ดลอด ยกตัวอย่างเช่น ห้องผ่าตัด ห้อง OR ห้อง ER ห้องพักห้องผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นต้น

 

โดยการฆ่าเชื้อจะใช้เวลาประมาณ 30 – 40 นาทีต่อพื้นที่16 -20 ตารางเมตร เมื่อฆ่าเชื้อเสร็จสามารถเข้าใช้งานได้เลย ทั้งนี้ถ้าหากเป็นห้องที่มีขนาดใหญ่ต้องทำการเคลื่อนย้ายเครื่องไปตามจุดต่างๆ เพราะเครื่องฆ่าเชื้อนี้มีหลอดไฟทั้งหมด 8 หลอด ขนาดรวม 320 วัตต์ใช้รัศมีไม่เกิน 20 ตารางเมตร ซึ่งในอนาคตทีมวิจัยจะออกแบบพัฒนาให้เครื่องฆ่าเชื้อสามารถเคลื่อนที่ได้เองอัตโนมัติ

 

ในอดีตเครื่องฆ่าเชื้อลักษณะนี้ค่อนอันตรายไม่สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตได้ต้องเว้นระยะห่างอย่าให้แสงตกกระทบถึงผิวหนัง แต่ปัจจุบันทีมงานวิจัยได้พัฒนาระบบควบคุมด้วยเทคโนโลยี Internet of Things ผ่าน Smartphone สามารถความคุมการเปิด-ปิดเครื่อง และตั้งเวลาการทำงานผ่านระยะไกล

 

ดร.อนิรุธ สืบสิงห์ กล่าวต่อว่า การบริจาคและพัฒนาเครื่องฆ่าเชื้อครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อที่จะช่วยเหลือสังคมให้สังคมอยู่รอดไปด้วยกัน อย่างที่รู้ว่าตอนนี้สถานการณ์เศรษฐกิจกำลังถดถอยเงินตราไม่มีค่าการช่วยเหลือกันสำคัญที่สุด ซึ่งขณะนี้ทีมวิจัยกำลังพัฒนาผลิตเครื่องอบฆ่าเชื้อหน้ากากN95 และอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วยรังสีแสง UV โดยในสัปดาห์หน้าอาจจะได้เห็นตัวต้นแบบ

 

ท้ายนี้หากโรงพยาบาล สถานพยาบาล ที่สนใจให้ผลิต หรือนำไปบริจาค และทดลองใช้งาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ดร.อนิรุธ สืบสิงห์ โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โทร. 097 992 9428 หรือ อีเมล anirut.s@ubu.ac.th

 

 
 

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง