รมว.เกษตรฯ ติดตามโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา
31ต.ค.65 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำในจังหวัดสงขลา ณ สถานีสูบน้ำบางหยี โครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) อ.บางกล่ำ จ.สงขลา โดยมี นายชูชาติ รักจิตร รองอธิบดีกรมชลประทาน นายการุณ แปลงรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่16 นายรุทธิ์ อินนุพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่16 นายสิริพล รักษนาเวศ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างขนาดกลางที่16 และผู้เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่
สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เป็นโครงการที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งอำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสงขลา ต้องประสบกับปัญหาอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ปี 2531 มูลค่าความเสียหายประมาณ 4,000 ล้านบาท ปี 2543 มูลค่าความเสียหายประมาณ 14,000 ล้านบาท และในปี 2553 มูลค่าความเสียหายประมาณ 10,490 ล้านบาท เมื่อรวมมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเขตพื้นที่เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยในจังหวัดสงขลา คิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวมหลายหมื่นล้านบาท
กรมชลประทาน จึงได้พิจารณาดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ โดยการปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 ประกอบด้วย การขยายก้นคลองจากเดิม 24 ม. เป็น 70 ม. ลึก 7 ม. ความยาว 20.937 กม. ก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 แบบบานโค้งขนาด 12.50 x 7.50 เมตร จำนวน 3 ช่อง ก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี 2 แบบบานตรงขนาด 6 x 6 เมตร จำนวน 8 ช่อง และก่อสร้างสถานีสูบน้ำบางหยีพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 15 ลบ.ม./วินาที จำนวน 6 เครื่อง รวมอัตราการสูบน้ำสูงสุด 90 ลบ.ม./วินาที ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากเดิมที่สามารถระบายน้ำได้ 465 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มเป็น 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเมื่อระบายน้ำร่วมกับคลองอู่ตะเภาในอัตรา 465 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำได้สูงสุดรวมกันประมาณ 1,665 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมทั้งยังเป็นแหล่งน้ำสำรองในช่วงฤดูแล้งประมาณ 5.00 ล้าน ลบ.ม. ด้วย
ทั้งนี้ ความก้าวหน้าของงานก่อสร้างปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 พร้อมอาคารประกอบ โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) มีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 99.32 ของแผนฯ ปัจจุบันคลองระบายน้ำ ร.1 มีศักยภาพในการระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงมั่นใจได้ว่าในช่วงฤดูฝนของปี 2565 โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา จะสามารถใช้ป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้กับราษฎรในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงได้เป็นอย่างเต็มประสิทธิภาพ
บรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา
กรมชลประทาน มั่นใจโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา สามารถระบายน้ำร่วมกับคลองอู่ตะเภาได้สูงสุด ประมาณ 1,665 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มั่นใจใช้ป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้กับราษฎรในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงได้
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำในจังหวัดสงขลา ณ สถานีสูบน้ำบางหยี โครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) อ.บางกล่ำ จ.สงขลา โดยมี นายชูชาติ รักจิตร รองอธิบดีกรมชลประทาน นายการุณ แปลงรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่16 นายรุทธิ์ อินนุพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่16 นายสิริพล รักษนาเวศ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างขนาดกลางที่16 และผู้เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่
สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เป็นโครงการที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งอำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสงขลา ต้องประสบกับปัญหาอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ปี 2531 มูลค่าความเสียหายประมาณ 4,000 ล้านบาท ปี 2543 มูลค่าความเสียหายประมาณ 14,000 ล้านบาท และในปี 2553 มูลค่าความเสียหายประมาณ 10,490 ล้านบาท เมื่อรวมมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเขตพื้นที่เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยในจังหวัดสงขลา คิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวมหลายหมื่นล้านบาท
กรมชลประทาน จึงได้พิจารณาดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ โดยการปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 ประกอบด้วย การขยายก้นคลองจากเดิม 24 ม. เป็น 70 ม. ลึก 7 ม. ความยาว 20.937 กม. ก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 แบบบานโค้งขนาด 12.50 x 7.50 เมตร จำนวน 3 ช่อง ก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี 2 แบบบานตรงขนาด 6 x 6 เมตร จำนวน 8 ช่อง และก่อสร้างสถานีสูบน้ำบางหยีพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 15 ลบ.ม./วินาที จำนวน 6 เครื่อง รวมอัตราการสูบน้ำสูงสุด 90 ลบ.ม./วินาที ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากเดิมที่สามารถระบายน้ำได้ 465 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มเป็น 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเมื่อระบายน้ำร่วมกับคลองอู่ตะเภาในอัตรา 465 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำได้สูงสุดรวมกันประมาณ 1,665 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมทั้งยังเป็นแหล่งน้ำสำรองในช่วงฤดูแล้งประมาณ 5.00 ล้าน ลบ.ม. ด้วย
ทั้งนี้ ความก้าวหน้าของงานก่อสร้างปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 พร้อมอาคารประกอบ โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) มีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 99.32 ของแผนฯ ปัจจุบันคลองระบายน้ำ ร.1 มีศักยภาพในการระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงมั่นใจได้ว่าในช่วงฤดูฝนของปี 2565 โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา จะสามารถใช้ป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้กับราษฎรในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงได้เป็นอย่างเต็มประสิทธิภาพ