“เราเที่ยวด้วยกัน” เงินสะพัด 3.6-6.2 หมื่นล้านบาท
TNN ช่อง16
22 กรกฎาคม 2563 ( 11:20 )
251
รายได้จากการท่องเที่ยวถือเป็นรายได้หลักของเศรษฐกิจไทย โดยในปี 2562 มีรายได้รวมราว 3.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึง 18% ของจีดีพี โดยเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.93 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 63% จากรายได้ท่องเที่ยวทั้งหมด หรือเป็นสัดส่วนราว 11 % ของจีดีพี
ขณะที่ในปี 2563 นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถเที่ยวไทยได้ เนื่องจากสถาการณ์การระบาดของโควิด-19 ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปีนี้จะเหลือไม่ถึง 10 ล้านคน ลดลงจากปี 2562 ที่มีจำนวน 39.8 ล้านคน
ดังนั้น เพื่อชดเชยการหดตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาครัฐมักกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ อย่างเช่น ในปี 2559 ที่ไทยมีมาตรปราบทัวร์ศูนย์เหรียญจากจีน หรือเมื่อ ปี 2561 ที่เกิดเหตุเรือล่มที่ภูเก็ตทำให้นักท่องเที่ยวจีนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ขณะที่ในเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงการระบาดของโควิด-19 คือ เมื่อมีการระบาดของโรค SARs ในปี 2546 ที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัว 7.4% ภาครัฐได้มีการสนับสนุน การท่องเที่ยว ผ่านการใช้งบประมาณ 82 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ และอนุญาตให้ข้าราชการกลุ่มเป้าหมายสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตามแนวทาง ส่งเสริมโดยไม่ถือเป็นวันลา รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปเดินทางท่องเที่ยวในช่วง วันหยุดต่อเนื่องระหว่างการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยว ชาวไทยเที่ยวในประเทศในปีดังกล่าวสามารถเติบโตได้ที่ 12% ส่งผลให้รายได้ท่องเที่ยว โดยรวมในปีดังกล่าว ยังเติบโตที่ 7%
ในปี 2563 ก็เช่นกัน เมื่อนักท่องเทียวต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาไทยได้ ภาครัฐ จึงสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวในประเทศ ด้วยงบฯ กว่า 22,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่มีมูลค่าเป็นสัดส่วนกว่า 89% ของแพ็คเกจกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งหมด ที่คาดหวังว่าจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563
โดยมาดูรายละเอียดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่ครม. อนุมัติมี 2 โครงการคือ โครงการ “กำลังใจ” และ “เราเที่ยวด้วยกัน” (รายละเอียดตามกราฟฟิก)
ทั้งนี้ ในส่วนของ "เราเที่ยวด้วยกัน" เมื่อวานนี้ (21 ก.ค.) คณะรัฐมนตรีมีมติปรับเกณฑ์จากเดิมรัฐสนับสนุนเงินเที่ยวในรูปแบบ E-Voucher โดยโอนให้ผ่านทางแอพฯ "เป๋าตัง" ในจำนวน 600 บาทต่อคืน มีการปรับเงินเพิ่มเติม ในกรณีที่เดินทางไปเที่ยวในวันธรรมดาจันทร์-ศุกร์ จะได้รับเงินเพิ่มเป็น 900 บาทต่อคืน ส่วนถ้าเดินทางท่องเที่ยวในวันหยุดเสาร์- อาทิตย์ ก็จะจ่ายเงินเที่ยวในจำนวนเดิมคือ 600 บาทต่อคืน
ทั้งนี้ การเปิดรับลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ที่เว็บไซต์ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. 2563 นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง รายงานงานว่า มีผู้มาลงทะเบียนแล้ว 4.26 ล้านคน (วันที่ 20 ก.ค.2563 เวลา 12.00 น.) ลงทะเบียนสำเร็จ 4.03 ล้านคน ขณะนี้กำลังทยอยแจ้งผลทาง sms ไม่มีอยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องกับฐานข้อมูลกรมการปกครองและลงทะเบียนไม่สำเร็จ 2.2 แสนคน กรณีนี้สามารถลงทะเบียนใหม่ได้
ทั้งนี้ ยอดลงทะเบียนจองสิทธิโรงแรมอัปเดตแบบเรียลไทม์ผ่านหน้าเว็บไซต์ ล่าสุด อยู่ที่ 116,817 ห้อง/คืน จากทั้งหมด 5 ล้านห้อง/คืน มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการรวม 34,434 แห่ง (สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ทุกวัน) แบ่งเป็นโรงแรม 5,713 โรง ร้านอาหาร 27,593 ร้าน และสถานที่ท่องเที่ยว 1,128 แห่ง
อย่างไรก็ดี สำหรับทั้ง 2 โคงการ “กำลังใจ” และ "เราเที่ยวด้วยกัน” มีหลายฝ่ายประเมินว่าจะทำให้มีเม็ดเงินสะพัดในภาคธุรกิจท่องเที่ยวในจำนวนที่แตกต่างกันไป อาทิ รัฐบาล โดยนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้คาดการณ์ก่อนหน้านี้ ( 15 ก.ค.) ว่า จะก่อให้เกิดรายรับทางเศรษฐกิจถึง 139,739 ล้านบาท //ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมิน (18 มิ.ย.) ว่า ผลของมาตรการภาครัฐ น่าจะทำให้คนไทยตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และสร้างเม็ดเงินรายได้ส่วนเพิ่มในตลาดไทยเที่ยวไทยอีกราว 41,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีมาตรการฯ //และล่าสุด Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย คาดว่าจะสามารถกระตุ้นรายได้ท่องเที่ยวไทยได้ 36,000-62,000 ล้านบาท
สำหรับการคาดการณ์ของ Krungthai COMPASS มีประเด็นเพิ่มเติมที่น่าสนใจคือ ประเมินเม็ดเงินท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นจาก มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายใต้โครงการ“เราเที่ยวด้วยกัน” โดยแบ่ง ออกเป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 - Base Case คนใช้จ่ายค่าที่พักตามปกติ : Krungthai COMPASS ประเมินว่า หากไม่รวมค่าใช้จ่ายของการเดินทางด้วยเครื่องบิน ผลของมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” จะก่อให้เกิดเม็ดเงินสะพัดไปยังธุรกิจ บริการท่องเที่ยวมูลค่าประมาณ 3.55 หมื่นล้านบาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายด้าน ที่พักที่มูลค่า 1.13 หมื่นล้านบาท
กรณีที่ 2 –Best Case คนจ่ายค่าที่พักแพงสุดเท่าที่จะได้รับส่วนลดจาก มาตรการ (ต้องจ่ายค่าห้องพัก 7,500 ต่อคืน จึงจะได้ส่วนลดเต็มอัตราที่ 3,000 บาทต่อคืน) : ในกรณีนี้ Krungthai COMPASS ประเมินว่า หาก ไม่รวมค่าใช้จ่ายของการเดินทางด้วยเครื่องบิน ผลของมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” จะก่อให้เกิดเม็ดเงินสะพัดไปยังธุรกิจบริการท่องเที่ยว มูลค่าประมาณ 6.17 หมื่นล้านบาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายด้านที่พักที่มูลค่า 3.75 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ Krungthai COMPASS ประเมินว่า แม้จะมาตรการอุดหนุนการท่องเที่ยวในประเทศของภาครัฐจะทำให้รายได้จาก การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 3.6-6.2 หมื่นล้านบาท แต่หากเทียบกับรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติในครึ่งปีหลังที่คาดว่าจะหายไปกว่า 9.5 แสนล้านบาท ก็จะเห็นได้ว่ามาตรการของรัฐสามารถชดเชยรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป ได้เพียง 3.7-6.4% เท่านั้น แม้เป็นจังหวัดที่คนไทยจะนิยมไป แต่หากมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก “เราเที่ยวด้วยกัน” ก็สามารถทดแทนรายได้ที่หายไปได้เพียงเล็กน้อย
โดยจากผลสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไทยปี 2562 (จากกราฟ) แสดงถึงจังหวัด ท่องเที่ยวที่คนไทยไปพักแรม 10 อันดับแรก ซึ่งน่าจะเป็นจังหวัดที่คนไปเที่ยวโดย ใช้สิทธิจาก “เราเที่ยวด้วยกัน” เช่นกัน
อย่างไรก็ดี แม้ว่าคนไทยจะไปเที่ยวจังหวัด ดังกล่าวเพิ่มขึ้น แต่หากรายได้หลักของการท่องเที่ยวจังหวดั นั้น คือ ชาวต่างชาติ เช่น ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ เป็นต้น รายได้จากคนไทยก็ทดแทนรายได้จากต่างชาติที่หายไปได้ ไม่มากนัก
Krungthai COMPASS ได้วิเคราะห์ลักษณะเมืองท่องเที่ยว จากตัวอย่างจังหวัดในกลุ่มดังกล่าว ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ ซึ่งมีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติในสัดส่วนที่สูงถึง 40-89% แม้คนไทยที่ได้รับสิทธิจาก “เราเที่ยวด้วยกัน” จะไปเที่ยวจังหวัดเหล่านี้ตามผลสำรวจ แต่ก็ชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยว ต่างชาติที่หายไปได้เพียง 0.5-9%
แต่ “เราเที่ยวด้วยกัน” สามารถชดเชยรายได้จากต่างชาติที่หายไปได้ ในจังหวัด ท่องเที่ยวที่คนไทยนิยมไป เช่น กาญจนบุรี นครราชสีมา เพชรบุรี เป็นต้น โดย จังหวัดดังกล่าวเป็นจังหวัดที่คนไทยนิยมไปท่องเที่ยว และมีสัดส่วนรายได้จาก นักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 3-15% เท่านั้น
ซึ่ง Krungthai COMPASS ประเมินว่าผู้ที่ไปเที่ยวจังหวัดดังกล่าวจากโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” จะสามารถ ชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปได้กว่า 30% หรือทดแทนได้ ทั้งหมด อย่างในกรณีของจังหวัดนครราชสีมาและเพชรบุรี ในขณะที่จังหวัด ท่องเที่ยวอื่นๆ ที่มีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 14-33% ได้แก่ อยุธยา ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง นักท่องเที่ยวจากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน น่าจะ ชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปได้ที่ราว 11.5-64.0%
เพราะฉะนั้น แม้ “เราเที่ยวด้วยกัน” จะไม่สามารถชดเชยรายได้ท่องเที่ยวจากต่างชาติที่ หายไปได้ แต่ก็ทำให้ภาคท่องเที่ยวมีรายรับเพิ่มขึ้นบ้าง และทำให้บางจังหวัดกลับมาคึกคักเหมือนเดิมได้ ซึ่งรายรับที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีมาตรการ อาจพอทำให้ ธุรกิจท่องเที่ยวสามารถอยู่รอดได้นานขึ้น จนถึงเวลาที่ต่างชาติสามารถกลับมา เที่ยวไทยได้
หลังจากนี้ก็ต้องติดตามต่อไปว่าในช่วงที่มีมาตรการ กิจกรรมทาง เศรษฐกิจและท่องเที่ยวจังหวัดไหนจะกลับมาเร็วเป็นพิเศษ ซึ่งการใช้ HighFrequency Indicators ต่างๆ เช่น Mobility Trends Report จาก Apple ก็ สามารถช่วยให้เราติดตามสถานการณ์ได้ทันเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น
ติดตามรายละเอียดได้ในรายการ
เศรษฐกิจ Insight
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE