รีเซต

ที่มาของ Stop Cyberbullying Day วันหยุดการระรานทางไซเบอร์สากล 2021

ที่มาของ Stop Cyberbullying Day วันหยุดการระรานทางไซเบอร์สากล 2021
TrueID
18 มิถุนายน 2564 ( 18:19 )
2.2K
ที่มาของ Stop Cyberbullying Day วันหยุดการระรานทางไซเบอร์สากล 2021

การแกล้งอาจจะฟังดูตลกขำขัน เพราะในหมู่เพื่อน ๆ ย่อมมีการแกล้ง หรือหยอกล้อกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่การแกล้งจะไม่ใช่เรื่องธรรมดาอีกต่อไปหากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รู้สึกมีอารมณ์ร่วม  หรือรู้สึกสนุกกับการแกล้งเล่นนี้ ตรงกันข้ามผู้ที่ถูกแกล้งอาจจะรู้สึกถูกคุกคาม ลามไปถึงส่งผลให้สุขภาพจิตเสีย ซึ่งการกลั่นแกล้งกันในเชิงนี้เรียกว่า “การบูลลี่” นั่นเอง วันนี้ trueID รวบรวมผลกระทบจากการถูกแกล้ง และที่มาของ Stop Cyberbullying Day มาให้ทราบกัน

 

 

ที่มาของ วันหยุดการระรานทางไซเบอร์สากล (Stop Cyberbullying Day)

 

Stop Cyberbullying Day เกิดขึ้นโดย Cybersmile Foundation องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อต่อต้าน Cyberbullying โดยกำหนดให้วันศุกร์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน (ซึ่งปีนี้เป็นวันที่ 18 มิ.ย.) เป็นวันหยุดการระรานทางไซเบอร์สากล เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความรุนแรงของการระรานทางไซเบอร์และร่วมหยุดพฤติกรรมและการกระทำดังกล่าว

 

"เพราะ Cyberbullying ไม่ใช่เรื่องล้อกันเล่นขำ ๆ ผลกระทบนั้นรุนแรงกว่าที่เราคิด"

 

 

การระรานทางไซเบอร์ (Cyber Bullying) คืออะไร

 

Cyber Bullying คือการระราน กลั่นแกล้ง รังแกกันบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ทำให้คนอื่นเกลียดชัง ข่มขู่ คุกคาม แฉ ประจาน ทำให้อับอาย การใส่ร้ายป้ายสีผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว

 

 

ผลกระทบจากการบูลลี่

 

ผู้ถูกบูลลี่

ผลกระทบของ Cyberbullying นั้น เกิดขึ้นทั้ง

  • ทางร่างกาย ทำให้เหยื่อ นอนไม่หลับ เครียด มีอาการเจ็บป่วยทางกาย
  • และทางจิตใจ คือ เหยี่อรู้สึกอับอาย หวาดกวัง ระแวง สิ้นหวัง ไร้ค่า สูญเสียความมั่นใจ ชีวิตไม่มีความสุข จนไปถึงขึ้นอาจคิดทำร้ายตนเอง หรือฆ่าตัวตาย

 

ผู้บูลลี่

นอกจากนี้การกลั่นแกล้ง หรือการบูลลี่ไม่เพียงแต่จะกระทบกับสภาพจิตใจของผู้ที่ถูกแกล้งเท่านั้น แต่พฤติกรรมดังกล่าวยังส่งผลต่อผู้ที่กลั่นแกล้งด้วย เช่น เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้สารเสพติด มีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง และอาจร้ายแรงถึงขั้นอาจก่อเหตุอาชญากรรมขึ้นได้ในอนาคต

 

 

การรับมือกับปัญหาสำหรับผู้ที่ถูกบูลลี่

 

กรมสุขภาพจิตได้แนะวิธีการไว้ 5 แนวทาง ดังนี้

 

  1. ไม่ตอบสนองต่อการกลั่นแกล้ง ไม่ว่าการกลั่นแกล้งนั้นจะกระทบกับจิตใจของเรามากแค่ไหนก็ตาม เพราะการตอบสนองจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง
  2. ไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรง เพราะอาจจะกลายเป็นผู้กระทำความผิด และกลายเป็นจำเลยสังคม
  3. เก็บหลักฐานที่ถูกกลั่นแกล้ง เพื่อปรึกษาผู้ปกครอง หรือดำเนินคดี
  4. หากเกิดกรณีไซเบอร์บูลลี่ ควรรายงานกับโซเชียลมีเดียต้นทาง
  5. ตัดการติดต่อ หรือบล็อกการเชื่อมต่อ พร้อมระมัดระวังไม่ให้ตัวเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มนี้อีก

 

 

ภาพโดย Elf-Moondance จาก Pixabay 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง