รีเซต

ผักชี-กะเพรา-โหระพา อุดมประโยชน์ 'ต้านไวรัส'

ผักชี-กะเพรา-โหระพา อุดมประโยชน์ 'ต้านไวรัส'
มติชน
6 พฤษภาคม 2563 ( 11:52 )
564
ผักชี-กะเพรา-โหระพา อุดมประโยชน์ 'ต้านไวรัส'

ผักชี-กะเพรา-โหระพา อุดมประโยชน์ ‘ต้านไวรัส’

คุ้นกันดีกับ สมุนไพรใบหอม ที่มักจะเอาไว้โรยปิดท้ายเมนู แต่กระนั้นฤทธิ์ของสมุนไพรใบหอมเหล่านี้ มีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบ และเสริมภูมิคุ้มกันได้ด้วย เมื่อบริโภคในรูปแบบของอาหาร เมนูต่างๆ

คู่มืออาหารสมุนไพร เสริมภูมิคุ้มกัน ในภาวะที่มีการระบาดของโควิด-19 โดย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระบุไว้ว่า สมุนไพรที่มีหลักฐานทางวิชาการในการเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบและต้านไวรัส (ไม่เพียงเฉพาะไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019) สามารถพิจารณาเลือกใช้เป็นส่วนผสมหลักในอาหารที่บริโภคทุกวัน

สมุนไพรเหล่านี้ควรบริโภคด้วยความหลากหลาย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร ในสมุนไพรบางรายการยังไม่มีรายงานความปลอดภัย ดังนั้นควรบริโภคในรูปแบบของอาหาร และหลากหลาย จะปลอดภัยที่สุด

ในส่วนของผักใบหอม “กะเพรา” อายุรเวทใช้รักษาหวัด แก้ปวดหัว คลายเครียด มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยมีผลยับยั้งเอนไซม์ neuraminidase ของไวรัส ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการรักษา และควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส กลไกเดียวกันกับยา oseltamivir มีสารสำคัญคือ phosphatidyl choline (PC)-complexed oleanolic acid, ursolic acid, rosmarinic acid, eugenol, carvacrol และ linalool

นิยมนำไปประกอบเมนูอาหารอย่างแพร่หลาย อาทิ ผัดกะเพรา ไก่ซอสกะเพรา และ น้ำกะเพรา

ต่อมา “โหระพา” ตามตำราพื้นบ้านใช้น้ำคั้นสดจากใบดื่มวันละ 2 ครั้งเพื่อรักษาหวัด มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ และปรับภูมิคุ้มกัน โดยมีผลยับยั้งการหลั่งสารอักเสบหลายชนิด ทั้งนี้ มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และต้านไวรัส ด้วยมีสารสำคัญคือ caffeic และ p-coumaric acid

นิยมนำไปประกอบเมนูอาหารอย่างแพร่หลาย อาทิ มะเขือยาวผัดโหระพา ไข่เจียวโหระพา และ ห่อหมกใบโหระพา

ไม่พูดถึงไม่ได้ สำหรับผักใบหอม “ผักชี” ตามตำราพื้นบ้าน นำน้ำคั้นจากใบอ่อนใช้คลายกังวลและรักษาอาการนอนไม่หลับ โดยมีสารสำคัญคือ kaempferolและ quercetin ที่จำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์พบว่าสารสำคัญดังกล่าวสามารถแย่งจับกับตำแหน่ง main protease (Mpro) ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ได้ ทั้งนี้ จึงมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และต้านไวรัส

นิยมนำไปเพิ่มความหอม น่ารับประทานในเมนูอาหารต่างๆ รวมถึงเป็นผักแนม อาทิ เมี่ยงปลาทูแนมผักชี ไข่ลูกเขยโรยผักชี และ สาคูไส้หมูกินกับผักชี

ปิดท้ายด้วย “ผักชีลาว” หรือ “เทียนตาตั๊กแตน” สมุนไพรพื้นบ้านใช้ใบช่วยขับลม พบฤทธิ์ต้านไวรัส ส่วนเมล็ดใช้กินรักษาหวัด ส่วนมากใช้เป็นหนึ่งในวัตถุดิบทำพริกแกง และเครื่องเทศ มีสารสำคัญคือ kaempferol และ quercetin ที่จำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์พบว่าสารสำคัญดังกล่าวสามารถแย่งจับกับตำแหน่ง main protease (Mpro) ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ได้

นิยมนำไปเพิ่มความหอมในเมนูอาหารต่างๆ รวมถึงเป็นผักแนม อาทิ แกงอ่อม และเมล็ดผักชีลาว 60 กรัม ชงผสมน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ครั้ง เวลาเป็นหวัด

สามารถดาวน์โหลด “คู่มืออาหารสมุนไพร เสริมภูมิคุ้มกัน ในภาวะที่มีการระบาดของโควิด-19” โดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ฉบับเต็ม ในรูปแบบ อี-บุ๊ก (E-book) ได้ฟรี คลิกที่นี่ หรือที่เฟซบุ๊ก “สถาบันการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง