อินเดียเผย 'ดาวเทียมขนาดเล็ก' ปล่อยสู่วงโคจรใหม่ ใช้งานไม่ได้แล้ว
นิวเดลี, 8 ส.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันอาทิตย์ (7 ส.ค.) องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) เปิดเผยว่าดาวเทียมขนาดเล็ก 2 ดวงที่ถูกปล่อยช่วงก่อนหน้าในวันเดียวกันนั้นใช้งานไม่ได้แล้วองค์การฯ รายงานว่าดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก (EOS-02) และดาวเทียมอาซาดีแซท (AzadiSAT) หรือดาวเทียมเสรีภาพ ที่พัฒนาโดยกลุ่มนักเรียนอินเดีย ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรแล้วทว่าเข้าสู่วงโคจรตามเป้าหมายได้น้อยกว่าที่คาดไว้รายงานข่าวจากสื่อมวลชนเผยว่าดาวเทียมอาซาดีแซท เป็นดาวเทียม8ยู คิวบ์แซท (8U CubeSat) ที่พัฒนาโดยนักเรียนหญิง 750 คน เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 75 ปี วันประกาศเอกราชของอินเดีย ในวันที่ 15 ส.ค. นี้แถลงการณ์จากองค์การฯ ระบุว่าอาซาดีแซทหนักราว 8 กิโลกรัม และบรรทุกระบบเพย์โหลด หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานบนดาวเทียม ได้ 75 ชิ้น แต่ละชิ้นหนักราว 50 กรัม อีกทั้งรับหน้าที่ดำเนินการทดลองเฟมโต โดยนักเรียนหญิงจากชนบททั่วประเทศได้รับคำแนะนำในการสร้างระบบเพย์โหลดเหล่านี้องค์การฯ โพสต์ทวิตเตอร์ว่าจรวดขนส่งดาวเทียมขนาดเล็ก-ดี1 (SSLV-D1) ติดตั้งดาวเทียมดังกล่าวในวงโคจรแบบวงรีระยะ 356 กิโลเมตร คูณ 76 กิโลเมตร แทนที่จะเป็นวงโคจรแบบวงกลมระยะ 356 กิโลเมตร ดาวเทียมจึงไม่สามารถใช้งานต่อได้ทั้งนี้ องค์การฯ เผยว่าความล้มเหลวเชิงตรรกะในการระบุข้อผิดพลาดของตัวเซนเซอร์และการกอบกู้ความเสียหายเป็นสาเหตุความคลาดเคลื่อนครั้งนี้ พร้อมเสริมว่าคณะกรรมการกลุ่มหนึ่งจะทำการวิเคราะห์และเสนอแนะ และองค์การฯ จะนำข้อแนะนำเหล่านี้ไปแก้ไขและกลับมาพร้อมจรวดขนส่งดาวเทียมขนาดเล็ก-ดี2 (SSLV-D2) อีกครั้งเร็วๆ นี้ก่อนหน้านี้องค์การฯ เปิดเผยบนเว็บไซต์ทางการว่าทุกขั้นตอนดำเนินไปตามปกติ ดาวเทียมทั้งสองถูกส่งขึ้นไป แต่เข้าสู่วงโคจรตามที่ตั้งเป้าไว้ได้น้อยกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งทำให้มันไม่เสถียร โดยภายหลังการปล่อยดาวเทียมองค์การฯ ได้รายงานพบการสูญเสียข้อมูลในระยะต่อมาดร. ศรีธรา ปานิเกอร์ โสมนาถ ประธานองค์การฯ กล่าวว่าเที่ยวบินแรกของจรวดขนส่งดาวเทียมขนาดเล็ก (SSLV) เสร็จสิ้นและเป็นไปตามคาดการณ์ทุกขั้นตอน เราทราบว่าข้อมูลสูญหายในขั้นสุดท้าย คณะทำงานจึงได้รอตรวจสอบสถานะของดาวเทียมและสมรรถนะจรวดขนส่ง