ประวัติ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตมือเขียนรัฐธรรมนูญยุค คสช.

อดีตมือเขียนรัฐธรรมนูญยุค คสช. เขาคือใคร? วันนี้จะพาไปส่ง ประวัติ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เขาคนนี้ และยังเป็นญาติกับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม
ประวัติ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
สำหรับ ประวัติ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เขาเกิด 19 ตุลาคม พ.ศ. 2497 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 7 ของวิภัทร และอารีย์ อุวรรณโณ
และยังเป็นญาติกับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายในรัฐบาลปัจจุบันและอดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายในรัฐบาลพรรคไทยรักไทย
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ สมรสกับ ปาริชาติ ชุมสาย ณ อยุธยา (สุขสงเคราะห์) มีบุตร-ธิดา 2 คน
ประวัติด้านการศึกษา
- จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนแสงทองวิทยา
- จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- ต่อมาได้เข้าศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2518 ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง) จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2519
- จากนั้น บวรศักดิ์ อุวรรณโณ สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตไทย (สอบได้อันดับที่ 3 ของรุ่นที่ 29) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปี พ.ศ. 2522 ได้ปริญญาชั้นสูงทางกฎหมายปกครอง มหาวิทยาลัยปารีส ในปี พ.ศ. 2525
- สำเร็จปริญญาเอก กฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยปารีส และพ.ศ. 2541 จบหลักสูตรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 4111
เส้นทางการทำงานของ อดีตมือเขียนรัฐธรรมนูญยุค คสช.
ทั้งนี้ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นผู้มีความสามารถและทำงานหลากหลายตำแหน่ง ตามนี้
- นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
- กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้า
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- ประธานกรรมการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย
- ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558
- ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560
- รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- อุปนายกราชบัณฑิตยสถานคนที่ 1
- กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ
- กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560
- อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549
- อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539
- อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
ประวัติ การทำงานด้านการเมือง ของ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
- พ.ศ. 2519 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เริ่มรับราชการในปี ในตำแหน่งอาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2531 เป็นคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2532 เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
- พ.ศ. 2534 ได้กลับเข้ารับราชการ ภาควิชากฎหมายปกครองและกฎหมายทั่วไป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2538 เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปี พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2546 เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ปี พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2549 เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ภายหลังการ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558
- ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560
- รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ โพสต์ผิดหวังปม เสนอชื่อ พิธา" ซ้ำ โหวตนายกรอบ 2
อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ 19 กรกฎาคม 2566 ซึ่งเป็นวันโหวตนากรอบ 2 ได้โพสต์ข้อความลง เฟซบุ๊ก Borwornsak Uwanno เกี่ยวกับการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนนิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล หลังที่ประชุมมีมติห้ามเสนอชื่อ พิธา ซ้ำ ซึ่งระบุข้อความบางตอนว่า ตนรู้สึกผิดหวังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หลายคน ที่สนับสนุนมติดังกล่าว
ข้อมูล : วิกิพีเดีย
ภาพ : FB บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
กดเลย >> community แห่งความบันเทิง
ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี