ม.หอการค้า เผย โควิดระลอกใหม่ ฉุดดัชนีเชื่อมั่นฯ ลดลงในรอบ 3 เดือน
เมื่อวันที่ 7 มกราคม นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือนธันวาคม 2563 จากการสำรวจประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,249 ตัวอย่าง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 50.1 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 52.4 ถือเป็นการปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นในปัจจุบันอยู่ที่ 34.5 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนที่ 36.3 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคต อยู่ที่ 57.4 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ที่อยู่ที่ 60.1
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า สำหรับปัจจัยลบ อาทิ ความวิตกกังวลต่อการแพรระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ระบาดเป็นวงกว้างและรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีตของประชาชน การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว และบริการต่างๆ, คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ปี 2564 จะขยายตัวอยู่ที่ 3.2% จากประมาณการเดิมที่คาดไว้ 3.6% จากสถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศที่ยืดเยื้อและรุนแรงกว่าที่คาด และเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 30.47 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือน พฤศจิกายน 2563 เป็น 30.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 ทำให้มีความกังวลว่าจะส่งกระทบในแง่ลบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก
นายธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า ส่วนปัจจัยบวก อาทิ ภาครัฐดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2563 ประกอบด้วย โครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และมาตรการช้อปดีมีคืน ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้ปรับตัวดีขึ้น และราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับที่ดีโดยเฉพาะข้าว ยางพารา ปล์มน้ำมัน และปศุสัตว์ ส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้และส่งผลให้กำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น
ส่วนหนึ่งเกิดจากสถานการณ์ทางการเมืองเมื่อเดือนกันยายน 2563 แต่ที่ดัชนีฯ ยังอยู่ในเกณฑ์ดีเนื่องจากรัฐบาลมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ มากขึ้น
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจ โอกาสการหางานทำ และรายได้ในอนาคต ปรับตัวลดลงทุกรายการ โดย ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 43.5 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 45.6 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางาน อยู่ที่ 47.5 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 50 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 59.2 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 61.6
ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมแทบทุกรายการ อยู่ที่ 42.6 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนมิถุนายน ที่ 41.4 หรือปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เชื่อมั่นโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ 48.4 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 47.6 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 59.3 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 58.6 และดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ดัชนีปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 28.3 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่อยู่ระดับ 29.8