“หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า” ต้อนรับหน่วยงานภาครัฐเยี่ยมชมความสำเร็จด้านการบริหารจัดการองค์กร
นายภักดี ไทยสยาม ประธานกรรมการ บริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จำกัด อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา พร้อมคณะผู้บริหารและเกษตรกรหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ให้การต้อนรับ นพ.สุทธิพงษ์ อาจกมล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีมโหสถ พร้อมคณะผู้บริหารโรงพยาบาลศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ตลอดจนคณะผู้บริหารและเพื่อนพนักงาน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ จากธุรกิจไก่เนื้อและเป็ดเนื้อ ธุรกิจสัตว์น้ำ ธุรกิจห้าดาวและธุรกิจฟู้ดคอร์ทและจัดเลี้ยง ธุรกิจการค้าในประเทศ และ หน่วยงานพัฒนาความยั่งยืน เข้าเยี่ยมชมความสำเร็จด้านการบริหารจัดการองค์กรและองค์ความรู้ชุมชน อาทิ โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน โครงการปลูกป่าเชิงนิเวศในชุมชนเฉลิมพระเกียรติรัชการที่ 9 โครงการไก่ไข่อินทรีย์ และโครงการผักอินทรีย์“เกษตรกรหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาองค์กรและบุคลากรเพื่อความยั่งยืน ผ่านโครงการส่งเสริมด้านอาชีพ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกิจกรรมต่างๆที่ชาวชุมชนและชาวซีพีเอฟร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่อง เราเริ่มต้นจากอาชีพหลักคือการเลี้ยงสุกร ภายใต้การสนับสนุนของซีพีเอฟ มานานกว่า 45 ปี นับตั้งแต่ปี 2520 สู่การต่อยอดอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ที่หลากหลาย ตามความต้องการของเกษตรกร และสอดรับกับบริบทของชุมชน ควบคู่กับการสร้างความรักและผูกพันของเกษตรกรและลูกหลาน เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” นายภักดี กล่าวจากการถอดบทเรียน ในการดำเนินโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของหมู่บ้านเกษตรกรกรรมหนองหว้า พบว่า โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน เป็นการบูรณาการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ จากการที่ทุกปีในช่วงที่เกิดภาวะแล้ง จะต้องซื้อน้ำสำหรับใช้ในการเลี้ยงสุกรและการอุปโภคบริโภค จึงเริ่มดำเนินโครงการฯในปี 2562 ด้วยการทำธนาคารในระบบเปิดและระบบปิด บนพื้นที่ 1,200 ไร่ สามารถแก้ปัญหาขาดน้ำในช่วงภัยแล้งได้ ไม่ต้องซื้อน้ำใช้อีก และธนาคารน้ำใต้ดิน หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า เป็นหนึ่งในโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมาย CPF 2030 Sustainability in Action ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการคืนน้ำกลับสู่ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ และแก้ไขบรรเทาปัญหาเรื่องน้ำให้กับคนในชุมชน สังคม และโลก อย่างเป็นรูปธรรมสำหรับศูนย์เรียนรู้โครงการปลูกป่าเชิงนิเวศในชุมชนเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 เป็นโครงการที่ชาวหนองหว้าต้องการสร้างป่าให้ชุมชน ตามแนวทางของ ศ.ดร.อาคิระ มิยาวากิ ผู้สร้างทฤษฎีปลูกป่าเลียนแบบระบบนิเวศตามธรรมชาติที่ได้รับการยอมรับและนำไปปฏิบัติตามทั่วโลก โดยจัดให้พื้นที่ 14 ไร่ ภายในหมู่บ้านฯ ปลูกต้นไม้พืชพรรณและสมุนไพร 109 ชนิด มากกว่า 50,000 ต้น ในปีนี้ธุรกิจสุกรจะใช้สวนป่าแห่งนี้ ในการจัดอบรมให้ความรู้การวัดต้นไม้ให้กับพนักงาน CPF เพื่อขอรับรองผลการประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกโครงการ LESS ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) การดำเนินโครงการนี้ สนับสนุนเป้าหมาย CPF 2030 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ Net zero Carbon ด้วยการปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยโครงการไข่ไก่อินทรีย์ เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างซีพีเอฟและเกษตรกรที่ต้องการมีรายได้เสริม โดยซีพีเอฟได้ร่วมสนับสนุนด้านวิชาการในโครงการไข่ไก่อินทรีย์ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตไข่ไก่ออร์แกนิค (Organic) ให้เกิดความสำเร็จ สามารถสร้างอาชีพเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระ (Free Range) สอดรับความต้องการผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจอาหารปลอดภัยและคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ จากความใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต ไข่ไก่สดหนองหว้า จึงได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และการรับรองรับรองระบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ (Layer Chicken and Chicken Egg Organic Production System Certification) จากกรมปศุสัตว์ ซึ่งถือเป็นการรับรองสูงสุดด้านเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์และการผลิตไข่ไก่อินทรีย์ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ “Organic Eggs หนองหว้า” ไข่ไก่ไข่ไก่ออร์แกนิคจากฝีมือเกษตรกร ได้ที่ Foodland TheMall Makro ตลาด อตก. และร้าน Golden Place สาขาฉะเชิงเทราส่วนโครงการผักอินทรีย์ ซีพีเอฟได้มีส่วนในการร่วมพัฒนาเครือข่าย สนับสนุนด้านวิชาการและการตลาด สอดคล้องเป้าหมาย CPF 2030 ด้าน Social Impact การพัฒนาโครงการด้านการสร้างผลลัพธ์เชิงบวกทางสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชน และผู้บริโภคได้รับอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมี ปัจจุบันได้พัฒนาสู่ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า” ถือเป็นกลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์รายเดียวของฉะเชิงเทรา และยังมีคู่มือการปลูกผักอินทรีย์ของกลุ่มเอง ตลอดจนใช้ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems : PGS) ช่วยยืนยันในคุณภาพและมาตรฐานความเป็นอินทรีย์ของเกษตรกรและผลผลิต ปัจจุบันได้รับมาตรฐานออร์แกนิกไทยแลนด์ (Organic Thailand) และมีกรมวิชาการเกษตรช่วยสนับสนุนความรู้ต่างๆ นอกจากนี้ สวทช. ได้เข้ามาสนับสนุนเครื่องมือและองค์ความรู้ในการผลิตชีวภัณฑ์ต่างๆ ให้แก่กลุ่มเพื่อลดต้นทุนการผลิต และการใช้ชีวภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งตรวจสอบรับรองคุณภาพการผลิตชีวภัณฑ์ เพื่อจำหน่ายในภาคตะวันออกต่อไป ขณะเดียวกัน งานพัฒนาที่ดินของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ประสานงานให้กลุ่มเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตผักอินทรีย์ให้กับเกษตรกรในอำเภออื่นๆเพื่อสร้างอาชีพ และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ทางกลุ่มใช้หลัก “ตลาดนำการผลิต” ทำให้เครือข่ายสมาชิกในกลุ่มทั้ง 9 ราย ที่กระจายอยู่ในพื้นที่อ.พนมสารคาม อ.แปลงยาว อ.บางคล้า อ.เมืองฉะเชิงเทรา สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตผักในพื้นที่รวม 70-80 ไร่ ได้อย่างต่อเนื่อง และมีรายได้ที่มั่นคงตลอดทั่งปี โดยมีตลาดรองรับผลผลิตคือ ศูนย์กระจายสินค้า ร้าน Golden Place บริษัท สุวรรณชาด จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์