รีเซต

อยากลองบริโภค ‘ใบกระท่อม’ ควรรู้! รับประทานสดต้องระวังอาจหลอนไม่รู้ตัว

อยากลองบริโภค ‘ใบกระท่อม’ ควรรู้!  รับประทานสดต้องระวังอาจหลอนไม่รู้ตัว
TNN ช่อง16
31 สิงหาคม 2564 ( 10:06 )
334
อยากลองบริโภค ‘ใบกระท่อม’ ควรรู้!  รับประทานสดต้องระวังอาจหลอนไม่รู้ตัว

จากกรณีการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5 มีผลบังคับใช้ ซึ่งมีผลทำให้ประชาชนสามารถนำพืชกระท่อมมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบวิถีชาวบ้านได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ทั้งการบริโภค ปลูกและ ซื้อขายได้โดยไม่จำกัดจำนวน  หรือจะขายให้อุตสาหกรรมต่างๆ ก็สามารถดำเนินการได้ แต่กฎหมายจะต้องมีบัญญัติตามมาเล็กน้อยเช่น ห้ามขายให้ผู้ใดบ้าง อาทิ เด็กต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และห้ามจำหน่ายในบางสถานที่ เช่น วัด

การถอดพืชกระท่อมพ้นบัญชียาเสพติดให้โทษนั้น สั่งผลให้พืชกระท่อมมีการซื้อ-ขายกันอย่างเสรี และมีประชาชนสนใจที่จะลองบริโภคกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้ พืชกระท่อมมีข้อควรระวังอยู่บ้าง โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้ให้ข้อมูลระบุว่า วิธีการเสพใบกระท่อมนั้นนิยม  เคี้ยวใบสดหรือบดใบแห้งให้เป็นผง ละลายน้าดื่ม บางรายเติมเกลือด้วยเล็กน้อยเพื่อป้องกันท้องผูก ส่วนมากจะเคี้ยวเพียง 2-3 ใบ และดื่มน้าอุ่น หรือกาแฟร้อนตาม ใช้วันละ 3-10 ครั้งต่อวันตามอาการ เหนื่อย เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ปริมาณการใช้จะเพิ่มขึ้น (ประมาณร้อยละ 37 ใช้วันละ 21-30 ใบ) 

ผลจากการเสพ พบว่าหลังเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10 นาที จะมีอาการเป็นสุข กระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทางาน ทาให้สามารถทำงาน ได้นาน และทนแดดมากขึ้น 

ทั้งนี้ผลข้างเคียงของการเสพใบกระท่อมจะเกิดอาการกลัวหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน ผู้เสพจะมี ผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น อาการข้างเคียง ได้แก่ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย เบื่อ อาหาร ท้องผูก อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ นอนไม่หลับ ถ้าเสพใบกระท่อมในปริมาณมากๆ จะทาให้ มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน (เมากระท่อม) แต่ในบางรายเสพเพียง 3 ใบ ก็ทาให้เมาได้ ในรายที่เสพใบ กระท่อมมากๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทาให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้าและเข้มขึ้น 

ข้อสำคัญที่ควรระวังมากที่สุดคือ “การเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจาก ตัวใบ” อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ถุงท่อม” ในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของ กระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทาให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืด ขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้ บางรายจะมีอาการ โรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง 


อาการขาดใบกระท่อมเป็นอย่างไร?

ที่พบ คือ จะไม่มีแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก แขนขากระตุก รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สามารถ ทeงานได้ อารมณ์ซึมเศร้า จมูกแฉะ นำ้ตาไหล บางรายจะมีท่าทางก้าวร้าว แต่เป็นมิตร (Hostility) นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ซึ่งตรงกับข้ามกับอาการขาดยาแอมเฟตามีนที่จะทำให้รู้สึกง่วงนอนมาก หิวจัดและมือสั่น 

สรุปได้ว่า พืชกระท่อมมีสารแอลคะลอยด์ Mitragynine อยู่ในใบ มีฤทธิ์ระงับอาการปวด เช่นเดียวกับมอร์ฟีน โดยมีความแรงต่ากว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า และมีข้อดีกว่ามอร์ฟีนอยู่หลาย 

แต่อย่างไรก็ตามการเสพใบกระท่อมมีข้อดีดังนี้

1.  กระท่อมไม่กดระบบทางเดินหายใจ 
2. ไม่ทาให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน 
3.  พัฒนาการในการติดยาเกิดช้ากว่ามอร์ฟีนหลายปี 
4. ไม่มีปัญหาเรื่องอาการอยากได้ยา (Craving) จึงไม่มีกรณีผู้ติดกระท่อม ก่อเหตุร้ายหรือพัวพันกับ อาชญากรรมใดเลย 
5.อาการขาดยาไม่ทรมานเท่ามอร์ฟีน และสามารถบาบัดได้ง่ายกว่ายากล่อมประสาท ระยะ 2-3 สัปดาห์ ขณะที่ผู้ติดมอร์ฟีนอาจต้องพึ่ง Mitragynine ซึ่งเป็นสารเสพติดเช่นเดียวกัน เป็น เวลานาน ๓ เดือนขึ้นไป 
6.  การควบคุมทางกฎหมาย ไม่มีสนธิสัญญาที่เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศห้ามการปลูกเหมือนฝิ่น 
7.ใช้บำบัดอาการติดฝิ่นหรือมอร์ฟีนได้ 
ขณะที่เพจดังอย่าง Drama addict ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้ เนื่องจากตอนนี้ มีการปลดล็อคใบกระท่อมแล้ว คนก็เริ่มสนใจเอามาใช้ในหลายๆแง่มุม ทั้งการแปรรูปหรือกินสด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขอเตือนพ่อแม่พี่น้องว่า ถ้าจะเคี้ยวสด ที่สำคัญนะครับ รูดก้านออกจากใบให้หมด 

อันนี้สำคัญมากๆ เพราะถ้ากินแบบนั้น มันจะเกิดอาการ "ถุงท่อม"  คือก้านใบของกระท่อมที่ย่อยไม่ได้ มันจะไปตกค้างในลำไส้ แล้วเกาะติดกันเป็นก้อน จากนั้นก็จะเกิดพังผืดมาล้อมรอบถุงท่อมที่ว่า วันดีคืนดี ก็อาจทำให้เกิดการอักเสบ จนถึงขั้นลำไส้ทะลุได้  สมัยก่อนมีเคสแบบนั้นมาเรื่อยๆ ต่อมาวัยรุ่นแถวภาคใต้ที่เขานิยมกระท่อมกัน เลยเอาไปต้มแล้วกินแต่น้ำ กินกันจนถึงปัจจุบัน แบบนั้นก็โอเค ก็จะลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากถุงท่อมได้ เพราะเห็นสื่อหลายๆช่อง เขาสาธิตการกิน ก็เด็ดเคี้ยวกันสดๆเลย ถถถ คือมันก็กินได้แหละ แต่ต้องรูดก้านมันออกให้หมดด้วยเน้อ

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.oncb.go.th/ncsmi/cottage8/ใบกระท่อม%20สรรพคุณทางยา%20ประโยชน์และโทษ.pdf?fbclid=IwAR0nfELbxFX4z9fJ_1YfsXkXnUGZtGZ25QNM--hgXsRR_TNeoB5Mq0Src3E

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง