รีเซต

เช็ก! อาการโควิด หายป่วยโควิด ผมร่วง หายใจไม่อิ่ม ปวดเมื่อย ต้องทำอย่างไร?

เช็ก! อาการโควิด หายป่วยโควิด ผมร่วง หายใจไม่อิ่ม ปวดเมื่อย ต้องทำอย่างไร?
Ingonn
26 มกราคม 2565 ( 12:05 )
818
เช็ก! อาการโควิด หายป่วยโควิด ผมร่วง หายใจไม่อิ่ม ปวดเมื่อย ต้องทำอย่างไร?

หายป่วยโควิด ผมร่วง ผื่นขึ้น หายใจไม่เต็มปอด และอีกหลายอาการโควิด ที่ยังคงส่งผลอยู่ แม้หายป่วยโควิดแล้ว วันนี้ TrueID พาไปเช็ก! อาการโควิด หลังจากหายป่วย ว่าเข้าข่าย “ภาวะลอง โควิด” (Long COVID) หรือไม่ และอาการลองโควิด ที่มักพบได้บ่อยคืออะไร มีวิธีการดูแลตนเองอย่างไร ให้หายป่วยโควิด

 

หายป่วยโควิด แต่ยังมีอาการ

“Post Covid Syndrome” หรือ “ภาวะลอง โควิด” (Long COVID) เป็นอาการหลงเหลือของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ ซึ่งสามารถพบภาวะนี้ได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่จะมีอาการหลังจากหายป่วยในช่วง 1-3 เดือนแรก พบได้ 30-50% ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ส่วนผู้ป่วยกลุ่มป่วยรุนแรงอาจส่งผลต่อเนื่องยาวนาน 3-6 เดือน กว่าที่ร่างกายจะกลับมาเป็นปกติ เพราะมีปัจจัยเรื่องความ เครียดสะสม มาตั้งแต่ช่วงที่ป่วย ซึ่งจะมีอาการที่แสดงออกได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

 

อาการลองโควิดเบื้องต้น

อาการทางกาย เช่น ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติลดลง เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยล้า ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ ท้องเสีย อันเนื่องมาจากภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง

 

อาการทางจิตใจ เช่น วิตกกังวล สมาธิสั้นลง หรือซึมเศร้าร่วมด้วย จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและรักษาอย่างต่อเนื่อง

 

ส่วนอาการภาวะลองโควิดที่พบบ่อย คือ รู้สึกเหมือนมีไข้ตลอดเวลา เหนื่อยง่าย อ่อนแรง อ่อนเพลียเรื้อรัง ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม รู้สึกแน่นๆหน้าอก ไอและปวดศีรษะ ท้องร่วง มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ ปวดตามข้อตามรู้สึกจี๊ด ๆ ตามเนื้อตัวหรือปลายมือปลายเท้า มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส (ข้อมูลวันที่ 4 ตุลาคม 2564 จากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ )

 

ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก กรมการแพทย์ เผยผลการสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 หรือ ภาวะ Long COVID เป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติคเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ และมีอาการอยู่นานอย่างน้อย 2 เดือน เกิดขึ้นได้หลายระบบ

 

อาการหลังหายป่วยโควิดที่พบได้บ่อย

  1. ระบบทางเดินหายใจ พบ 44.38%
    • หอบเหนื่อย
    • ไอเรื้อรัง

  2. ระบบทางจิตใจ พบ 32.1%
    • นอนไม่หลับ
    • วิตกกังวล
    • ซึมเศร้า

  3. ระบบประสาท พบ 27.33%
    • อ่อนแรงเฉพาะที่เฉียบพลัน
    • ปวดศีรษะ มึนศีระษะ
    • หลงลืม
    • กล้ามเนื้อลีบ

  4. ระบบทั่วไป พบ 23.4%
    • อ่อนเพลีย
    • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    • ปวดตามข้อ

  5. ระบบผิวหนัง พบ 22.8%
    • ผมร่วง
    • ผื่นแพ้

  6. ระบบหัวใจและหลอดเลือด พบ 22.86%
    • เจ็บหน้าอก
    • ใจสั่น 

 

วิธีการดูแลและแนวทางการปฏิบัติเมื่อมีอาการ Long Covid 

  1. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ หายใจลำบาก ติดขัด หรือจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและทำการรักษา

  2. ผู้ป่วยที่เพิ่งหายป่วยควรออกกำลังกายเบาๆไม่หนักเกินไป และควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายค่อยๆฟื้นตัวกลับสู่สภาวะที่แข็งแรง และเน้นท่าที่บริหารปอดเพื่อฟื้นฟูส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจมีความแข็งแรงและถุงลมในส่วนต่างๆของปอด ถูกนำมาใช้แลกเปลี่ยนก๊าซได้เต็มที่

  3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดหรือวิตกกังวล ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

  4. ควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาแม้อยู่บ้าน หลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะควันบุหรี่ธรรมดาหรือแม้แต่บุหรี่ไฟฟ้า ฝุ่น PM2.5

  5. ควรรักษาสุขอนามัยของตนเองโดยการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ ทุกครั้งที่สัมผัส และควรเว้นระยะห่างจากผู้อื่น 1-2 เมตร

 

อาการป่วยโควิด หายแล้วจะกลับมาเหมือนเดิมไหม?

ทางองค์การอนามัยโลกให้ข้อมูลว่า อาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยอื่น อาการลองโควิดอาจจะไม่ส่งผลในระยะยาวต่อร่างกายและสามารถกลับมาเป็นปกติกได้เกือบ 100% อาการลองโควิดสามารถหายได้เอง หากดูแลรักษาร่างกายตนเองให้กลับมาแข็งแรง แต่หากมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 2 เดือน ควรรีบพบแพทย์

 

ดังนั้น ผู้ป่วยควรหมั่นดูแลสุขภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง ไม่วิตกกังวลจนเกินไป ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และมีความเชื่อมั่นว่าร่างกายจะค่อย ๆ ฟื้นฟูกลับมาดีขึ้น และช่วยให้กลุ่มอาการ Long Covid ที่เป็นอยู่หายไป

 

แต่ถ้าหากอาการลอง โควิดรบกวนจิตใจจนกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันมากเกินกว่าผู้ป่วยจะรับมือไหว แนะนำให้พบและปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุอย่างละเอียด ซึ่งอาจจะต้องมีการตรวจและวินิจจัยเพิ่มเติมเพื่อทำการรักษาให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น อย่าปล่อยทิ้งไว้จนเรื้อรังจนรุนแรง มันส่งผลเสียต่อสุขภาพที่มากขึ้นและอาจสูญเสียโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้

 

 

 

ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข , Hfocus

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง