รีเซต

เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดแล้ว 'หยวนต้า' เสิร์ฟ 8 หุ้นรับผลดี

เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดแล้ว 'หยวนต้า' เสิร์ฟ 8 หุ้นรับผลดี
ทันหุ้น
6 ตุลาคม 2565 ( 12:51 )
36
เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดแล้ว 'หยวนต้า' เสิร์ฟ 8 หุ้นรับผลดี

#ทันหุ้น - บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 2565 ที่ 6.41% ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 6.60% และต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน 3.12% ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 3.20% เมื่อดูรายสินค้าพบว่า หมวดพลังงาน +16.10%YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +30.50%YoY แต่หมวดอาหารสดยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 10.97%YoY ตามการเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อสัตว์(เนื้อหมูไก่สด), ไข่ไก่, ผักสด และผลไม้เมื่อเทียบ MoM เงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น 0.22%MoM และเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.14% MoM

 

ทั้งนี้ เงินเฟ้อใน Q3/65 อยู่ที่ +7.28%YoY และ +1.01% QoQ และเงินเฟ้อ 9M65 อยู่ที่ 6.17% YoY ยังอยู่ในกรอบคาดการณ์ปีนี้ของกระทรวงพาณิชย์ที่ 5.50-6.50% และต่ำกว่าคาดการณ์ของ กนง. ที่ 6.30% ฝ่ายวิจัยเห็นสัญญาณที่ดีต่อเนื่องของเงินเฟ้อ จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว โดย +10.50% YoY ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน และ Q3/65 ปรับตัวลง -0.9%QoQ ซึ่งเป็นการปรับตัวลง QoQ ก่อนดัชนีราคาผู้บริโภค สะท้อนให้เห็นถึงเงินเฟ้อที่จะอ่อนแรงในอนาคตจากการส่งผ่านต้นทุนมายังราคาสินค้าขั้นสุดท้ายที่ลดลง

 

แนวโน้มเงินเฟ้อใน Q4/65

 

แนวโน้มเงินเฟ้อใน Q4/65 คาดชะลอตัวลงจาก 1) ฐานที่สูงขึ้นในปีก่อน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเริ่มยกตัวขึ้นตั้งแต่ ก.ย. 2564 2) ราคาน้ำมันและอาหารโลกปรับตัวลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิต และค่าขนส่งลดลงตาม 3) คาดในช่วงปลายปีภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพเพิ่มเติม ส่วนประเด็นเงินเฟ้อพื้นฐานที่ทรงตัวในระดับสูงมองว่าไม่น่ากังวล เพราะโดยปกติแล้วเงินเฟ้อพื้นฐานจะปรับลงช้ากว่าเงินเฟ้อทั่วไป

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ 1) ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจะกดดันให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น 2) น้ำท่วมในหลายพื้นที่ อาจทำให้ปริมาณสินค้าเกษตรลดลงและหนุนให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น 3) ความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัย อาจทำให้เงินเฟ้อปรับตัวลงช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ 

 

เงินฟ้อที่ปรับตัวลงเร็ว ยิ่งบวกต่อ Domestic Play

 

เงินเฟ้อไทยที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ทำให้ฝ่ายวิจัยคงมุมมองเดิมต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท.ว่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดขึ้นอีกเพียง 25 bps. เป็น 1.25% ในการประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้ (30 พ.ย.) และคาดปีหน้าขึ้นอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 25 bps. เป็น 1.75% ส่งผลให้แรงกดดันด้านดอกเบี้ยต่อภาพรวมเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ เพราะเป็นระดับใกล้เคียงปี 2562 ที่เป็น Pre-COVID 

 

นอกจากนี้ เงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงชัดเจน ยังช่วยลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทตามหลักความเสมอภาคของค่าเงิน ซึ่งถ้าเชื่อมโยงมาที่การลงทุน คาดว่าจะหนุนให้ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ เพราะเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นปีนี้ ถือเป็นจุดอ่อนสำญของประเทศไทยเมื่อเทียบกับภูมิภาค กลุ่มที่คาดว่าจะได้ผลดีเชิง Sentiment จากเงินเฟ้อที่คลายตัว คือ ธนาคารพาณิชย์, ไฟแนนซ์, ค้าปลีก, อาหารเครื่องดื่ม และท่องเที่ยว เช่น CPALL, BJC, CRC, SNNP, BBL, SCB, SAWAD, MTC

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง