รีเซต

เผยแผนสร้างเครื่องบินยักษ์ WindRunner ขนส่งใบพัดกังหันลมผลิตไฟฟ้า

เผยแผนสร้างเครื่องบินยักษ์ WindRunner ขนส่งใบพัดกังหันลมผลิตไฟฟ้า
TNN ช่อง16
17 มีนาคม 2567 ( 20:05 )
79
เผยแผนสร้างเครื่องบินยักษ์ WindRunner ขนส่งใบพัดกังหันลมผลิตไฟฟ้า

สตาร์ตอัปด้านพลังงานจากรัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแผนการสร้าง “เครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก” สำหรับขนส่งใบพัดของกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อทำลายข้อจำกัดของการขนส่งชิ้นส่วนทางบกในปัจจุบัน และยังเอื้อให้บริษัทด้านพลังงานสามารถสร้างใบพัดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นตามไปด้วย 


ภาพจาก Radia

ปกติแล้วกังหันลมผลิตไฟฟ้า ยิ่งมีขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเอื้อต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่นกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่มักพบในฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง อย่างไรก็ตาม การใช้งานกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่บนบก ยังมีข้อจำกัดอยู่ก็คือการขนส่ง ที่ไม่เอื้ออำนวยนัก ทั้งในด้านตัวยานพาหนะ และเส้นทางถนน ที่เมื่อใช้ขนส่งแล้ว อาจทำให้เกิดการจราจรติดขัด


เพื่อแก้ปัญหานี้ บริษัท ราเดีย (Radia) จึงได้เผยแผนการสร้างเครื่องบินในชื่อ วินรันเนอร์ (WindRunner) ซึ่งจะมีความยาวถึง 365 ฟุต หรือราว 109 เมตร ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าความสูงของ เทพีเสรีภาพ ที่มีความสูงราว 93 เมตร เมื่อวัดจากพื้นถึงปลายยอดคบเพลิง ส่วนความสูงเครื่องบินวัดเมื่อจากพื้น จะอยู่ที่ 79 ฟุต หรือราว 24 เมตร และมีช่วงปีกกว้าง 261 ฟุต หรือราว 80 เมตร มาพร้อมความสามารถในการบรรทุกสินค้าได้มากถึง 80 ตัน ซึ่งบริษัทระบุว่า มากกว่าความสามารถในการบรรทุกสินค้าของเครื่องบินโบอิ้ง 747 ถึง 12 เท่า


ภาพจาก Radia

ภารกิจหลักของเครื่องบินลำนี้ จะเป็นการขนขนส่งใบพัดกังหันลมขนาดยักษ์สำหรับการใช้งานบนบก โดยรองรับการขนส่งตัวใบพัดกังหันลมที่มีขนาดความยาวระหว่าง 150-300 ฟุต หรือ 46-92 เมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 35 ตัน


โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินว่ากังหันขนาดใหญ่พิเศษเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มความสม่ำเสมอในการผลิตไฟฟ้าได้ถึงร้อยละ 20 และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากถึงร้อยละ 35 ซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมด้านพลังงาน โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีสถิติว่าในปี 2022 มีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลม คิดเป็นร้อยละ 10 ของการผลิตไฟฟ้าของประเทศ 


ภาพจาก Radia

และนอกจากเครื่องบินลำนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการขนส่งชิ้นส่วน และการผลิตกังหันลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแล้ว ความจุมหาศาลของเครื่องบิน ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในภาคส่วนอื่น ๆ รวมถึงการขนส่งยุทโธปกรณ์หนักทางทหารได้อีกด้วย 


โดยบริษัทใช้เวลากว่า 7 ปีในการทำงานร่วมกับทีมวิศวกร เพื่อปรับแต่งการออกแบบตัวเครื่องบินอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้มันสามารถบินขึ้นและลงจอดได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้บริษัทคาดการณ์ว่าเครื่องบิน วินรันเนอร์ (WindRunner) จะสามารถขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เร็วที่สุด ภายในปี 2027 นี้


ข้อมูลจาก interestingengineering, thesun, techtimesnps.gov

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง