รีเซต

ท่าเรือใหญ่สหรัฐฯ สร้างสะพานใหม่รองรับ "เรือสินค้าใหญ่พิเศษ" เชื่อมต่อคู่ค้าเอเชีย

ท่าเรือใหญ่สหรัฐฯ สร้างสะพานใหม่รองรับ "เรือสินค้าใหญ่พิเศษ" เชื่อมต่อคู่ค้าเอเชีย
Xinhua
16 ตุลาคม 2563 ( 18:15 )
105
ท่าเรือใหญ่สหรัฐฯ สร้างสะพานใหม่รองรับ "เรือสินค้าใหญ่พิเศษ" เชื่อมต่อคู่ค้าเอเชีย

ลอสแอนเจลิส, 16 ต.ค. (ซินหัว) -- ท่าเรือลองบีช ซึ่งเป็นท่าเรือที่พลุกพล่านที่สุดเป็นอันดับสองของสหรัฐฯ ประกาศความมุ่งมั่นที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนความมั่นคง ความยั่งยืน และการเติบโต ด้วยการสร้างสะพานเพื่อส่งเสริมการค้ากับบรรดาประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

 

"สิ่งสำคัญสำหรับเราคือการมีความสัมพันธ์อันดีเยี่ยมกับภูมิภาคการค้าที่ใหญ่ที่สุดสำหรับสหรัฐฯ นั่นคือเอเชีย โดยเฉพาะจีน" มาริโอ คอร์เดโร ผู้อำนวยการบริหารท่าเรือลองบีชกล่าวกับซินหัวในการสัมภาษณ์พิเศษเมื่อเร็วๆ นี้เขาระบุว่าแม้จะมีปัญหาด้านโรคโควิด-19 และภาษีการค้าอย่างต่อเนื่อง แต่ท่าเรือลองบีชยังคงเปิดกว้างต่อไปเพื่อบรรลุหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและรับรองการดำเนินงานที่ราบรื่น เพราะสินค้าระหว่างประเทศที่ส่งมาทางน้ำผ่านท่าเรือและสะพานของเรา ล้วนส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของทุกฝ่าย" เขากล่าวต่อ

 

 

ด้วยความตั้งใจว่าจะสร้างยอดขนส่งทางเรือครั้งประวัติการณ์ เมื่อวันที่ 5 ต.ค. ท่าเรือลองบีชได้เปิดตัวสะพาน 'เจอรัลด์ เดสมอนด์' สะพานสำคัญของท่าเรือแทนสะพานเดิม อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการท่าเรือสีเขียวเพื่อการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ที่จะดำเนินการตลอดปี 2020 และ 2021 โดยโครงการเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ของท่าเรือให้ทันสมัย เพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพในการขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเรือสะพาน 'เจอรัลด์ เดสมอนด์' แห่งเดิมนั้นถูกสร้างขึ้นในปี 1968 มีลักษณะเป็นสะพาน "โครงเหล็กรูปโค้ง" มีความสูง 155 ฟุต (ประมาณ 47 เมตร) สร้างด้วยคานเหล็กและได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของอัยการเมืองลองบีช ต่อมามีการออกแบบและสร้างสะพานขึ้นใหม่ในปี 2020 ด้วยงบประมาณ 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.58 หมื่นล้านบาท) กลายเป็นสะพานขึงที่มีความสูงเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐฯ ด้วยหอสะพานที่สูงถึง 515 ฟุต (ประมาณ 157 เมตร) และถือเป็นสะพานลักษณะนี้เป็นแห่งแรกของรัฐแคลิฟอร์เนียปัจจุบัน ช่องส่งสินค้าทางทะเล หรือพื้นที่ที่เรือลอดผ่านใต้สะพานของสะพานแห่งนี้มีความสูง 205 ฟุต (ประมาณ 62 เมตร) เรียกได้ว่า สะพานแห่งใหม่ที่โดดเด่นเป็นสัญลักษณ์นี้นับเป็นใบเบิกทางสู่อนาคตของท่าเรือลองบีช เนื่องจากช่วยให้ท่าเรือแห่งนี้สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้า "ขนาดใหญ่พิเศษ" รุ่นใหม่ที่เริ่มถูกนำมาใช้งานในเส้นทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งบางลำสามารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ได้มากกว่า 19,000 ตู้"การปรับปรุงสะพานแห่งนี้และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ของเรา ถูกกำหนดให้มีความสำคัญระดับชาติมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง" คอร์เดโรกล่าวถึงสินค้าที่ถูกส่งผ่านท่าเรือลองบีชเพื่อจัดสรรไปยังทั่วทุกมุมของสหรัฐฯ มากกว่า 8 ล้านตู้ในเวลา 1 ปี

 

 

 

ท่าเรือคู่ลองบีชและท่าเรือลอสแอนเจลิส ในกลุ่มท่าเรืออ่าวซานเปรโด ทำหน้าที่รับรองสินค้าราวร้อยละ 40 ของตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดที่ถูกนำเข้าสู่สหรัฐฯ และร้อยละ 30 ของสินค้าทั้งหมดที่ถูกส่งออกจากสหรัฐฯคอร์เดโรชี้ว่า "ไม่มีรัฐใดในอเมริกาและเขตรัฐสภาใดที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการค้าขายผ่านท่าเรือลองบีช"ท่าเรือลองบีชหวังว่าแผนการอันมุ่งมั่นนี้ของตนจะช่วยให้ท่าเรือมีบทบาทสำคัญในการสร้างอนาคตที่ดี มีประสิทธิผลและเสถียรภาพมากขึ้น สำหรับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และทั่วโลกทั้งนี้ ท่าเรือลองบีชมี ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองของนครลอสแอนเจลิสไปทางใต้ 45 กิโลเมตร มีเส้นทางเดินเรือ 175 สาย เชื่อมเมืองลองบีชกับท่าเรือ 217 แห่ง และรองรับปริมาณการค้ามูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.23 ล้านล้านบาท) ต่อปี

 

 

แม้ช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมนี้ ท่าเรือคู่จะมียอดการรองรับสินค้าสูงสุด เนื่องจากบรรดาผู้ค้าปลีกเตรียมพร้อมสำหรับเหล่านักช้อปช่วงวันหยุด แต่ท่าเรือทั้งสองยังคาดว่าปริมาณสินค้าโดยรวมในปี 2020 จะน้อยกว่าปี 2019คอร์เดโรกล่าวว่า แน่นอนว่าสหรัฐฯ และจีน สองประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก มีประเด็นเรื่องการค้าอันชอบด้วยกฎหมายที่ต้องดำเนินการอีกมากมาย โดยคอร์เดโรซึ่งได้เห็นถึงผลกระทบเชิงลบอันมาจากนโนบายด้านภาษีที่มีต่อธุรกิจและคนงานของสหรัฐโดยตรง กล่าวว่าตนและเจ้าหน้าที่ท่าเรือคนอื่นๆ เห็นว่าการใช้มาตรการกำแพงภาษีไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง เพราะการค้าเสรีนั้นช่วยผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และช่วยให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันเข้าถึงสินค้าและผลิตภัณฑ์ในราคาที่เหมาะสม"การเพิ่มภาษีที่ผู้บริโภคชาวอเมริกันต้องเป็นคนจ่าย ... ไม่ได้ทำให้เรื่องนี้จบลงด้วยดี" เขาทิ้งท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง