รีเซต

ไทยเฮ! จ่อใช้วัคซีนโควิด-19 หมอจุฬาฯ เผยสตาร์ทอัพใบยา ทดสอบในหนู-ลิงฉลุย รุกผลิตในระดับอุตสาหกรรม

ไทยเฮ! จ่อใช้วัคซีนโควิด-19 หมอจุฬาฯ เผยสตาร์ทอัพใบยา ทดสอบในหนู-ลิงฉลุย รุกผลิตในระดับอุตสาหกรรม
มติชน
29 สิงหาคม 2563 ( 09:07 )
238
3
ไทยเฮ! จ่อใช้วัคซีนโควิด-19 หมอจุฬาฯ เผยสตาร์ทอัพใบยา ทดสอบในหนู-ลิงฉลุย รุกผลิตในระดับอุตสาหกรรม

ไทยเฮ! จ่อใช้วัคซีนโควิด-19 หมอจุฬาฯ เผยสตาร์ทอัพใบยา ทดสอบในหนู-ลิงฉลุย รุกผลิตในระดับอุตสาหกรรม

 

วันที่ 29 สิงหาคม  ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ล่าสุดประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการทดลองวัคซีนโควิด-19 มีความหวังที่จะนำมาใช้ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 หลังจากที่บริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ประสบความสำเร็จวัคซีนโควิด-19 สร้างภูมิคุ้มกันในลิงทั้งระบบแอนติบอดี้ และการกระตุ้นระบบเซลล์

 

ทั้งนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทย โดยนักวิจัยไทย บริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม สามารถพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำจากใบยาพืช โดยการใส่รหัสพันธุกรรมที่กำหนดการสร้างโปรตีนของไวรัสและภายใน 1 สัปดาห์ พืชจะทำการสร้างโปรตีนที่ต้องการ ทั้งนี้ลักษณะโครงสร้างและลำดับของโปรตีนไม่ได้ผิดเพี้ยนไปเมื่อเทียบกับการสร้างวัคซีนด้วยกลวิธีอื่นๆ

 

“วัคซีนใบยาผ่านการทดสอบในหนูและในที่สุดในลิง ด้วยการฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ และลิงมีความปลอดภัยไม่ปรากฏมีผลข้างเคียง ผลเลือดในลิง ค่าเอนไซม์ตับปกติ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวและว่า สิ่งที่น่ายินดีก็คือ ลิงมีระดับภูมิคุ้มกันสูงมาก ที่เรียกว่าNeutralizing antibody ซึ่งสามารถยับยั้งไวรัสได้ ทั้งนี้ทำการตรวจสอบด้วยการวัดระดับจากการตรวจทางElisa surrogate isotype independent virus neutralizing antibody และจากการทดสอบในการยับยั้งไวรัสจริงในเซลล์"

 

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า เชลล์ของลิง จากการกระตุ้นด้วยเปปไทด์พบว่ามี ค่าการสร้าง IFN gamma แสดงว่ามีกระตุ้น T cell ได้ และลิงมีความปลอดภัยไม่ปรากฏมีผลข้างเคียง ผลเลือดในลิง ค่าเอนไซม์ตับปกติ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ ทั้งนี้จุดเด่นก็คือวัคซีนที่ทำจาก “ใบยา” พืชไม่ได้มีกระบวนการยุ่งยากใดๆ แม้จะผลิตเป็นล้านโด๊ส โดยที่สามารถยกระดับจากการผลิตในห้องทดลองเพื่อเป็นระดับอุตสาหกรรมได้ทันทีทั้งนี้อยู่ที่ขั้นตอนโปรตีนบริสุทธิ์ที่นำมาฉีดในคน

 

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า เป้าหมายตอนนี้คือทำโรงงานวัคซีน เพื่อผลิตเองในประเทศ

 

“ในตารางแสดงให้เห็นถึงการใช้วัคซีนในขนาดต่างๆโดยที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองที่ยับยั้งไวรัสได้ และเมื่อเทียบกับลิงที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนในกลุ่มสุดท้าย ถึงเวลาที่คนไทยทั้งประเทศมีความภาคภูมิใจกับการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่ทำเองทุกขั้นตอนโดยไม่ได้อาศัยต่างชาติไม่ต้องกังวลเรื่องสิทธิบัตร เมื่อนำมาใช้จริงและสามารถผลิตปริมาณเพิ่มจำนวนได้มหาศาลภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวและว่า แต่ถ้าใช้โรงงานที่มีอยู่แล้วเช่น สยามไบโอซายน์ ของมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถปล่อยทดสอบในคนได้ภายใน 3 เดือน แต่ถ้าสร้างโรงงานจะได้ภายใน 9 เดือน และสามารถขยายกำลังการผลิต (สเกล) ให้เป็นหลาย 10 ล้านโด๊ส ภายในเวลาอันรวดเร็ว"

 

 

 

 

*************

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

>>> อัพเดทยอดล่าสุด ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก

>>> เปิดประสบการณ์ที่แรก กักตัวใน ASQ โรงแรมหรูสู้โควิด19

>>> เปิดขั้นตอนกว่าจะได้วัคซีนมาใช้ป้องกันโรค

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง