รีเซต

สิทธิประกันสังคม ประสบอันตราย-เจ็บป่วยฉุกเฉินใช้ได้ทันที

สิทธิประกันสังคม ประสบอันตราย-เจ็บป่วยฉุกเฉินใช้ได้ทันที
TNN ช่อง16
3 ธันวาคม 2564 ( 17:53 )
1.1K

ประกันสังคมมอบสิทธิสำหรับผู้ประกันตนที่เป็นสมาชิกประกันสังคม หากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร่งด่วน สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงบาลที่ใกล้ที่สุดได้ทันที โดยผู้ประกันตนหรือญาติหรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องรีบแจ้งให้โรงพยาบาลตามสิทธิฯรับทราบโดยด่วน เพื่อจะได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อไปตามประเภทและอัตราที่ประกาศกำหนด


หากเข้ารับรักษากับสถานพยาบาลที่ไม่ใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิหรือเครือข่าย กรณีผู้ประกันตนได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนสามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนด ดังนี้


สถานพยาบาลของรัฐ

- ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ขอรับค่าบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งตามรายละเอียดดังนี้

ผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น

ผู้ป่วยใน เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง

*ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท

ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม

สถานพยาบาลเอกชน

ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเบิกได้ดังนี้

ผู้ป่วยนอก

    เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท
- เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้ ถ้ามีการตรวจรักษาตามรายการในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ดังนี้
- การให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด
- การฉีดสารต่อต้านพิษจากเชื้อบาดทะยัก
- การฉีดวัคซีนหรือเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนักบ้า (เฉพาะเข็มแรก)
- การตรวจอัลตร้าซาวด์กรณีที่มีภาวะฉุกเฉินเฉียบพลันในช่องท้อง
- การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด
- การขูดมดลูกกรณีตกเลือดหลังคลอด หรือตกเลือดจากการแท้งบุตร
- ค่าฟื้นคืนชีพ และกรณีที่มีการสังเกตอาการในห้องสังเกตอาการตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไป

ผู้ป่วยใน

- ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
- ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
- ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท
- กรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด
- ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายา และอุปกรณ์เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท
- ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหรือเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกินรายละ 1,000 บาท
- กรณีมีความจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง, การตรวจคลื่นสมอง และการตรวจอัลตร้าซาวด์ตามประกาศ
- การสวนเส้นเลือดหัวใจและเอกซเรย์, การส่องกล้อง, การตรวจด้วยการฉีดสี, การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI ตามประกาศ

ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม

ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาฉุกเฉิน (UCEP) ได้ในกรณีดังนี้

- หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ 

- หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง 

- เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง

- ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม

- แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักอย่างต่อเนื่องไม่หยุด

- มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต 


ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP มีดังนี้

ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ทั้งโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน ได้ทันที

เข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤต และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ภายใน 72 ชั่วโมง


ทั้งนี้ เมื่อพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้ภายใน 72 ชั่วโมง ต้องติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลตามสิทธิ เพื่อให้ได้รับการรักษาต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 


ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม

ที่มาภาพ : AFP


ข่าวที่เกี่ยวข้อง