รีเซต

ภาพแรกโดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ กล้องโทรทรรศน์น้องใหม่ของประเทศไทย

ภาพแรกโดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ กล้องโทรทรรศน์น้องใหม่ของประเทศไทย
TNN ช่อง16
25 มีนาคม 2565 ( 21:06 )
178
ภาพแรกโดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ กล้องโทรทรรศน์น้องใหม่ของประเทศไทย

กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ หรือ Thai National Radio Telescope (TNRT) เป็น 1 ใน เครื่องมือทางดาราศาสตร์ระดับโลกในโครงการแรงดี (RANGD: Radio Astronomical Network and Geodesy for Development) ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ National Astronomical Research Institute of Thailand (์NARIT) ที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการสร้างในช่วงปี 2017-2021 มันตั้งอยู่ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ห่างไกลผู้คนและความวุ่นวายพอสมควรเนื่องจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุมีความไวต่อคลื่นรบกวน


กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของจานรับสัญญาณอยู่ที่ 40 เมตร หนัก 250 ตัน มีการดัดแปลงโดยการเพิ่มเครื่องรับสัญญาณ L-band receiver ไว้ที่จุดโฟกัสหลัก เรียกว่าระบบจุดโฟกัสปฐมภูมิ (Prime Focus) ทำให้สามารถรับสัญญาณที่ช่วงความถี่อื่นได้ พร้อมการออกแบบ Nasmyth (Nasmyth-Cassegrain หรือ Cassegrain-Nasmyth เป็นรูปแบบของกล้องโทรทรรศน์ที่ดัดแปลงมาจากกล้องโทรทรรศน์ Cassegrain ให้สัญญาณสะท้อนไปยังด้านข้างก่อนที่จะมายังกระจกหลัก) เพื่อให้มีข้อได้เปรียบเรื่องความยืดหยุ่นในการติดตั้งเครื่องรับสัญญาณเพิ่มเติมอื่น ๆ อีกในอนาคต


ภายหลังจากก่อสร้างและติดตั้ง L-band receiver สำเร็จไปไม่นานนี้ เมื่อช่วงเช้าวันที่ 24 มีนาคม 2022 นักดาราศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้ทำการทดสอบ First light เสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย First light นั้นเป็นการทดสอบอุปกรณ์และระบบกล้องเพื่อรับสัญญาณภาพอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก นี่จึงทำให้กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติของเราได้'ภาพแรก'มาในที่สุด


การทดสอบ First light ของกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติในครั้งนี้ มิได้เป็นเพียงการทดสอบการรับสัญญาณด้วย Receiver เท่านั้น แต่ยังเป็นการทดสอบการทำงานร่วมกันของระบบ Receiver และ Backend หรือระบบหลังบ้าน (ในกรณีของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ระบบหลังบ้านคือการส่งข้อมูลที่ได้รับผ่านสายสัญญาณไฟเบอร์ออปติกส์ความเร็วสูงไปยังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการ์ดประมวลผล) 



ที่มาของรูปภาพ : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 



ข้อมูลและจาก www.narit.or.th

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง