รีเซต

'สภาดิจิทัลฯ' จับมือ แพทยสภา-กสทช. และ 85 พันธมิตรองค์กรดิจิทัล นำเทคโนโลยีเสริมศักยภาพโรงพยาบาลสนาม

'สภาดิจิทัลฯ' จับมือ แพทยสภา-กสทช. และ 85 พันธมิตรองค์กรดิจิทัล นำเทคโนโลยีเสริมศักยภาพโรงพยาบาลสนาม
มติชน
17 สิงหาคม 2564 ( 13:00 )
44

 

 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย” โดย นายศุภชัย เจียรวนนท์” ประธานสภาดิจิทัลฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการและสมาชิกสภาดิจิทัลฯ ร่วมกับ “แพทยสภา” โดย “ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์” นายกแพทยสภา และ “พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ”เลขาธิการแพทยสภาและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดย นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธินรองเลขาธิการ กสทช. ร่วมแถลงโครงการSmart Field Hospital” และ “Smart Home and Community Isolation Model”ที่เกิดจากการผนึกกำลังขององค์กรพันธมิตรดิจิทัล ทั้งภาครัฐและเอกชน กว่า 85องค์กร นำจุดแข็งและศักยภาพด้านดิจิทัลเทคโนโลยีมาเสริมแกร่ง สนับสนุน เพิ่มประสิทธิภาพ รวมทั้งแบ่งเบาภาระการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านและการกักตัวในที่ชุมชน

 

 

Smart Field Hospital” เป็นต้นแบบโรงพยาบาลสนามดิจิทัลที่ได้เริ่มติดตั้งในรพ.สนาม 3 แห่ง ได้แก่ รพ.สนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รพ.สนามกองทัพอากาศ ดอนเมืองและ รพ.สนามธรรมศาสตร์พร้อมขยายผลสู่คู่มือแนวปฏิบัติโรงพยาบาลสนามดิจิทัล เพื่อให้โรงพยาบาลสนามต่าง ๆ นำไปเป็นแนวทางในการเสริมระบบและเชื่อมโยงการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดความเสี่ยงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย

 

 

ทั้งนี้ สภาดิจิทัลฯ ยังได้ร่วมมือกับแพทยสภาและพันธมิตรดิจิทัลอย่างต่อเนื่องโดยต่อยอดสู่“Smart Home and Community Isolation Model”ด้วยการนำดิจิทัลโซลูชันมาช่วยเหลือและดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านหรือศูนย์พักคอย โดย Smart Home Isolation ประกอบด้วย  1) การจัดลำดับคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด 19ขณะนี้มียอดผู้ใช้งาน 86,656 คน  2) Remote Monitoring ช่วยติดตามสถานะผู้ป่วย เช่น อุณหภูมิ ค่าออกซิเจน เพื่อการดูแลรักษาทางไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มียอดผู้ใช้งาน 2,855คน 3) Consultationand Medicine Delivery ผู้ป่วยสามารถปรึกษาอาการจากแพทย์ในระบบ 150 คน เพื่อการคัดกรองอาการดูแลรักษาตัวเอง และเชื่อมต่อระบบส่งยา มียอดผู้ใช้งาน 86,032 คน

 

 

 

 

สำหรับ Smart Community Isolation เป็นการต่อยอดระบบบริหารโรงพยาบาลสนามไปยังศูนย์พักคอย (สถานที่รองรับผู้ป่วยสีเขียวที่ไม่สามารถทำHome Isolation ได้) เช่น ระบบติดตามสัญญาณชีพ, ระบบบริหารจัดการผู้ป่วยในพื้นที่, การ Check-in Check-out และการจัดการเตียง โดยมีเป้าหมาย 50 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 5,000 คน ปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 4 ศูนย์ทั้งนี้ สภาดิจิทัลฯ มีความพร้อมที่จะสนับสนุนการจัดให้มีบริการ Digital Infrastructure เช่น อุปกรณ์สื่อสารเพื่อรองรับการบริหารจัดการทำ  Smart Home & Community Isolation รวมถึงการดำเนินการต่อยอดความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนระบบสาธารณสุขด้านอื่นๆ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์, เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น

 

 

นายศุภชัยเจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า “สภาดิจิทัลฯ ต้องขอบคุณแพทยสภากสทช. และพันธมิตรกว่า 85 องค์กรที่ได้มาร่วมกันพัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบดิจิทัลจำนวน 3แห่งตามที่มุ่งหวัง ได้แก่ รพ.สนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รพ.สนามกองทัพอากาศ ดอนเมือง และ รพ.สนามธรรมศาสตร์โดยนำดิจิทัลโซลูชัน เข้ามาเสริมศักยภาพโรงพยาบาลสนามให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย พร้อมทำให้การสื่อสารระหว่างโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนามมีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดทั้งนี้สภาดิจิทัลฯและแพทยสภาจะขยายผลโดยการจัดทำคู่มือแนวปฏิบัติโรงพยาบาลสนามต้นแบบดิจิทัลเพื่อให้โรงพยาบาล หรือหน่วยงานต่าง ๆ นำไปเป็นแนวทางจัดตั้งโรงพยาบาลสนามอื่น ๆ เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยโควิด19 ที่มีเพิ่มมากขึ้นต่อไป  พร้อมกันนี้ สภาดิจิทัลฯ ยังพร้อมต่อยอด Smart Field Hospital ไปสู่Smart Home and Community Isolation Modelด้วยการนำดิจิทัลเทคโนโลยี และระบบดิจิทัลโซลูชันที่องค์กรพันธมิตรดิจิทัลพัฒนาขึ้น มาช่วยเหลือและดูแลผู้ติดเชื้อโควิด19ที่ต้องกักตัว หรือรักษาตัวอยู่ที่บ้านศูนย์พักคอย เพื่อช่วยสนับสนุนและแบ่งเบาภาระบุคลากรทางการแพทย์ในการรับมือกับภาวะวิกฤตที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด และทั้งนี้ขอฝากสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์คู่มือการเสริมศักยภาพโรงพยาบาลสนามโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ DCT และจะมีคู่มือสำหรับผู้ที่ต้องกักตัวที่บ้าน และในชุมชนในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเพิ่มการเข้าถึงบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งจะมีการเผยแพร่ในลำดับถัดไป”

ด้านศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภากล่าวว่า “แพทยสภาในฐานะองค์กรสภาวิชาชีพซึ่งเป็นตัวแทนของบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ต้องขอขอบคุณสภาดิจิทัลฯ องค์กรพันธมิตร เครือข่ายดิจิทัลทุกภาคส่วน ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนดิจิทัลเทคโนโลยีและการพัฒนาดิจิทัลโซลูชันต่าง ๆ ให้การทำงานของโรงพยาบาลสนามทั้ง 3 แห่ง มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ช่วยแบ่งเบาภาระและสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดีจนเกิดเป็นต้นแบบโรงพยาบาลสนาม Smart Field Hospital ในที่สุด”

 

 

ขณะที่พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญเลขาธิการแพทยสภา กล่าวเสริมว่า “การต่อยอดนำไปสู่ Smart Home and Community Isolation Modelถือเป็นคุณูปการอย่างยิ่งต่อระบบสาธารณสุขไทย ที่นอกจากจะช่วยแบ่งเบาและลดภาระการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังทำให้เจ้าหน้าที่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุม มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญยังทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย”

 

 

ทั้งนี้ นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการสายงานกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)ได้กล่าวถึงความร่วมมือกับสภาดิจิทัลฯ ในการส่งเสริมการนำระบบโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อรองรับการบริหารจัดการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 19 ใน Smart Field Hospital และ Smart Home and Community Isolation Modelโดยอำนวยความสะดวกให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยในการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

สภาดิจิทัลฯ พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือ สนับสนุน ประสานความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร และเครือข่ายในการนำความรู้ ความเชี่ยวชาญ และศักยภาพด้านดิจิทัลเทคโนโลยี มาช่วยเสริมการทำงานของทุกภาคส่วนเพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้ามวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง