รีเซต

"เพชรบูรณ์" เกือบเป็น “เมืองหลวงใหม่” ของไทย  จากการผลักดันของ จอมพล ป. | Chronicles

"เพชรบูรณ์" เกือบเป็น “เมืองหลวงใหม่” ของไทย  จากการผลักดันของ จอมพล ป. | Chronicles
TNN ช่อง16
24 สิงหาคม 2567 ( 12:22 )
17
"เพชรบูรณ์" เกือบเป็น “เมืองหลวงใหม่” ของไทย  จากการผลักดันของ จอมพล ป. | Chronicles




เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่สำหรับเมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซีย นามว่า “นูชันตารา” ที่เตรียมการมาตั้งแต่ปี 2017 เพื่อรองรับส่วนราชการและเมืองใหม่ที่จาร์กาตาไม่สามารถรองรับได้ 


นูซันตารา ยังตั้งอยู่ห่างจากแนวภูเขาไฟปะทุ ทำให้รับรองความปลอดภัยได้มากกว่าจาร์กาตา 


การย้ายเมืองหลวงครั้งนี้ ประเมินมูลค่าโครงการทั้งหมดอาจสูงถึง 33,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาท


ประเทศไทยเองก็เคยได้มีแนวคิดว่าด้วยการเปลี่ยนเมืองหลวงใหม่เช่นกัน นั่นคือจังหวัด “เพชรบูรณ์” ในสมัย “จอมพลแปลก พิบูลสงคราม” แต่ถึงแม้จะเตรียมผังเมือง การวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน และหน่วยราชการไว้แล้ว แต่กลับเป็นได้เพียงแผนการที่ “อยู่ในกระดาษ”


การเมืองสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม (สมัยที่ 1) คาบเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนนั้นบางกอก (กทม.) ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักจากบรรดาประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร (อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ) ทำให้ผู้คนและส่วนราชการไม่สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวก 


ดังนั้น จอมพล ป. จึงดำริให้มีการย้ายเมืองหลวงใหม่ไปยัง “เพชรบูรณ์” ในพระราชกำหนดจัดตั้งนครบาลเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2486 ความว่า 


“ …รัฐบาลได้ตระหนักในภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากอริราชศัตรู จึงเห็นสมควรให้สร้าง ‘นครบาลเพชรบูรณ์’ ขึ้น เพื่อเป็นเมืองหลวงสำรองไว้ให้รัฐบาลใช้บริหารราชการในยามคับขันอันอาจเกิดขึ้นจากการโจมตีทิ้งระเบิดของอริราชศัตรู…”


ไม่นานหลังจากนั้น จอมพลแปลกรีบเร่งที่จะสร้างส่วนราชการ บ้านเรือน โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ โดยเตรียมอพยพครอบครัวกว่า 1,000 ครอบครัวไปทำกินถาวร รวมถึงมีคำสั่งขนย้ายทรัพย์สินมีค่าของชาติอีกด้วย 


จอมพลแปลก โฆษณาว่าเพชรบูรณ์ว่า จะเป็น “สวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย” เพราะมีภูมิประเทศเป็นภูเขา อากาศเย็นสบาย พืชพรรณเขียวขจี และยังไม่เคยมีความเจริญเข้าถึงมาก่อน ทำให้ยังคงสภาพความอุดมสมบูรณ์ไว้ได้


แต่แล้ว ในการเสนอพระราชกำหนดต่อสภาผู้แทนราษฎรใน พ.ศ. 2487 ก็ถูกมติคว่ำไปด้วยคะแนนเสียง 48 ต่อ 36 ด้วยเหตุผลว่า มีผู้ถูกเกณฑ์ไปสร้างเมืองหลวงใหม่ 127,281 อัตรา ได้รับบาดเจ็บ 14,316 ราย เสียชีวิต 4,040 ราย เท่ากับว่า ความต้องการของ จอมพล ป. ในการย้ายเมืองหลวงเป็นอันสิ้นสุดลง พร้อมกับการสิ้นสุดอำนาจการเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2487


การลาออกดังกล่าว เป็นไปตามการเมือง เพื่อหยั่งเชิงว่า ประชาชนจะเห็นด้วยกับตนในการย้ายเมืองหลวงหรือไม่ ดังที่เขากล่าวไว้ว่า “ถึงการลาออกครั้งหลังนี้ก็เถอะ [การลาออกในเดือนกรกฎาคม 2487 – ผู้เขียน] ถ้าผมไม่ออกใครจะมาทำไม ?… เวลานั้น อำนาจทุกอย่างยังอยู่ในมือผม แต่ผมไม่อยากจะใช้” 


อย่างไรก็ดี หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม จอมพลแปลกก็ไม่สามารถสานฝันย้ายเมืองหลวงได้อีกเลย แม้จะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในช่วงพุทธทศวรรษ 2490 ก็ตาม


Chronicles by วิศรุต หล่าสกุล [Hayden Whiz]


แหล่งอ้างอิง





ข่าวที่เกี่ยวข้อง