รีเซต

ขั้นตอน "ลงทะเบียนว่างงาน" รับเงินเยียวยา ตกงาน ลาออก จาก "ประกันสังคม"

ขั้นตอน "ลงทะเบียนว่างงาน" รับเงินเยียวยา ตกงาน ลาออก จาก "ประกันสังคม"
Ingonn
11 ตุลาคม 2564 ( 11:14 )
10.9K
ขั้นตอน "ลงทะเบียนว่างงาน" รับเงินเยียวยา ตกงาน ลาออก จาก "ประกันสังคม"

ผู้ที่มีประกันสังคมสามารถขอ"เงินชดเชย" กรณีที่ว่างงานจากการลาออกหรือถูกเลิกจ้างได้ โดยผู้ประกันตนที่มีสิทธิต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนใน 15 เดือน ย้อนหลังก่อนวันที่ว่างงาน  จะสามารถขอเงินชดเชยได้ โดยต้องลงทะเบียนว่างงานกับประกันสังคม ภายใน 30 วันหลังจากว่างงาน หากเลยกำหนดถือว่าสละสิทธิ

 


ลงทะเบียนว่างงาน ได้รับสิทธิอะไรบ้าง


กรณีถูกเลิกจ้าง

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยโดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท


ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

 

 

กรณีลาออกเอง หรือหมดสัญญาจ้างงาน

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ยโดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท


ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท

 

 

เงื่อนไขการรับเงินชดเชย: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนถูกเลิกจ้างโดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์  https://empui.doe.go.th/auth/index

 

ระบบจะอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ให้สามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งข้อมูลของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน จะได้รับการตรวจสอบข้อมูลจากกรมการปกครอง เพื่อยืนยันตัวบุคคลในการใช้บริการในระบบดังกล่าวผ่านอินเตอร์เน็ต และยังสามารถออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันในการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในการขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 

 

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้สิทธิสวัสดิการจากประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือนโดยไม่ต้องจ่ายเงินประกันสังคมภายในระยะเวลานั้น เช่น ค่าทำฟัน ค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร เป็นต้น

 

 

เอกสารที่ต้องใช้ขอเงินเยียวยา

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7
  • บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป (รูปถ่ายต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน)
  • หนังสือรองรับการออกจากงาน สำเนาการแจ้งการลาออก หรือ สปส. 6-09 (กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส. 6-09 ก็ยังคงสามารถขึ้นทะเบียนว่างงานได้)
  • หนังสือ หรือเอกสารแจ้งให้ออกจากนายจ้าง (หากมี)
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคาร โดยชื่อที่ระบุในหน้าสมุดบัญชีต้องเป็นชื่อของผู้ประกันตนที่ทำการลงทะเบียนว่างงาน

 

 

ขั้นตอนลงทะเบียนรับเงินชดเชย กรณีว่างงาน รับเลย 70% ของค่าจ้าง


1.ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนว่างงานทำการเข้าเว็บไซต์ของกรมจัดหางาน จากนั้นทำการลงทะเบียนให้เรียบร้อยโดยใช้ข้อมูลจากบัตรประชาชน  สามารถลงเบียนว่างงานออนไลน์ก่อน แล้วค่อยยืนเอกสารว่าง งานประกันสังคม อย่าลืมว่าต้องทำภายใน 30 วัน!
เว็บไซต์ : https://empui.doe.go.th/auth/index


2.ลงทะเบียนเข้าใช้งาน สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนว่างงาน และยังไม่มีรหัสผ่านเข้าใช้ระบบ

 

3.ทำตาม 4 ขั้นตอนหลักจนครบถ้วน ดังนี้

  • อ่านข้อตกลงของการใช้บริการ ก่อนกดขั้นตอนต่อไป
  • ตรวจสอบเลขบัตรประจำตัวประชาชน
  • กรอกข้อมูลส่วนตัว
  • บันทึกการลงทะเบียน

 

4.ผู้ประกันตนฯ จะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน และวันที่นัดรายงานตัวของผู้ประกันตน ซึ่งสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้


5.พิมพ์เอกสาร ดังนี้

  • ใบนัดรายงานตัว
  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7)

 

6.ยื่นที่สำนักงานประกันสังคม โดยเอกสารที่ต้องเตรียมคือ

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) ที่กรอกรายละเอียดครบถ้วน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่เป็นชื่อผู้ประกันตน 

 

ในกรณีที่ไม่สามารถทำการลงทะเบียนว่างงานผ่านระบบออนไลน์ได้ ผู้ประกันตนก็สามารถเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคมพร้อมเอกสาร เพื่อดำเนินการด้วยตัวเองได้เช่นกันหรือทำการติดต่อสอบถามไปยังสำนักงานประกันสังคม โทร: 1506

 


ขั้นตอนรับเงินชดเชย กรณีว่างงานเดินทางไปยื่นเอกสารด้วยตนเอง 


1. ต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักจัดหางาน กรมการจัดหางาน


2. กรอกแบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)

 

3. กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้

  • หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส 6-09)
  • หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี

 

4. เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการสัมภาษณ์/ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการทำงาน

 

5. เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการเลือกตำแหน่งงานว่างให้เลือก 3 แห่ง ให้ผู้ประกันตนกรณีว่างงานได้พิจารณา

หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานจะประสานงานส่งฝึกอบรมแรงงานตามความจำเป็น แต่หากผู้ประกันตนกลับเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือปฏิเสธงานหรือปฏิเสธการฝึกงานที่จัดหาให้และไม่ไปรายงานตัวตามที่กำหนด สำนักงานประกันสังคมจะงดจ่ายประโยชน์ทดแทนทันที

 

6. เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกสถานะผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง

 

7. เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมดึงข้อมูลผู้ประกันตนกรณีว่างงานขึ้นมาวินิจฉัยตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

 

8. เมื่อคุณสมบัติครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้ง

 

9. หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

 


ข้อมูลจาก เพจแจ้งข่าวประกันสังคม

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง