รีเซต

จีนพบยีนลึกลับใน "อูฐป่า" อาจช่วยรักษาโรคในมนุษย์ได้

จีนพบยีนลึกลับใน "อูฐป่า" อาจช่วยรักษาโรคในมนุษย์ได้
TNN ช่อง16
17 กุมภาพันธ์ 2566 ( 13:54 )
53
จีนพบยีนลึกลับใน "อูฐป่า" อาจช่วยรักษาโรคในมนุษย์ได้

CCTV ของจีนเผยแพร่ผลงานวิจัยใหม่เกี่ยวกับยีนลึกลับใน "อูฐป่า" ที่ทำให้อยู่รอดได้ในทะเลทรายที่มีความเค็มสูง โดยจะนำมาใช้หาวิธีรักษาโรคเกี่ยวกับระบบเผาผลาญอาหารในมนุษย์


อูฐสองหนอกป่า หรือ อูฐแบคเตรีย (bactrian) ป่า ถือเป็นต้นสายพันธุ์ของอูฐสองหนอกในปัจจุบัน พวกมันจะเก็บไขมันเป็นพลังงานสำรองไว้ในหนอก ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่ทนทรหดมากที่สุดในโลก และมีสถานะใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก พบกระจายพันธุ์เฉพาะในทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศจีนและมองโกเลีย นักวิจัยจากสถาบันนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์ธรรมชาติ จากสถาบันด้านป่าไม้ของจีนได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของอูฐชนิดนี้ เพื่อค้นหาคำตอบว่า พวกมันอยู่รอดในทะเลทรายได้อย่างไร 

นักวิจัยพบว่า อาหารของอูฐสองหนอกป่า คือหญ้าและพืชที่เต็มไปด้วยหนามแข็ง บางชนิดมีพิษรวมถึงน้ำที่มีรสขมและเค็ม ซึ่งพบว่าอาหารของพวกมันเกลือสูงกว่าโคและแกะถึง 8 เท่า แต่อูฐสองหนอกป่ากลับไม่เคยมีอาการความดันโลหิตสูง 

นักวิจัยค้นพบว่า พวกมันมีเมตาบอลิซึมที่ปกติจึงวัจัยเพิ่มเติมและค้นพบยีนพิเศษ ที่เรียกว่า CYP หรือ Cytochromes P450 ในอูฐชนิดนี้ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าในมนุษย์และวัวควาย ทำให้อูฐเผาผลาญเกลือได้ดีกว่า จึงไม่มีภาวะความดันโลหิตสูงในอูฐ 

ทั้งนี้ ยีน CYP เป็นยีนที่มีหน้าที่ต่อต้านภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน และมีคุณสมบัติในการล้างพิษ ทีมวิจัยจึงมีความหวังว่า จะนำผลศึกษานี้มาพัฒนาเพื่อรักษาโรคเมตาบอลิซึมในมนุษย์




ภาพจาก รอยเตอร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง