ทำอุปกรณ์ "M-pass" ชำรุด เสียหาย ต้องเสียค่าอุปกรณ์ใหม่ 800 บาท จริงไหม?
ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลประเด็นเรื่อง ทำอุปกรณ์ M-pass ชำรุด เสียหาย ต้องเสียค่าอุปกรณ์ใหม่ 800 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีที่มีการโพสต์ให้ข้อมูลระบุว่า ท่านที่ใช้ M-pass หากทำชำรุดหรือเสียหาย ต้องจ่ายค่าอุปกรณ์ตัวใหม่ 800 บาทนั้น กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า หาก M-pass ชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ สามารถเปลี่ยนได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย 800 บาทตามที่โพสต์ดังกล่าวระบุแต่อย่างใด
โดยสามารถเปลี่ยนได้ที่เจ้าหน้าที่จุดบริการกรุงไทย หรือจุดให้บริการ M-pass บนสายทางมอเตอร์เวย์ ซึ่งจะดำเนินการนำเงินคงเหลือจากอันเดิมทั้งหมด ยกยอดเงินไปยัง M-pass ใหม่
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : หากอุปกรณ์ M-pass ชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ สามารถเปลี่ยนได้ฟรี ที่จุดบริการกรุงไทย หรือจุดให้บริการ M-pass บนสายทางมอเตอร์เวย์ ซึ่งจะนำเงินคงเหลือจากอันเดิมทั้งหมด ยกยอดเงินไปยัง M-pass ใหม่
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากการ กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.motorway.go.th/ หรือโทร. Call center 1586 กด 7
M-Pass คืออะไร ?
M-PASS คือ ระบบเก็บเงินค่าผ่านทางอัตโนมัติบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ที่กรมทางหลวง โดยกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง นำมาให้บริการเพื่อลดปัญหาการจราจรหนาแน่นหน้าด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางและเสริมสร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้กับประชาชน โดยมอบหมายและร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยในการดูแลผู้ใช้บริการ ทั้งในด้านการกระจายบัตร การเติมเงิน ตรวจสอบดูแลบัญชี และบริหารจัดการธุรกรรมทางด้านการเงิน
จุดเด่นของบัตร M-Pass มีอะไรบ้าง ?
- ช่วยประหยัดเวลา ผู้ขอใช้บริการจะได้รับความสะดวกและช่วยประหยัดเวลา ในการเข้าใช้บริการผ่านทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี) และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 9 (ช่วงบางปะอิน – บางนา)
- บัตร M-Pass มี 2 กระเป๋าในบัตรเดียว ใช้ได้ทั้งการเดินทางและจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการ ได้แก่
- กระเป๋า M-Pass (ค่าผ่านทาง) ใช้เติมเงินและชำระค่าผ่านทางพิเศษระหว่างเมืองของกรมทางหลวง
- กระเป๋า e-Money (เงินอิเล็กทรอนิกส์) ใช้เติมเงินและทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่อง ATM
และสามารถซื้อสินค้าและบริการตามร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ VISA ทั่วประเทศ - ฟรีค่าธรรมเนียมเติมเงินทุกช่องทาง โดยผู้ขอใช้บริการสามารถเติมเงินเข้าบัตร ผ่านช่องทางธนาคารกรุงไทยทุกสาขากว่า 1,200 สาขา ตู้ ATM กว่า 10,000 ตู้ทั่วประเทศ และทาง KTB netbank
- ฟรีค่าธรรมเนียมในการทำรายการข้ามเขต ผ่านเครื่อง ATM ธนาคารกรุงไทย
- ฟรีค่าธรรมเนียมรายงานสรุปรายการผ่านทาง (Statement) รายเดือน เดือนละ 1 ครั้ง โดยจัดส่งให้ผู้ใช้บริการทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ลงทะเบียนไว้
- ฟรีบริการ SMS แจ้งผู้ใช้บริการ เมื่อเงินคงเหลือในบัตร M-Pass น้อยกว่า 200 บาท และ 60 บาท
M-Pass ใช้ได้ที่ไหน ?
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)
- ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี)
- ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก: บางปะอิน-บางนา)
- ทางด่วนทุกเส้นทาง
ข้อมูล Anti-Fake News Center Thailand , M-pass
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- M-Flow กับ M-Pass / Easy pass ต่างกันยังไง ต้องขับรถเข้าช่องทางด่วนไหน เช็กเลย!
- วิธี "สมัคร M-Flow" มอเตอร์เวย์ไร้ไม้กั้น พร้อมวิธีจ่ายเงิน M-Flow ง่ายๆ แม้ไม่ต้องเป็นสมาชิก
- เปิด "ค่าปรับ M-Flow" วิ่งผ่าน M-Flow แต่ไม่เป็นสมาชิก เสียค่าปรับ 10 เท่า หากลืมจ่ายค่าผ่านทาง
- "วิธีจ่ายเงิน M-Flow" จ่ายเงินค่าผ่านทางช่องทางใดบ้าง สำหรับสมาชิก M-Flow และไม่ได้เป็นสมาชิก
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<