จีนใช้ 'ดวงตาจักรวาล' พบ 'พัลซาร์' ใหม่ 509 ดวง มากกว่าทั่วโลก 4 เท่า
กุ้ยหยาง, 21 ธ.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิทยาศาสตร์จีนใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุฟาสต์เส้นผ่านศูนย์กลาง 500 เมตร (FAST) ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น "ดวงตาจักรวาลจีน" ตรวจจับพัลซาร์ (pulsar) ใหม่ได้ 509 ดวงแล้ว ซึ่งมากกว่าจำนวนพัลซาร์ทั้งหมดที่ตรวจพบโดยกล้องโทรทรรศน์อื่นๆ ทั่วโลกถึง 4 เท่า
พัลซาร์หรือดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูง กำเนิดจากแกนระเบิดซูเปอร์โนวาของดาวฤกษ์มวลสูงที่กำลังจะสิ้นอายุขัย โดยความหนาแน่นสูงและการหมุนที่รวดเร็วของพัลซาร์ ทำให้มันเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการศึกษากฎแห่งฟิสิกส์ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง
ทั้งนี้ กล้องโทรทรรศน์ฟาสต์ ซึ่งเริ่มเปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม 2020 ตั้งอยู่ในภูมิประเทศแบบคาสต์ที่ถูกกัดกร่อนเป็นแอ่งกลมลึกซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติในมณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และได้ชื่อว่าเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ตอบสนองเร็วที่สุดในโลก
(บันทึกภาพวันที่ 17-19 ธ.ค. 2021)
[caption id="attachment_250354" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : กล้องโทรทรรศน์วิทยุฟาสต์ที่อยู่ระหว่างการซ่อมบำรุงในมณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 19 ธ.ค. 2021)[/caption][caption id="attachment_250352" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : กล้องโทรทรรศน์วิทยุฟาสต์ที่อยู่ระหว่างการซ่อมบำรุงในมณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 19 ธ.ค. 2021)[/caption][caption id="attachment_250351" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : กล้องโทรทรรศน์วิทยุฟาสต์ที่อยู่ระหว่างการซ่อมบำรุงในมณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 19 ธ.ค. 2021)[/caption][caption id="attachment_250355" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : กล้องโทรทรรศน์วิทยุฟาสต์ที่อยู่ระหว่างการซ่อมบำรุงในมณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 19 ธ.ค. 2021)[/caption][caption id="attachment_250349" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : พนักงานซ่อมบำรุงกล้องโทรทรรศน์วิทยุฟาสต์ในมณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 17 ธ.ค. 2021)[/caption]