รีเซต

ระเบียงการค้าบก-ทะเลใหม่ พา 'ทุเรียนไทย' โกยโอกาสตลาดจีน

ระเบียงการค้าบก-ทะเลใหม่ พา 'ทุเรียนไทย' โกยโอกาสตลาดจีน
Xinhua
21 พฤศจิกายน 2565 ( 01:18 )
59
ระเบียงการค้าบก-ทะเลใหม่ พา 'ทุเรียนไทย' โกยโอกาสตลาดจีน

ฉงชิ่ง, 20 พ.ย. (ซินหัว) -- ภาณุมาศ พลับยินดี วัย 45 ปี เจ้าของสวนผลไม้ที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี วุ่นอยู่กับการจัดสรรคนงานออกเก็บเกี่ยว "ราชาแห่งผลไม้" ก่อนขนย้ายเข้าโรงงานแปรรูป

 

ทุเรียนหมอนทองจากสวนของภาณุมาศส่วนใหญ่ถูกส่งออกสู่จีน โดยเขาเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์ของบริษัท ผลไม้ฉงชิ่ง หงจิ่ว จำกัด (Chongqing Hongjiu Fruit) ผู้จัดจำหน่ายผลไม้รายใหญ่ที่สุดของจีน

 

ผลไม้เปลือกหนามจะถูกเก็บเกี่ยวจากสวนผลไม้ในไทย และขนส่งผ่านด่านมิตรภาพของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงของจีน ก่อนกระจายสู่ซูเปอร์มาร์เก็ตตามเมืองใหญ่อย่างเช่น "ฉงชิ่ง"

 

อนึ่ง ไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก ส่วนจีนเป็นตลาดส่งออกทุเรียนขนาดใหญ่ที่สุดของไทย โดยปริมาณการส่งออกรายปีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ข้อมูลสถิติจากกระทรวงพาณิชย์ของไทย ระบุว่ามูลค่าการส่งออกทุเรียนสดในปี 2021 สูงถึง 3.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.24 แสนล้านบาท) โดยเกือบร้อยละ 90 ของทุเรียนไทยถูกส่งขายตลาดจีน

 

(ภาพจากผู้ให้สัมภาษณ์ : คนงานโชว์ทุเรียนหมอนทองเก็บเกี่ยวใหม่จากสวนทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี)[/caption]

ภาณุมาศเป็นหนึ่งในผู้รับผลประโยชน์จากความนิยมทุเรียนไทยของตลาดจีน ทำให้เขามีสวนผลไม้เพิ่มขึ้นจาก 3 เป็น 7 แห่ง ปริมาณผลผลิตรายปีเพิ่มขึ้นจาก 1,500 เป็น 3,750 ตัน และรายได้เพิ่มขึ้นราว 290 ล้านบาท

การส่งออกทุเรียนไทยสู่ตลาดจีนขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากช่องทางโลจิสติกส์ใหม่อย่าง "ระเบียงการค้าทางบก-ทางทะเลระหว่างประเทศใหม่"

ระเบียงฯ เริ่มต้นดำเนินงานอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. 2017 ถือเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ของจีน โดยมีเทศบาลนครฉงชิ่งเป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน

บรรดามณฑลและเขตปกครองตนเองทางตะวันตกของจีน ซึ่งมีประชากรราว 400 ล้านคน ถือเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญของระเบียงฯ ที่บูรณาการวิธีการขนส่งทางราง เรือ รถ และอื่นๆ

สมัยก่อนทุเรียนไทยถูกขนส่งทางเรือสู่หลายเมืองทางตะวันออกของจีนเป็นลำดับแรก และค่อยขนส่งต่อสู่ภูมิภาคตะวันตก ซึ่งใช้เวลาขนส่งนานเกินไปจนส่งผลกระทบต่อความสดใหม่ของทุเรียน

ทว่าระเบียงฯ ช่วยย่นระยะเวลาขนส่งทุเรียนไทยสู่ภูมิภาคตะวันตกของจีนเหลือราว 6 วัน และประหยัดต้นทุนราว 2,000 หยวน (ราว 10,060 บาท) ต่อตู้คอนเทนเนอร์

ทุเรียนไทยจึงสามารถใช้ข้อได้เปรียบนี้บุกเบิกตลาดในภูมิภาคตะวันตกของจีน และไขว่คว้าโอกาสใหม่ของการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางธุรกิจจากตลาดจีน

[caption id="attachment_321336" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : ขบวนรถไฟสินค้าระหว่างประเทศวิ่งบนทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งเป็นการเดินรถของระเบียงการค้าทางบก-ทางทะเลระหว่างประเทศใหม่ วันที่ 16 พ.ย. 2022)[/caption]

ความนิยมทุเรียนไทยของตลาดจีนยังส่งผลประโยชน์ต่อบริษัทจีนด้วย โดยเติ้งหงจิ่ว ประธานบริษัทฯ เผยว่าอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้นของรายได้จากดำเนินงาน ระยะ 3 ปี สูงถึงร้อยละ 122

ด้าน หลิวเหว่ย ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติงานและโลจิสติกส์ระเบียงฯ ระบุว่ามีการขยายเส้นทางขนส่งระหว่างฉงชิ่ง กุ้ยโจว หนิงเซี่ย กานซู่ หูหนาน และภูมิภาคอื่นๆ กับลาว เวียดนาม เมียนมา และประเทศอื่นๆ ในปีนี้

ทั้งนี้ ระเบียงฯ ดำเนินงานครอบคลุมด่านบกและท่าเรือ 338 แห่งใน 113 ประเทศและภูมิภาคแล้ว

ข้อมูลจากศูนย์ฯ ระบุว่าฉงชิ่งขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ความยาว 20 ฟุต (TEU) ผ่านระเบียงฯ ช่วงสามไตรมาสแรก จำนวน 105,000 ตู้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยมูลค่าสินค้าสูงแตะ 1.91 หมื่นล้านหยวน (ราว 9.6 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 46 เมื่อเทียบปีต่อปี

อนึ่ง ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ แก้วมังกรไทย เมล็ดกาแฟและปลาเผาะอินโดนีเซีย ยังสามารถเข้าสู่ตลาดจีนผ่านระเบียงฯ ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค พร้อมสร้างโอกาสการพัฒนาแก่ประเทศและภูมิภาคตามแนวเส้นทางขนส่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง