รีเซต

รู้จัก! ฮีสโตรกในสัตว์เลี้ยง พร้อมเช็ค 6 สัญญาณอันตรายหมาแมว

รู้จัก! ฮีสโตรกในสัตว์เลี้ยง พร้อมเช็ค 6 สัญญาณอันตรายหมาแมว
TrueID
31 มีนาคม 2566 ( 12:05 )
163

หน้าร้อนแบบนี้คนรักสัตว์ต้องเฝ้าระวัง โรคฮีสโรตกในสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นหนึางโรคร้ายที่สามารถพรากชีวิตสัตว์เลี้ยงที่รักไปได้ เพราะสัตว์เลี้ยง ทั้งหมา แมว ฯลฯ ไม่สามารถสื่อสารกับเราได้ เจ้าของต้องรู้เท่าทันโรคฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด เพื่อป้องกันการสูญเสียสัตว์เลี้ยงแสนรัก 

 

รู้จัก! ฮีสโตรกในสัตว์เลี้ยง

ข่าววันนี้ วันนี้ ทรูไอดี ขอชวนเพื่อน ๆ ทาสหมา ทาสแมว มาเรียนรู้ ศึกษากับโรคฮีทโตรกในสัตว์เลี้ยงและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต หากสัตว์เลี้ยงมีอาการฮีทโตรกกัน

 

โรคฮีทโตรกในสัตว์เลี้ยง คือ

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง เป็นภาวะที่ร่างกายของสัตว์ไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ คือ สูงกว่า 41 องศาเซลเซียส ความร้อนที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะภายในต่าง ๆ แถมโรคนี้ยังเกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงทุกชนิดโดยเฉพาะน้องหมา น้องแมว และเสี่ยงชีวิตได้ด้วย หากร่างกายของพวกเขาไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันก็จะเกิดภาวะฮีทสโตรกขึ้น

 

อาการฮีทสโตรก

อาการฮีทสโตรกสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและพบได้บ่อยในสุนัขมากกว่าแมว โดยเฉพาะสุนัขพันธุ์ที่ขนยาว ขนหนา และพันธุ์หน้าสั้น แถมอาการนี้ยังเกิดขึ้นได้ง่ายเพราะมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ส่งผล อาทิ สภาพอากาศร้อนชื้น การอยู่ในพื้นที่อบอ้าวอากาศถ่ายเทไม่ดี เป็นต้น โดย อาการของโรคลมแดด (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง มี 6 ข้อหลัก ๆ คือ

  1. อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 41 องศาเซลเซียส หรือ 106 องศาฟาเรนไฮต์
  2. มีอาการหอบ หายใจเร็ว หายใจลำบาก หรือหายใจรุนแรงกว่าปกติ
  3. หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือเต้นผิดจังหวะ
  4. น้ำลายไหล จมูกและปากเปียก
  5. เหงือกสีแดงเข้ม
  6. มีอาการชัก กล้ามเนื้อสั่นเกร็ง หมดสติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

 

วิธีการปฐมพยาบาลโรค Heat Stroke ในสัตว์เลี้ยง

สิ่งสำคัญที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องให้ความใส่ใจ คือ การทำให้อุณหภูมิร่างกายของสัตว์เลี้ยงลดลงช้า ไม่เร็วจนเกินไป ด้วยวิธีการที่ถูกต้องง่าย ๆ ตามนี้

 

  1. ถ้าสัตว์เลี้ยงของเราอยู่ในที่อากาศร้อน แออัด ให้นำน้องมาอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกทันที
  2. จากนั้นถอดเสื้อผ้าหรือปลอกคอที่ทำให้สัตว์อึดอัดออก
  3. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว รวมถึงเช็ดใต้ฝ่าเท้า รักแร้ และขาหนีบ เพื่อเป็นการช่วยระบายความร้อน
  4. ควรใช้น้ำอุณหภูมิห้องในการเช็ด ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำที่อุ่นเกินไป เพราะสัตว์อาจเกิดภาวะช็อคได้
  5. นวดบริเวณขาองสัตว์เลี้ยง เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด

 

และเมื่อเจ้าของปฐมพยาบาลเสร็จควรรีบนำสัตว์เลี้ยงไปโรงพยาบาล เพื่อให้สัตวแพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างละเอียด และห้ามให้ยาโดยไม่ได้รับการพิจารณาจากสัตวแพทย์เด็ดขาด เพราะเด็ก ๆ เสี่ยงได้รับอันตรายถึงชีวิตได้

 

ข้อมูล : wikihow, โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนองโพ

 

อย่าลืมติดตามข่าวล่าสุด ข่าวสัตว์เลี้ยง ได้ที่นี่

 

บทความเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ฮอตฮิต

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง