รีเซต

WAVE BCGร่วมขับเคลื่อนRECs ดึงพันธมิตรสู่เป้าลดคาร์บอน

WAVE BCGร่วมขับเคลื่อนRECs ดึงพันธมิตรสู่เป้าลดคาร์บอน
ทันหุ้น
1 มีนาคม 2567 ( 11:20 )
47
WAVE BCGร่วมขับเคลื่อนRECs ดึงพันธมิตรสู่เป้าลดคาร์บอน

 

#WAVE#ทันหุ้น - WAVE BCG ร่วมมือพาร์ตเนอร์ชั้นนำปั้นโมเดล "RECs หวังช่วยต่อยอดรายได้-อัพขีดความสามารถผู้ประกอบการ พ่วงจูงใจให้เปลี่ยนมาพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนมากขึ้น ผู้บริหาร "เจมส์ แอนดริว มอร์" ชี้หากลุล่วงคงเป็นอีกแรงผลักดันให้ประเทศไทยสามารถลดคาร์บอนได้ 30% ในปี 2573 และก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593

 

นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด หรือ WAVE BCG ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล จำกัด (มหาชน) หรือ WAVE เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ต่างๆ เพื่อฟังแลกเปลี่ยนและแบ่งปัน ประสบการณ์เกี่ยวกับแนวทาง และทิศทางการขับเคลื่อนการใช้ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน หรือ Renewable Energy Certificates (RECs) ในประเทศไทย ผ่านงานเสวนา “Unlocking Potential I-RECs in Thailand” ซึ่งมีขึ้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2567

 

ร่วมพาร์ตเนอร์ลุยโมเดล RECs

 

สำหรับการจัดเสวนาดังกล่าวเกิดจากความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างเสถียรภาพด้านการลดก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินการภายใต้ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการบรรลุเป้าหมายจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2 องศาเซลเซียสและจากการประชุม COP26 ที่ประเทศไทยได้ให้คำมั่นในการดำเนินงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยตั้งเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายใน พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ภายใน พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065)

 

นอกจากนี้ยังน่าจะกลายเป็นอีกแรงผลักดันให้ประเทศไทยมีการเพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ พ.ศ.2564–2573 ได้มีการกำหนดเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions: NDC) ที่ราว 30% หรือ 166 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และ 40% หรือ 222 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายใน พ.ศ.2573 (ค.ศ.2030) โดยระดับการลดก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นถึง 40% (ขึ้นอยู่กับการเข้าถึงกลไกการสนับสนุนทางการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเงิน และการเสริมสร้างศักยภาพที่เพิ่มขึ้นและเพียงพอ)

 

โดยในปัจจุบันการพัฒนาโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นต้นนั้นคงไม่เพียงพอ และมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยมีปริมาณการขึ้นทะเบียนเพียง 19 ล้าน RECs ตั้งแต่พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบัน รวมกับ Carbon Credits มาตรฐานTVER ที่ 17 ล้านตันคาร์บอนเทียบเท่าก็เพียงแค่ 26.5 ล้านตัน

 

ชูเป้าความเป็นกลางคาร์บอน

 

“ไม่เพียงเท่านั้นมาตรฐาน Renewable Energy Certificates (RECs)ยังถือเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงาน มาเป็น “พลังงานทดแทนมากขึ้น” รวมทั้งยังอาจจะกลายเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนให้ประเทศสามารถก้าวสู่การลดคาร์บอนได้ถึงระดับ 50% หรือ Carbon neutrality" หรือ “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” ในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 ตามที่ภาครัฐตั้งเป้าหมายไว้”

 

อย่างไรก็ตาม จากขอ้มูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) แจ้งว่า มีความต้องการจากภาคธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมที่ 134.7 ล้าน megawatt hour โดยถ้านำพลังงานสะอาดทั้ง Grid สามารถขึ้นทะเบียน RECsเพียงแค่ 28 ล้าน megawatt hour โดย PPAชุด ใหม่ 5,000 กว่า megawatt RECs เป็นของภาครัฐ

 

ขณะที่ในปัจจุบันการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานสะอาดที่มีความสำคัญต่อประเทศในเชิงของการดึงดูดการลงทุน (FDI) จากต่างประเทศ โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำของโลกที่มีการกำหนดเป้าไปแล้ว และยังมีการย้ายบริษัทไปต่างประเทศ ที่ตอบโจทย์ความต้องการเชิง RE ได้รวมถึงการที่หลายบริษัทประกาศเป็น RE100 ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificates) หรือ RECs เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยประเทศไทย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยจะเป็นการสนับสนุนการเพิ่มขึ้นและการขยายจำนวนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง