รีเซต

เช็คสิทธิลดหย่อนภาษี 2565-2566 คำนวณให้ดีอาจมีเงินเหลือ!

เช็คสิทธิลดหย่อนภาษี 2565-2566 คำนวณให้ดีอาจมีเงินเหลือ!
Ingonn
30 มกราคม 2566 ( 12:49 )
3.9K
เช็คสิทธิลดหย่อนภาษี 2565-2566 คำนวณให้ดีอาจมีเงินเหลือ!

ในช่วงสิ้นปี สิ่งที่ผู้ที่มีรายได้เกิน 120,000 ต่อปี จะต้องมีหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นยื่นภาษีที่กรมสรรพากร หรือจะใช้ช่องทางออนไลน์ ซึ่งกรมสรรพากร กำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการ ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป 

 

เช็คสิทธิลดหย่อนภาษี 2565-2566 คำนวณให้ดีอาจมีเงินเหลือ!

วันนี้ TrueID จึงจะมาเช็กสิทธิลดหย่อนภาษีปี 2565 ก่อนเตรียมยื่นภาษีปี 2566 สามารถลดหย่อนอะไรได้บ้าง ไปดูกันเลย

 

สิทธิค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว

  1. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับส่วนตัว 60,000 บาท
  2. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับคู่สมรส 60,000 บาท (สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้)
  3. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับบุตร คนละ 30,000 บาท บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ได้ลดหย่อนเพิ่มอีกคนละ 60,000 บาท(เกิดปี 2561 เป็นต้นไปสามารถหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน)
  4. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับค่าเล่าเรียนลดหย่อนบุตร (ต้องเรียนไปเกิดอายุ 25 ปี ) 30,000 บาท บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดในหรือหลังปี 2561 ได้คนละ 60,000 บาท
  5. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับฝากครรภ์และคลอดบุตร ลดได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
  6. ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ กรณีพ่อแม่ที่อายุเกิน 60 ปี และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท รวมถึงผู้ปกครองของคู่สมรส (กรณีมีพี่น้องหลายคน จะใช้สิทธิ์ได้แค่คนเดียว)
  7. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ ที่มีมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี คนละ 60,000 บาท

 

สิทธิค่าลดหย่อนภาษีสำหรับประกันและการลงทุน

  1. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับเงินสมทบประกันสังคมสูงสุดไม่เกิน 5,850 บาท
  2. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ โดยดูที่ตามการจ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  3. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (ข้อ 1- 2 รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท)
  4. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับเบี้ยประกันสุขภาพพ่อ-แม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  5. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำไปลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  6. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำไปลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  7. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สามารถนำไปลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
  8. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน สามารถนำไปลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท (ข้อ 6 – 8 ตามที่จ่ายสูงสุดรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท)
  9. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สามารถนำไปลดหย่อนได้ 13,200 บาท
  10. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) สามารถนำไปลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
  11. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถนำไปลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
  12. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) สามารถนำไปลดหย่อนได้ 200,000 บาท

(ข้อ 2 – 11 รวมกันสูงสุดต้องไม่เกิน 500,000 บาท )

 

 

สิทธิค่าลดหย่อนภาษีสำหรับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

  1. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน100,000 บาท
  2. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับโครงการบ้านหลังแรกปี 59 สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท

 

 

สิทธิค่าลดหย่อนภาษีสำหรับกลุ่มบริจาค

  1. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคให้ พรรคการเมือง โดยสามารถดูที่ตามที่จ่ายจริงแต่จะได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  2. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคให้ มูลนิธิและองค์กรสาธารณะกุศล ตามจริง ไม่เกิน10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  3. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคให้ การศึกษาหรือด้านกีฬา หรือเข้าโรงพยาบาลรัฐและช่วยเหลือด้านสังคมต่างๆ หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

 

สิทธิค่าลดหย่อนภาษีสำหรับกลุ่ม มาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ฯ

  1. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับมาตราการช้อปดีมีคืน ลดได้สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  2. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต (ธุรกิจที่มีเครื่องรูดบัตร ECD ) หักค่าลดหย่อนได้เพิ่ม 1 เท่าของที่จ่ายตามจริง

 
นายจ้างจะหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ของพนักงานในแต่ละเดือนและนำส่งกรมสรรพากรให้ เมื่อครบปี นายจ้างจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือ 50 ทวิ คือ เอกสารแสดงยอดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษี และแสดงข้อมูลรายได้เป็นเอกสารที่ผู้มีเงินได้สามารถใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีเงินได้ หรือ ภงด 90/91 

 

วิธีคำนวณอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ขั้นตอนที่ 1

  • นำรายได้ทั้งปีมาหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว นำรายได้ตลอดทั้งปีมาหักค่าใช้จ่าย แยกตามประเภทของรายได้ และหักลดหย่อนตามรายการต่าง ๆ เพื่อหารายได้สุทธิ


ตัวอย่าง

นายเอมีรายได้ทั้งปี 600,000 บาท จะต้องหักค่าใช้จ่ายเบื้องต้น 50% ของเงินได้ (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท) = 100,000 บาท จะเหลือรายได้สุทธิ 500,000 บาท

 

ขั้นตอนที่ 2

  • นำรายได้ที่เหลือมาหักค่าลดหย่อน จากนั้น ลองสำรวจดูว่าเรามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง แล้วนำค่าลดหย่อนนั้นมาลบออกจาก 500,000 บาท

 

ตัวอย่าง 
นายเอ ซึ่งมีภรรยา 1 คน มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาท ทั้งคู่จดทะเบียนสมรสกันแล้ว แต่ไม่มีบุตร จ่ายประกันสังคมไป 9,000 บาท, มีพ่ออายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ต้องเลี้ยงดู 1 คน, ซื้อ LTF ไป 50,000 บาท ก็สามารถนำค่าลดหย่อนทั้งหมดมาหักออกจาก 500,000 บาท ดังนี้


• หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
• หักค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
• หักค่าประกันสังคม 9,000 บาท
• หักค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดา 1 คน จำนวน 30,000 บาท
• หักค่าซื้อ LTF ไป 50,000 บาท

 

รวมหักไป 209,000 บาท

จะเหลือรายได้สุทธิ 291,000 บาท

 

ขั้นตอนที่ 3

  • นำรายได้สุทธิที่ได้ มาเทียบอัตราภาษี ปัจจุบันใช้วิธีเสียภาษีแบบ


อัตราภาษีแบบขั้นบันได


• รายได้ 0-150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี
• รายได้ 150,001-300,000 บาท อัตราภาษี 5% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดในขั้นนี้คือ 7,500 บาท)
• รายได้ 300,001-500,000 บาท อัตราภาษี 10% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 20,000 บาท)
• รายได้ 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 37,500 บาท)
• รายได้ 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 50,000 บาท)
• รายได้ 1,000,001-2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 250,000 บาท)
• รายได้ 2,000,001-5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 600,000 บาท)
• รายได้ 5,000,000 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%

 

เงินได้สุทธิต่อปีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
รายได้ 0-150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี
รายได้ 150,001-300,000 บาทอัตราภาษี 5%
รายได้ 300,001-500,000 บาท อัตราภาษี 10%
รายได้ 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15%
รายได้ 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษี 20%
รายได้ 1,000,001-2,000,000 บาทอัตราภาษี 25%
รายได้ 2,000,001-5,000,000 บาท อัตราภาษี 30%
รายได้ 5,000,000 บาทขึ้นไปอัตราภาษี 35%

 

ตัวอย่าง
นายเอ มีรายได้สุทธิอยู่ที่ 291,000 บาท เท่ากับต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุดที่ 5% แต่ในจำนวนนี้ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี จึงคงเหลือส่วนที่ต้องเสียภาษีอยู่ที่ (291,000-150,000) = 141,000 บาท ที่อัตรา 5% คิดเป็นเงินภาษี 7,050 บาท

 

 

ต้องเตรียมอะไรบ้างก่อนยื่นภาษี

  1. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ ซึ่งสามารถขอได้จากฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทที่ทำงาน
  2. หลักฐานแสดงรายการลดหย่อนภาษี เช่น หนังสือรับรองการซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี (RMF/SSF), หนังสือรับรองการซื้อเบี้ยประกันชีวิต, หนังสือรับรองดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน, ใบกำกับภาษีซื้อสินค้าโครงการช้อปดีมีคืน หรือหลักฐานการบริจาคต่างๆ เป็นต้น

 

ขั้นตอนการยื่นภาษีแบบออนไลน์ 

  1. เข้าเว็บสรรพากร www.rd.go.th และเลือกยื่นออนไลน์ คลิก
  2. คลิกยื่นภาษี ภ.ง.ด.90 / 91 และล็อกอิน
    • ลงทะเบียน คลิก สมัครสมาชิก
  3. ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวให้ถูกต้อง
    • ตรวจสอบสถานะ เช่น โสด หรือ สมรส
  4. เลือกข้อมูลรายได้ และค่าลดหย่อน
    • เลือกข้อมูล เช่น พนักงานเงินเดือน หรือฟรีแลนซ์
    • เลือกค่าลดหย่อน เช่น ประกันสังคม RMF ประกันชีวิต ช้อปดีมีคืน
  5. กรอกรายได้ ภาษีที่ถูกหัก และ Tax ID ของบริษัท
    • กรอกค่าลดหย่อนภาษี
  6. ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน
  7. ตรวจสอบข้อมูล ก่อนกดยืนยัน 

 

กรณีต้องจ่ายภาษีเพิ่มเติม สามารถจ่ายผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ พร้อมเพย์, บัตรเครดิต , ATM , Internet Banking , เคาน์เตอร์ธนาคารที่เข้าร่วม , เคาน์เตอร์เซอร์วิส และไปรษณีย์ไทย

 

ข้อมูลจาก : กรมสรรพากร , Moneyguru , businesstoday

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง