รีเซต

พิจิตรส่อเค้าแล้งรุนแรง-แม่น้ำยมแห้งขอด

พิจิตรส่อเค้าแล้งรุนแรง-แม่น้ำยมแห้งขอด
TNN ช่อง16
20 มกราคม 2564 ( 16:39 )
116

วันที่ 20 มกราคม 2564 สถานการณ์ภัยแล้งพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยม ในอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ปริมาณน้ำยมอยู่ในสภาพแห้งขอดเป็นช่วงๆ   ซึ่งบางช่วงมีน้ำเหลือให้กักเก็บในปริมาณน้อยมาก หรือบางช่วงแทบไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงเลย   โดยขณะนี้น้ำแห้งขอดมานานกว่า 1 เดือนแล้ว  ทำให้ชาวนาที่ทำนาปรังในพื้นที่ต้องหาแอ่งน้ำจากแม่น้ำยม  เพื่อสูบน้ำขึ้นไปใส่นาข้าวที่อายุประมาณ 1 เดือนและเร่งหาแหล่งน้ำจากใต้ดินหรือน้ำบาดาลกักเก็บไว้ใช้ทางการเกษตรตลอดฤดูการเพาะปลูกข้าวนาปรัง  


โดยนายบุญรักษ์ พุ่มมาลา  อายุ 35 ปี เกษตรกรชาวนา หมู่ที่ 4 ตำบลไผ่ท่าโพ  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง กล่าวว่าชาวนาในลุ่มแม่น้ำยม ในเขตตำบลไผ่ท่าโพ ช่วงนี้จะหันมาทำการปลูกข้าว พันธุ์ กข.กันมากกว่าหนึ่งพันไร่ ส่วนตนเองทำนาปลูกข้าว 60 ไร่ โดยปลูกข้าวมีอายุได้หนึ่งเดือนเศษ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและในช่วงฤดูน้ำหลากของทุกปีจะเป็นพื้นที่น้ำท่วมยาวนาน และช่วงดังกล่าวจะไม่สามารถทำนาปลูกข้าวได้ โดยจะอาศัยช่วงนี้(ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม)ทำการเพาะปลูกข้าวกัน ซึ่งการปลูกข้าวนั้นชาวนาส่วนใหญ่จะอาศัยน้ำจากแม่น้ำยม เป็นน้ำต้นทุนในการทำนาเป็นหลัก แต่ในปีนี้แม่น้ำยมแห้งขอดเร็วกว่าปกติ เกษตรกรต้องหาแหล่งน้ำสำรองกันมากขึ้นโดยจะใช้น้ำจากใต้ดินหรือน้ำบาดาลสูบใส่นาข้าวเนื่องจากในปีนี้เกิดความแห้งแลงเร็วกว่าทุกๆปีและคาดการณ์ว่าจะแล้งยาวนานจึงต้องเร่งกักเก็บน้ำสำรองไว้ให้เพียงพอตลอดฤดูกาลน้ำนาปรัง 


นอกจากชาวนาจะประสบปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำแล้ว ยังประสบปัญหาศรัตรูพืช โดยเฉพาะแมลงบั่ว ซึ่งเกิดการระบาดกัดกินน้ำเลี้ยงจุดเจริญเติบโตของต้นข้าวทำให้ต้นข้าวแคระแกรน และเกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง อีกทั้งเกษตรกรบางราย ที่ต้นข้าวเริ่มตั้งท้องออกรวง ยังต้องเจอกับปัญหาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย โดยเฉพาะอากาศหนาวจัดอีก ทำให้ต้นข้าวไม่ออกรวงหรือออกก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตลดลง  


ด้านนายสุชิน ฉิมไทย หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และสารสนเทศสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร รักษาการเกษตรจังหวัดพิจิตร กล่าวว่าพื้นที่จังหวัดพิจิตรปัจจุบันเริ่มประสบปัญหาภัยแล้ง และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆมีค่อนข้างน้อยและจำกัด โดนคาดการณ์ว่าจะแห้งแล้งยาวนานจึงขอแนะนำให้เกษตรกรควรงดหรือชะลอการทำนาลง เนื่องจากเกรงว่าน้ำจะไม่เพียงพอและอาจจะทำให้นาข้าวขาดแคลนน้ำจะเสียหายได้ในอนาคตจึงขอให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชตระกูลถั่วแทนการทำนาเพราะว่าพืชตระกูลถั่วอายุสั้นใช้น้ำน้อยเมื่อปลูกแล้วเกษตรกรก็จะมีรายได้เช่นกัน อย่างไรหากเกษตรกรที่ลงมือไถหว่านปลูกไปแล้วหากพบว่ามีการแพร่ระบาดของแมลงศรตรูพืชก็ขอให้แจ้งทางเกษตรอำเภอหรือเกษตรจังหวัดเพื่อที่จะได้ลงพื้นที่สำรวจให้การช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป 



      เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com 
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live 
twitter : TNNONLINE 
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE 
Instagram : TNN_ONLINE 

TIKTOK : @TNNONLINE                                  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง