"ขนส่งมวลชนสาธารณะ" รอนาน-ค่าโดยสารแพง เตรียมนำข้อมูลเร่งปฏิรูประบบ
นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ กล่าวว่า ตลอด 15 ปีของการทำงานขับเคลื่อนด้านการขนส่งมวลสาธารณะที่ปลอดภัยและเป็นธรรมได้ดำเนินการใน 3 ประเด็นหลักคือ รถโดยสารสาธารณะปลอดภัย รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ขนส่งมวลชนปลอดภัย โดยในช่วงแรก ปี 2550- จนถึงปัจจุบันเราเริ่มต้นจากการรับเสียงร้อยงเรียนจากผู้ที่ใช้รถโดยสาธารณะที่ได้รับผลกระทบจากการบริการ แต่ไม่ได้รับการชดเชยเยียวยา
หลังจากนั้นก็พัฒนางานด้านนี้มาโดยตลอด โดยได้รวบรวมข้อมูลระบบขนส่งมวลชน รถโดยสาธารณะ ผลักดันข้อเสนอรถโดยสารสาธารณะ มีประกันภัย ระบบจีพีเอส และห้ามรถโดยสารสองชั้นที่ไม่ปลอดภัยวิ่ง ซึ่งพวกเราถือว่าได้คิดค้นนวัตกรรมจนสามารถผลักดันทำให้เป็นโยบายจังหวัดพะเยาว์ที่จะไม่มีการใช้รถเมล์สองชั้น
ขณะที่ในทางกฎหมายได้ฟ้องคดีผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับการเยียวยา กรณี รถตู้ไฟไหม้ที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาตัดสินคดีและเชื่อว่าคดีนี้น่าจะเป็นคดีตัวอย่างในเรื่องของการเยียวยาที่เหมาะสมและในปี 2565 เรากำลังขับเคลื่อนรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2564 และได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายทั้งภาคการเมืองและผู้บริโภคในการดำเนินการในเรื่องนี้ โดยข้อเสนอไม่ต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสานสีเขียว และราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าไม่เกิน 25 บาท รวมทั้งไม่มีค่าแรกเข้า
ส่วนข้อเสนอ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ นายคงศักดิ์ เสนอให้ ยกระดับมาตรฐานการ ชดเชยเยียวยาในคดี รถโดยสารสาธารณะ ขอให้เพิ่มหลักเกณฑ์การขอต่อใบอนุญาต โดยต้องมีรายงานข้อมูลประวัติการเกิดอุบัติเหตุ และความรับผิดชอบต่อผู้เสียหายและสังคม และขอให้พิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การกำหนดเส้นทางเดินรถที่มีผู้ประกอบการขนส่งเพียงรายเดียว โดยกำหนดแผนรองรับสำหรับเส้นทางเดินรถที่มีปัญหาต่อผู้บริโภค เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ใช้บริการ
ขนส่งทางบกยอมรับรถเมล์ "รอนาน"
ด้าน นางสาวพัชรางศุ์ ประพฤติธรรม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก กรมขนส่งทางบก บอกว่า กรมขนส่งทางบก ได้เตรียมปฏิรูปการขนสางสาธารณะ ที่มีคุณภาพเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการประชาชน โดยจะพัฒนาทั้งหมด 5 ด้านประกอบด้วย
1. การพัฒนาสถานีขนส่งผู้โดยสารรองรับประชาชน จะส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาร่วมดำเนินการ
2. ส่วนการขับเคลื่อนระบบขนส่งโดยสาร สาธารณะต่อเนื่องโดยมีการพิจารณาโครงข่ายการเชื่อมต่อของระบบเพื่อให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกสบายมากขึ้น
3. พัฒนามาตรฐานการขนส่งให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
4. พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการขนส่งรถสาธารณะ
5. พัฒนาเทคโนโลยีการดำเนินด้านการขนส่งผู้โดยสาร
“ขณะนี้กำลังพยายามปรับปรุงขนส่งมวลชนสาธารณะให้สอดคล้องกับภูมิภาคทำโครงการร่วมกันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยอมรับ บางจังหวัดต้องยอมรับว่าระบบขนส่งมวลชนสาธารระล่มสลายซึ่งในเรื่องนี้เราได้สำรวจสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเพื่อนำมาปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น”
นางสาวพัชรางศุ์ ยอมรับ หลังจากลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูล และสัมภาษณ์ผู้บริโภค โดยเฉพาะรถเมล์ในกทม.พบข้อเท็จจริงด้วยตัวเองคือ รถเมล์รอนานมาก และเมื่อตรวจสอบก็พบว่าบางสายมี รถเมล์ 11 คัน แต่วิ่งได้จริงแค่ 3 คันเท่านั้น แต่กรมขนส่งทางบกไม่ได้นิ่วนอนใจ จะนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปปรับปรุงระบบใหม่เพราะถือเป็นความท้าทายคือการปฏิรูปเส้นทางรถเมลกทม. ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
ทีดีอาร์ไอชี้ ป้ายรถเมล์หาย –บางจังหวัดไม่มีรถเมล์
ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่ควรจะเป็นควรจะมี ใน 3 ส่วน คือ
1. การมีบริการที่เป็นสาธารณะ เส้นทางเหมาะสมเที่ยววิ่งที่เหมาะสมเป็นพื้นฐาน หลายครั้งเที่ยววิ่งที่เหมาะสมกับความต้องการใช้ของผู้บริโภคต้องปรับให้สอดคล้องกับความต้องการ
2. รถสาธารณะ ต้องเข้าถึงได้ง่าย มีสถานี หรือจุดจอดที่ประชาชนเข้าถึงได้ เช่นในอดีตถนนทุกถนนจะมีศาลาริมทางและเป็นจุดจอด แต่ปัจจุบันไม่มีหายไปหมด จุดจอดหายไป และเวลาเราสร้างถนนเนามัจะนึกถึงป้ายรถเมลเป็นเรื่องสุดท้ายซึ่งไม่ถูกต้อง
3. คือ เรื่องของราคาค่าโดยสารที่เหมาะสม รัฐต้องเข้ามาเกี่ยวข้องและสนับสนุน เส้นทางทีมีผู้โดยสารน้อยแต่จำเป็น
ดร.สุเมธ กังวลถึงแนวโน้มการใช้รถสาธารณะย้อนหลัง 10 ปีลดลงอย่างต่อเนื่องโดยมีประชาชนใช้รถสาธารณะลดลงทุกจังหวัดเช่น จ.ตรังรถโดยสารเทศบาลไม่มีเลย โดยสิ่งที่เกิดขึ้นคือคนส่วนใหญ่ใช้รถส่วนตัวมากขึ้น
จากข้อมูลสัดส่วนครอบครัวที่มีรยนต์ส่วนตัวใน กทม. ที่มีรายได้สูง มีครอบครัวเรือนที่ไม่มีรถยนต์เลยสักคัน 30 % ขณะที่ครัวเรือนมีรถยนต์ 70% แต่ที่น่าตกใจคือซึ่งจังหวัดขอนแก่นมีครัวเรือนที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวเลย 6% ขณะที่ครัวเรือนกว่า 94%มีรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งแสดงว่าจังหวัด ขอนแก่นไม่มีทางเลือกอื่นในการเดินทางเลยทุกครอบครัวต้องมีรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซด์ส่วนตัว ในการเดินทาง
ด้านนางสาวลักษณวดี ธนามี ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศการขนส่งและจราจร กล่าวว่า กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง การขนส่งที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการขนส่งที่มีประสิทธิภาพการเข้าถึงระบบขนส่ง Managementอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม โดยจะมีการพัฒนาระบบคมนาคม จุดเชื่อมต่อการเดินทาง ล้อ-ราง-เรือในระยะเร่งด่วน ปี พ.ศ. 2565-2570 จำนวน32 จุดเพื่อให้ประชาชนเดินทางสะดวกมากขึ้น
กรมรางฯดันค่าโดยสารรถไฟฟ้าต้องถูกลง
ดร.ทยากร จันทรางศุ วิศวกรโยธา ชำนาญการพิเศษ รักษาการแทนผู้อำนวยการกองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง กรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า ทิศทางการพัฒนาระบบขนส่งทางรางปลอดภัยเป็นธรรม จะเน้นเป้าหมายเดินทางสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาเหมาะสม โดยขณะนี้ในเรื่องการเดินทางสะดวก ได้ดำเนินการ โครงข่ายการเดินระบบราง ที่ครอบคลุม พร้อมทั้งพิจารณาระบบฟิดเดอร์ เพื่อขนคนเข้าสู่ระบบรางให้ดีขึ้น
ขณะที่เรื่องของความปลอดภัย ได้ดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องรถไฟตกราง ดีเลย์ และสร้างมาตรฐานความลอดภัย พิจารณาเรื่องจุดตัดรถไฟฟ้า กับถนนที่มักเกิดปัญหาอุบัติเหตุ นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อตรวจสอบจุดตัดไหนบ้างที่ชำรุดเสียหาย
“ในเรื่องความปลอดภัยต้องไม่มีจุดตัดกันมาก ทางรถไฟ แต่ในบ้านเรามีจุดตัดเยอะมากซึ่งเราจะเข้ามาแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ขณะที่มาตรฐานความปลอดภัยอื่นๆ อยู่ระหว่างพิจารณากำหนดโดยรอการแก้ไข พ.ร.บ. ขนส่งทางรางที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร”
ส่วนในเรื่องราคาค่าโดยสาร ดร.ทยากร กล่าวว่า เป้าหมายของเราคือ ค่าโดยสารต้องมีราคาเหมาะสมเป็นธรรม ซึ่งใน พ.ร.บ.การขนส่งทางรางจะมีมาตรา 9 ที่มีคณะกรรมการกำหนดอัตราขั้นสูงสุดของค่าโดยสาร ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณที่มีเกณฑ์พิจารณาในเรื่องเงินเฟ้อ กลุ่มเปราะบางและเรื่องรายได้ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอในเรื่องการยกเว้นค่าแรกเข้าและการส่งเสริมให้มีการใช้ตั๋วร่วมในอนาคตด้วย
ชี้ต้องกระจายงบประมาณให้ท้องถิ่น
ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ รองประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ที่ดีต้องมีคุณภาพดี ราคาถูกเข้าถึงง่าย แต่ที่ผ่านมาการลงทุนระบบขนส่งสาธารณะจะทุ่มงบประมาณในราคาสูงให้กับการสร้างรถไฟฟ้าจำนวนมาก ขณะที่การพัฒนาหรือการลงทุนเรื่อง รถเมล์ หรือรถสาธารณะในต่างจังหวัดไม่ได้ให้ความสำคัญ แต่คนจนรายได้น้อยมีความจำเป็นต้องพึ่งพาระบบขนส่งมวลชนดังกล่าว
ดังนั้น เห็นว่า ควรจะมีการกระจายอำนาจในการจัดการงบประมาณ และกระจายการลงทุนขนส่งสาธารณะให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาเข้าร่วมในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
สอบ.ชี้ค่าโดยสารต้องไม่เกิน10 % ของรายได้ขั้นต่ำ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ข้อเสนอจองสภาองค์กรของผู้บริโภคราคาค่าโดยสารต้องไม่เกิน 5-10 % ของรายได้ขั้นต่ำ การเข้าถึงจุดบริการต้องสะดวกสบาย ไม่เกิน 0.5 กิโลเมตร ต่อ 15นาที และ รอรถไม่นานไม่เกิน 15 นาทีในชั่วโมงเร่งด่วนและไม่เกิน 30 นาทีในชั่วโมง ปกติ
นอกจากนี้ข้อเสนอนโยบายระบบขนส่งมวลชนต้องมีนโยบายจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น การบริการขนส่งมวลชนเป็นบริการขั้นพื้นฐานทั้งกทม.และต่างจังหวัด
ส่วนข้อเสนอต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือ บีทีเอส เป็นข้อเสนอในปัจจุบัน ถึงปี 2572 ประกอบด้วย
1. เก็บค่าโดยสาร 15-44 บาท โดยรวมทั้งเส้นส่วนไข่แดงและส่วนต่อขยาย 1 – 2 และคิดอัตราค่าโดยสารใหม่ โดยกําหนดหลักเกณฑ์ว่าคิดตามระยะทางหรือคิดตามสถานี เช่น เพิ่มสถานีละ 1 บาท สูงสุด 44 บาท เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้บริโภค และส่งเสริมให้ผู้บริโภคเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น
2. หารายได้จากสถานีส่วนต่อขยาย 1-2 เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเชื่อมต่อสถานี ค่าโฆษณาสถานี เป็นต้น3. กทม. หรือรัฐบาล จ่ายหนี้บริษัททั้งหมด
ส่วนหลังหมดสัญญาสัมปทาน 2573-2602 จัดประมูลการเดินรถ โดยกำหนดเงื่อนไขเรื่อง มาตรฐานการให้บริการ และราคาต่ำสุดสำหรับประชาชน แต่ต้องไม่เกิน 25 บาทตลอดสาย :แยกประมูลหารายได้จากสถานีส่วนต่อขยาย เช่น ค่าเช่าพื้นที่ เชื่อมต่อสถานี ค่าโฆษณาสถานี เป็นต้น
นอกจากนี้ นางสาวสารี ยังเสนออีกว่า ต้องไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน และเร่งดำเนินการบัตรใบเดียวใช้กับบริการขนส่งมวลชนทุกประเภท เช่น รถเมล์ รถตู้ รถไฟฟ้า และต้องดำเนินการทั่วประเทศ
ข้อมูล เวทีเสวนาสภาองค์กรผู้บริโภคเปิดข้อมูลขนส่งมวลชนสาธารณะ
ภาพ TNNONLINE