รีเซต

UBE และ CPANEL ควงแขน เข้าเทรดตลาดหุ้นไทยวันแรก 30 ก.ย.นี้

UBE และ CPANEL ควงแขน เข้าเทรดตลาดหุ้นไทยวันแรก 30 ก.ย.นี้
TNN Wealth
29 กันยายน 2564 ( 18:18 )
236

ข่าววันนี้ หุ้น IPO ขวงแขนเข้าเทรด 30 กันยายนนี้ CPANEL เตรียมเข้าเริ่มเทรด MAI ในกลุ่มอสังหาฯ  ด้าน UBE เทรด SET หมวดพลังงาน-สาธาณูปโภค โดยบมจ. ซีแพนเนล เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai ภายใต้กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลัก ทรัพย์ว่า "CPANEL" ในวันที่ 30 กันยายน 2564

 


CPANEL ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นพื้นและผนังคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete Slab and Wall Panel) และส่วนประกอบอาคารที่ผลิตจากคอนกรีตสำเร็จรูป อาทิ คาน บันได ผนังรับหลังคา ฟาซาด เป็นต้น ซึ่งใช้สำหรับงานก่อสร้าง โครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โรงแรม อาคารคลังสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรม ภายใต้ตราสิน ค้า "CPANEL"

 


ผลิตภัณฑ์ของบริษัทแบ่งได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป 2) ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปสำหรับ งานอาคารและวัสดุก่อสร้างอื่น ซึ่งงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 มีสัดส่วนรายได้ประมาณ 84 : 16 บริษัทมีกลุ่มลูกค้าหลัก คือ กลุ่มผู้ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มลูกค้ารอง คือ กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยในช่วงปี 2561-2563 มีสัดส่วน 80-85 : 20-25

 


CPANEL มีทุนชำระแล้ว 150 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 110.5 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญ เพิ่มทุน 39.5 ล้านหุ้น เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่บุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 29.625 ล้านหุ้น ผู้มีอุปการคุณของบริษัท 5.925 ล้านหุ้น และเสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของบริษัท 3.95 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 21-23 กันยายน 2564 ใน ราคาหุ้นละ 6 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุน 237 ล้านบาท และมีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 900 ล้านบาท

 


ทั้งนี้ การกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) ที่ 31.58 เท่า โดย คำนวณจากกำไรสุทธิต่อหุ้นจากผลกำไรสุทธิในช่วง 4 ไตรมาสย้อนหลัง (ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564) ซึ่ง เท่ากับ 28.57 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลังจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ (Fully Diluted) ซึ่งเท่ากับ 150 ล้านหุ้น จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 0.19 บาท 

 


นายชาคริต ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ CPANEL บอกว่า บริษัทมีแผนจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนก่อสร้างโรงงานเพิ่มขยายกำลังการผลิต ชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

 


CPANEL มีผู้ถือหุ้นใหญ่หลัง IPO 2 อันดับแรก คือ กลุ่มนายชาคริต ทีปกรสุขเกษม ถือหุ้น 47.73% และกลุ่มนายนิพนธ์ ลีละ ศิธร ถือหุ้น 7.61% บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิหลังหักเงินสำรองตาม กฎหมาย รวมถึงเงินสำรองอื่นตามที่บริษัทกำหนด โดยพิจารณาจากงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท

 


UBE เข้าเทรด SET วันแรก 30 ก.ย.หมวดพลังงาน-สาธาณูปโภค


 บมจ. อุบล ไบโอ เอทานอล เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร หมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า "UBE" ในวันที่ 30 กันยายน 2564

 


UBE เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปมันสำปะหลังแบบครบวงจรรายใหญ่ของประเทศ ประกอบธุรกิจหลัก ได้แก่ 1) ธุรกิจเอทานอล ผลิตและจำหน่ายเอทานอลเกรดเชื้อเพลิงและเกรดอุตสาหกรรมรายใหญ่ของประเทศ ด้วยกำลังการผลิต 400,000 ลิตร ต่อวัน

 


2) ธุรกิจแป้งมันสำปะหลัง เกรดอาหารและเกรดอุตสาหกรรม ทั้งแบบทั่วไปและออร์แกนิคภายใต้แบรนด์ "อุบลซันฟลาว เวอร์" และมีผลิตภัณฑ์จากแป้งฟลาวมันสำปะหลัง ภายใต้แบรนด์ "Tasuko" ซึ่งบริษัทถือเป็นผู้ผลิตและส่งออกแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิ คเพียงไม่กี่รายในโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานออร์แกนิคในระดับสากล และ 3) ธุรกิจเกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชออร์แกนิค เช่น ข้าว กาแฟ

 


UBE มีทุนชำระแล้วหลัง IPO 3,914.28 ล้านบาท มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้ง แรก จำนวนรวม 1,370 ล้านหุ้น ประกอบด้วย หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 1,174.28 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่ เสนอขายโดยบริษัท ไท ยออยล์ เอทานอล จำกัดและบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) รวมจำนวน 195.71 ล้านหุ้น 

 


โดยเสนอขายหุ้นสามัญต่อบุคคลตามดุลยพินิจ ของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์และผู้ลงทุนสถาบัน ระหว่างวันที่ 21 - 23 กันยายน 2564 ในราคาหุ้นละ 2.40 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุน 2,818 ล้านบาท และมีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 9,394 ล้านบาท 

 


นายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. อุบล ไบโอ เอทานอล บอกว่า UBE มีแผนจะนำเงินจากการระดมทุนไปขยายและพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตในธุรกิจเอทานอล ขยายกำลังการผลิต แป้งฟลาวมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเกษตรอินทรีย์ให้มีมูลค่าสูง

 


UBE มีผู้ถือหุ้นใหญ่หลัง IPO 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มครอบครัวโควสุรัตน์ ถือหุ้น 25.77% บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด ถือหุ้น 12.39% และบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 12.39% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว

 


UBE มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และสำรองตามกฏหมาย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ กระแสเงินสดและแผนการลงทุนของบริษัทตามความ เหมาะสม

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง