รีเซต

ชง Business Bubble หนุนลงทุนอีอีซีต่อเนื่อง

ชง Business Bubble หนุนลงทุนอีอีซีต่อเนื่อง
TNN ช่อง16
22 มิถุนายน 2563 ( 14:56 )
43
ชง Business Bubble หนุนลงทุนอีอีซีต่อเนื่อง

วันนี้ (22 มิ.ย.63) นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยผลประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จะเสนอแนวทางผ่อนปรนการเดินทางระหว่างประเทศแบบ Business Bubble เป็นลำดับแรกในพื้นที่เฉพาะเจาะจง อาทิ พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ  อีอีซี ให้ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ต่อไป  เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยและต่างประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง

 

ดังนั้น เพื่อรองรับบุคลากรภาคธุรกิจในพื้นที่ อีอีซี ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  (สกพอ.) อยู่ระหว่างหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข ถึงแนวทางผ่อนปรนการเดินทางเข้าประเทศไทย ได้แก่ การสร้างภาคีเครือข่ายองค์กร บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศต้นทาง กับ สถานเอกอัครราชทูตไทย หรือ สถานกงสุลใหญ่ จัดให้มีการตรวจและออกใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่า ผู้เดินทางมีสุขภาพเหมาะสมกับการเดินทางทางอากาศ (Fit to Fly) การขึ้นทะเบียนสถานที่และการบริการ Alternative State Quarantine เพิ่มเติมในพื้นที่ อีอีซี และทบทวนข้อกำหนด หรือ มาตรการให้บุคลากรต่างชาติสามารถทำภารกิจในพื้นที่ได้คล่องตัวยิ่งขึ้น

 

ทั้งนี้ กลุ่มบุคลากรภาคธุรกิจในพื้นที่ อีอีซี จากประเทศญี่ปุ่น อาทิ หอการค้าประเทศญี่ปุ่น (Japanese Chamber of Commerce : JCC) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ETRO) ภาคธุรกิจจากสาธารณรัฐเกาหลี และประเทศอื่นที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสหกรรมได้ยื่นหนังสือถึงภาครัฐขอให้ผ่อนคลายการเดินทางเข้าประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ รวมถึงการส่งช่างเทคนิคเข้ามาตรวจสอบซ่อมบำรุงเครื่องจักรในอุตสาหกรรม และเพื่อสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ อีอีซี ที่มีเป้าหมายยกระดับรายได้เกษตรกรให้เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ โดยแนวทางการพัฒนานั้น ได้แก่ ใช้ความต้องการนำการผลิต ,ยกระดับการตลาด-การแปรรูป-การเกษตร ด้วยเทคโนโลยีในทุกขั้นตอน ,ให้ความสำคัญกับเกษตร 5 คลัสเตอร์ที่มีพื้นฐาน          รวมทั้งโครงการจัดหาพลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์) ในพื้นที่อีอีซี โดยให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เสนอโครงการพลังงานที่ใช้ในเมืองใหม่ รูปแบบพลังงานอัจฉริยะ (Smart Power Supply: SPS) ในลักษณะการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง หรือ Independent Power Supply (IPS) ซึ่งมอบหมายให้ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผลิตไฟฟ้า เพื่อส่งให้ กฟภ.รับซื้อ และส่งจำหน่ายสำหรับใช้ในเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ

สำหรับภาพรวมการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซีในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.)  มีมูลค่า 74,151 ล้านบาท คิดเป็น 67% ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งประเทศ ซึ่งมูลค่าลดลง 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 82,467 ล้านบาท ขณะที่ มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในพื้นที่อีอีซี คิดเป็น 53% ของ FDI ทั้งหมด โดยยังคงเป็นการลงทุนโดยตรงจากจีนมากสุด รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความสนใจมากสุด

 

เกาะติดข่าวที่นี่ 
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand 
facebook live : TNN Live 
twitter : @TNNThailand 
Line : @TNNONLINE 
Youtube Official : TNNThailand 
Instagram : @tnn_online 
TIKTOK : @tnnonline

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง