รีเซต

นาซาเก็บตัวอย่าง 'ดาวเคราะห์น้อย' ครั้งแรกของสหรัฐฯ

นาซาเก็บตัวอย่าง 'ดาวเคราะห์น้อย' ครั้งแรกของสหรัฐฯ
Xinhua
26 กันยายน 2566 ( 13:04 )
35
นาซาเก็บตัวอย่าง 'ดาวเคราะห์น้อย' ครั้งแรกของสหรัฐฯ

ลอสแอนเจลิส, 25 ก.ย. (ซินหัว) -- ยานอวกาศโอไซริส-เร็กซ์ (OSIRIS-Rex) ขององค์การนาซา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจเก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยครั้งแรกของสหรัฐฯ กลับถึงโลกพร้อมตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยเบนนู (Bennu) เมื่อวันอาทิตย์ (24 ก.ย.) ที่ผ่านมารายงานระบุว่ายานอวกาศฯ ปลดแคปซูลตัวอย่างสู่โลกตอน 10.42 น. ตามเวลามาตรฐานสากล ณ ความสูงเหนือพื้นผิวโลกประมาณ 101,000 กิโลเมตร หรือราวหนึ่งในสามของระยะห่างจากโลกถึงดวงจันทร์ และแคปซูลดังกล่าวเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกตามแผนตอน 14.42 น. บริเวณนอกชายฝั่งแคลิฟอร์เนียแคปซูลตัวอย่างลงจอดบนพื้นดินภายในอาณาเขตสนามทดสอบและฝึกอบรมยูทาห์ สังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ตอน 14.52 น. โดยตัวอย่างถูกส่งต่อไปยังศูนย์อวกาศจอห์นสันของนาซาในเมืองฮิวสตันของรัฐเทกซัสในวันจันทร์ (25 ก.ย.) เพื่อการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์อนึ่ง ยานอวกาศโอไซริส-เร็กซ์ ถูกปล่อยสู่อวกาศเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2016 และเดินทางถึงดาวเคราะห์น้อยเบนนู เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2018 ก่อนจะเก็บตัวอย่างหินและฝุ่นจากพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยเบนนู เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2020ดาวเคราะห์น้อยเบนนูเป็นเศษซากหลงเหลือของระบบสุริยะยุคแรกเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อน ซึ่งคาดว่ายังคงมีสภาพดี ทำให้ตัวอย่างที่เก็บมาอาจมอบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของดาวเคราะห์น้อยลักษณะคล้ายคลึงกันที่มีต่อการก่อตัวของดาวเคราะห์และการเกิดสารอินทรีย์และน้ำบนโลกที่นำสู่การเกิดสิ่งมีชีวิตในท้ายที่สุดนาซาระบุว่าข้อมูลต่างๆ จากภารกิจโอไซริส-เร็กซ์ ยังจะช่วยคณะนักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจดาวเคราะห์น้อยที่อาจส่งผลกระทบต่อโลกได้ดีขึ้น และมอบข้อมูลสำหรับการเบี่ยงเบนเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์น้อยในอนาคตทั้งนี้ หลังจากปลดแคปซูลตัวอย่างสู่พื้นผิวโลกแล้ว ยานอวกาศโอไซริส-เร็กซ์ จะเดินทางครั้งใหม่ไปยังดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส (Apophis) ชนิดเอส (S-type) ซึ่งกว้างราว 1,000 ฟุต และจะเข้าใกล้โลกในปี 2029 ด้วยระยะห่าง 32,187 กิโลเมตร ซึ่งน้อยกว่าหนึ่งในสิบของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ภารกิจใหม่นี้ชื่อว่าโอไซริส-เอเปกซ์ (OSIRIS-APEX) มีกำหนดเข้าสู่วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสในเร็วๆ นี้ หลังจากดาวเคราะห์น้อยดวงดังกล่าวเคลื่อนตัวเข้าใกล้โลก เพื่อสังเกตว่าการเดินทางของยานอวกาศฯ ส่งผลกระทบต่อวงโคจร อัตราการหมุน และพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยอย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง