รีเซต

ไทยพร้อมแล้ว! เตียง ยา บุคลากร พร้อมรับมือการระบาดขั้นสูงสุด

ไทยพร้อมแล้ว! เตียง ยา บุคลากร พร้อมรับมือการระบาดขั้นสูงสุด
TNN ช่อง16
17 มีนาคม 2563 ( 13:51 )
214
3
ไทยพร้อมแล้ว! เตียง ยา บุคลากร พร้อมรับมือการระบาดขั้นสูงสุด

วันนี้ (17 มี.ค.63) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า มาตรการ ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ ได้มีการพูดคุย มากว่า2 เดือน ทั้งโรงพยาบาลในเครือคณะแพทย์ โรงพยาบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร รวมถึงการพูดคุยกับโรงพยาบาลเอกชน

ทั้งนี้ ยืนยันว่ามีเตียง เพียงพอต่อผู้ติดเชื้อแน่นอน โดย กรุงเทพมหานคร ได้เตรียมเตียง ให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไว้แล้ว ซึ่งได้แบ่งมาจากเตียงผู้ป่วยปกติ ซึ่งจำนวนเตียงจะเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์ คาดว่าจะมีเตียง ประมาณ 300 เตียง ส่วนต่างจังหวัดได้มีการสำรวจว่าทีเตียงมากกว่า 5,000 เตียง 

ขณะที่ การกระจายผู้ป่วยโรงพยาบาล ราชวิถี ได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์บริหารจัดการเตียงร่วมทำหน้าที่ในการจัดคิวผู้ติดเชื้อว่าต้องไปโรงพยาบาลไหน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ถ้าหากอาการหนักก็จะถูกนำตัวเข้าห้องแยกโรค 

และ ยืนยันว่า ได้แยกเตียงจากหอผู้ป่วยปกติออกมา ไม่มีการอยู่ร่วมกัน และตอนนี้ได้สั่งการให้โรงพยาบาลพยายามเลื่อนนัดผู้ป่วยปกติ เพื่อสำรองเตียงให้กับผู้ป่วยติดเชื้อ

เช่น ที่โรงพยาบาลราชวิถีได้กันไว้สำหรับการรองรับ ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ทั้งตึกไว้ ซึ่งเป็นตึกอายุรกรรมเก่า ชั้นบนเป็นห้องแยกโรคปกติ หรือห้องความดันลบ ชั้นสองเป็นวอดผู้ป่วยเก่า ที่เดิมเป็นอายุรกรรม โดย พรุ่งนี้จะเปิดเตียงไว้ 20 เตียงก่อน และแยกชั้นของผู้ป่วยติดเชื้อกับผู้ป่วยปกติไว้แล้ว 

อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า หากมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น จะใช้วิธีลดปริมาณผู้ป่วยที่ไม่เร่งด่วนในโรงพยาบาลลง เช่นกันให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง(เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหืด จิตเวช และโรคเรื้อรังที่ไม่มีความซับซ้อนในการดูแล ให้ไปรับยาที่ร้านขายยา หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมถึงให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งจัดคลินิกไข้หวัดแยกเฉพาะการคัดกรองผู้ป่วยโควิด- 19 เบื้องต้นมีประมาณ 500-600 แห่ง

ส่วนเรื่องยาในการรักษา ตอนนี้ได้สำรองยา และมีการนำเข้ายาฟาวิพิลาเวียร์จากประเทศญี่ปุ่น ถึงไทยแล้ว 40,000 เม็ด ในการดูแลผู้ป่วยได้ 700 ราย โดยจะกระจายไปยัง โรงพยาบาลราชวิถี 10,000 เม็ด ซึ่งเป็นศูนย์รวมการกระจายผู้ป่วยและกระจายยา กรมการแพทย์ 10,000 เม็ด รวมถึงกระจายไปยังโรงพยาบาลศูนย์ ในการสำรองดูแลผู้ป่วย ซึ่งองค์การเภสัชกรรมจะเป็นผู้กระจาย

สำหรับสูตรยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยขณะนี้ มี 4 สูตร คือ 1 สูตรยาต้านไวรัส HIV (ชนิดที่ 1) ร่วมกับยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ สูตรที่ 2 ยาต้านไวรัส HIV ชนิดที่ 1 ร่วมกับยาต้านไวรัสจากประเทศจีน สูตรที่ 3: สูตรยาต้นไวรัส HIV ชนิดที่ 2 ร่วมกับยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ และยาควอโรควิน และสูตรที่ 4 สูตรยาต้านไวรัส HIV ชนิดที่ 2 ร่วมกับยาต้านไวรัสจากประเทศจีน และยาควอโรคริน

ในอนาคตหากสถานการณ์ ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยจะให้นอนโรงพยาบาลดูอาการก่อน48 ชั่วโมง จากนั้นจะประเมินอาการคนไข้ ก่อนส่งผู้ป่วยไปเฝ้าระวังต่อยัง สถานที่พัก หรือโรงแรม ซึ่งจะมีบุคลกรทางการแพทย์คอยดูแล

นอกจากนี้ เรื่องขวัญกำลังใจบุคลกรทางการแพทย์ ในการดูแลผู้ป่วย ตอนนี้ได้มีการปรับค่าตอบแทน ค่าประกันให้ทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์  โดยหากไทยเข้าสู่จุดสูงสุดของการระบาด ได้มีการเตรียมบุคลกรทางการแพทย์ทุกส่วนมาช่วยการดูแลผู้ป่วย และอาจจะมีการเรียกแพทย์ พยาบาล ที่เกษียณอายุ กลับเข้มาช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย

สำหรับการจัดหอผู้ป่วยเฉพาะราย ห้อง Airborne Infection Isolation Room (AlR) หรือห้องแยกโรคความดันลบ ประกอบด้วย โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี สถาบันโรคทรวงอก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลสงฆ์ โรงพยาบาลของ UHOSNET กรุงเทพมหานคร และกระทรวงกลาโหม 

ขณะที่ การจัดตั้งหอผู้ป่วยรวมเฉพาะผู้ป่วยโควิด- 19 หรือ cohort ward ในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชรานี สถาบันโรคทรวงอก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และโรงพยาบาลสงฆ์ 

หากมีการระบาดและมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในกรุงเทพมหานคร อย่างรวดเร็ว ได้มีการดำเนินการเพื่อเตรียมการรองรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลชานเมือง ได้แก่ โรงพยาบาลบางขุนเทียน โรงพยาบาลทุ่งสีกัน โรงพยาบาลวิภารามชัยปราการ โรงพยาบาลมงกฎวัฒนะ โรงพยาบาลศรัญญา โรงพยาบาลจักรีนฤบดินทร์ และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกศาลายา

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง