รีเซต

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้ยังไง เช็คบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 ได้อะไรบ้าง

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้ยังไง เช็คบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 ได้อะไรบ้าง
Ingonn
25 มกราคม 2566 ( 13:03 )
23.9K
4
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้ยังไง เช็คบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 ได้อะไรบ้าง

เช็คบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 ได้อะไรบ้าง หลังจากมีผู้ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใหม่ ผ่าน เป็นจำนวนมาก TrueID จึงมาสรุปวิธีใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้ยังไง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ดีไหม ใครใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้บ้าง

 

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 ได้อะไรบ้าง

โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คือ การยกระดับประสิทธิภาพการจัดสรรสวัสดิการของไทย สามารถจัดสวัสดิการรัฐให้เข้าถึงประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้แบบรายบุคคล อีกทั้งยังเก็บตกกลุ่มเปราะบางของสังคม ทั้งผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ที่เคยถูกละเลยในอดีต ให้เข้าถึงสวัสดิการรัฐที่จำเป็น ด้วยการใช้จ่ายวงเงินผ่านบัตรสวัสดิการฯ ทั้งการซื้อสินค้า อาหาร  ช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมทั้งการใช้จ่ายผ่านร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ร้านประชารัฐของกองทุนหมู่บ้าน ร้านถุงเงินประชารัฐ ซึ่งช่วยกระจายรายได้สู่ชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งผู้รับสิทธิโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2559 จำนวนทั้งสิ้น 7.7 ล้านราย ล่าสุดข้อมูลผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปัจจุบัน (ณ วันที่ 1 มกราคม 2566) มีจำนวน 13.22 ล้านราย

 

สำหรับโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ  ปี 2565 หรือลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนกว่า 19.63 ล้านรายนั้น ได้ปรับรูปแบบให้ใช้บัตรประจำตัวประชาชนเป็นบัตรสวัสดิการฯ แทน คาดว่าจะสามารถประกาศผลลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านหรือไม่ผ่าน ได้ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2566 และเริ่มใช้สิทธิได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ โดยช่องทางที่จะตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

  1. ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th/ หรือ http://welfare.mof.go.th

  2. ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) สำนักงานคลังจังหวัด ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร และศาลาว่าการเมืองพัทยา

  3. โทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ Call Center โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โทร. 02-1092345 (เวลาทำการ 08.30 – 17.30 น.)

 

โดยล่าสุดมีนโยบายเพิ่มเงินบัตรสวัสดิการ 700 ต่อเดือน 

 

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ดีไหม

  • สะดวก ปลอดภัย รับ-จ่ายเงินกับหน่วยงานรัฐทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  • แค่เติมเงินเข้าบัตร ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา ก็ใช้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ/ชำระเงินที่หน่วยงานราชการได้
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมเติมเงิน
  • เติมเงินได้ตั้งแต่ 100-30,000 บาท
  • สามารถเช็คยอดเงิน/เติมเงิน/ถอน/โอน ได้ที่เครื่อง ATM และ ADM กรุงไทย

 

ใครใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้บ้าง

  1. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นสิทธิเฉพาะตัวของบุคคลที่ระบุบนหน้าบัตรเท่านั้น  เว้นแต่ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเดินทางได้ สามารถให้ผู้ดูแลเป็นผู้ใชเสิทธิแทนได้ตามเงื่อนไข
  2. กรุณาเก็บรักษาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นอย่างดี เพื่อประโยชน์ในการรับสวัสดิการจากภาครัฐบาล
  3. หากมีการตรวจสอบแล้วพบว่าให้ผู้อื่นนำบัตรไปใช้ เจ้าของบัตรจะถูกตัดสิทธิในบัตรและผู้ที่นำบัตรผู้อื่นไปใช้ชดใช้เงินคืนแก่ทางราชการ

 

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้ยังไง

ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้สิทธิตามวงเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ผู้ถือบัตรฯ เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ ผ่านเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานหรือร้านค้าที่กำหนด เมื่อชำระค่าสินค้าและบริการแล้ววงเงินในบัตรฯจะลดลงตามยอดที่ใช้จ่าย และเมื่อถึงวันที่ 1 ของทุกเดือน* วงเงินจะถูกปรับเป็นค่าเริ่มต้นของวงเงินแต่ละสวัสดิการเสมอ ซึ่งวงเงินคงเหลือของเดือนที่ผ่านมาจะไม่มีการสะสมในเดือนถัดไป และไม่สามารถถอนวงเงินสวัสดิการออกจากบัตรฯ เป็นเงินสดได้

 

เช็คบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 ได้อะไรบ้าง

ทุกวันที่ 1 ของเดือน (ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)

  • วงเงินซื้อสินค้า 200/300 บาทต่อเดือน
  • วงเงินซื้อสินค้า ตามมาตรการช่วยเหลือเงินพิเศษ 200 บาทต่อเดือน (เฉพาะเดือนมกราคม 2566) 
  • ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 100 บาทต่อ 3 เดือน (ม.ค. - มี.ค. 66)
  • ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย
    • ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน
    • ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน
    • ค่าโดยสารรถ ขสมก./รถไฟฟ้า (MRT/BTS/ARL) 500 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยอยู่ในเขต กทม. และปริมณฑล)


ทุกวันที่ 18 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

  • เงินชดเชยค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ได้ลงทะเบียนกับ กฟน. กฟภ. และกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน)
  • เงินชดเชยตามจำนวนเงินที่ชำระค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ได้ลงทะเบียนกับ กปน. กปภ. ที่ใช้น้ำประปาไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินคืนค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาท (ที่ได้ชำระเงินแล้ว) ส่วนที่เกินจาก 100 บาท ผู้ถือบัตรฯ เป็นผู้ชำระเอง)


ทุกวันที่ 22 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

  • เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ)

 

 

 

ข้อมูลจาก กระทรวงการคลัง

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง