รีเซต

ม.นเรศวร ไอเดียเจ๋ง เตรียมผลิตเครื่องฟอกอากาศติดตัว ให้นักเรียนอายุต่ำกว่า 18 ปี ป้องกันเชื้อโรค

ม.นเรศวร ไอเดียเจ๋ง เตรียมผลิตเครื่องฟอกอากาศติดตัว ให้นักเรียนอายุต่ำกว่า 18 ปี ป้องกันเชื้อโรค
มติชน
20 พฤษภาคม 2564 ( 23:54 )
50
ม.นเรศวร ไอเดียเจ๋ง เตรียมผลิตเครื่องฟอกอากาศติดตัว ให้นักเรียนอายุต่ำกว่า 18 ปี ป้องกันเชื้อโรค

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุม Tele Medicine 2 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา2 และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom) ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ศิริเกษม ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ร่วมแถลงข่าวการปิดโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยนเรศวร แห่งที่ 2 NU Hospitel โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้แถลงผ่านระบบ ZOOM

 

 

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก กล่าวว่า ขอชื่นชมมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เปิดโรงพยาบาลสนาม ทำให้มีโรงพยาบาลสนามรวม 12,000 เตียง รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาจำนวนเกือบ 9,000 คน หลังจากเปิดโรงพยาบาลสนามมานานกว่า 1 เดือน ปรากฏว่าประชาชนทยอยหายป่วย และกลับบ้านแล้วจำนวน 6,000 คน ยังคงเหลือรักษาเพียง 3,000 คน จึงได้ทำการปิดโรงพยาบาลสนามลงแล้ว 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยสงขลา

 

 

 

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก กล่าวว่า ซึ่งมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นอีกจุดที่มีผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษา ปัจจุบันมียอดผู้ป่วย 55 คน เป็นผู้ป่วยหนัก 2 คน และผู้ป่วยติดเชื่อ 6 ราย ขณะที่ยอดรวมของจังหวัดมีผู้ป่วย 315 ราย รักษาอยู่ที่โรงพยาบาล 32 ราย โดยสถานการณ์ยอดพบเชื้อเป็น 0 คน

 

 

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างที่พร้อมดูแลประชาชนในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และการสร้างองค์ความรู้เพื่อต่อยอดการพัฒนาอาชีพสอดรับตามนโยบายของประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ 9 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

 

 

 

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด การเฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดจึงเป็นอีกภารกิจที่มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นด่านหน้าในการดำเนินงานอย่างเต็มสรรพกำลัง การตรวจหาเชื้อแบบเชิงรุก โดยรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน (Biosafety Mobile Unit) จากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก จำนวน 1 คัน เข้าปฏิบัติการเก็บสิ่งส่งตรวจหาเชื้อโควิด-19 ให้ประชาชน นิสิต และบุคลากร มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยที่ยืนยันผลการตรวจเป็นบวก พร้อมทั้งการเปิดโรงพยาบาลสนามในการรองรับผู้ป่วย จากการดำเนินงานที่ได้รับความร่วมมือจากจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุข พร้อมทั้งบุคลากรและนิสิตในมหาวิทยาลัยนเรศวรจนส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยที่มีการติดเซื้อได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและทำให้ยอดผู้ติดเชื้อในจังหวัดพิษณุโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นการร่วมกันฝ่าวิกฤตในครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

 

 

“สำหรับโรงพยาบาลสนาม ซึ่งใช้หอพักนิสิตมาปรับปรุงนั้น หลังจากปิดได้มีการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ มีเครื่องอบโอโซน เพื่อฆ่าเชื้อสร้างความมั่นให้ให้กับผู้ปกครองและเตรียมพร้อมรับนิสิตที่จะเปิดเทอม ในวันที่ 21 มิถุนายน นี้

 

 

“หลังจากนี้กำลังเปิดรับบริจาค เพื่อหาซื้อหน้ากากอนามัย ให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำในจังหวัดพิษณุโลก และส่วนหนึ่งส่งให้กับสถานทูตอินเดีย เพื่อส่งต่อไปยังประชาชนที่ประเทศอินเดีย เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิดยังคงระบาดรุนแรง และที่สำคัญทาง ม.นเรศวร ได้สั่งการให้ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ ออกแบบไอออนไนเซอร์ เครื่องฟอกอากาศแบบพกพา หรือเครื่องป้องกันเชื้อโรคในรัศมี 1 เมตร ให้กับเด็กนักเรียนที่ต่ำกว่า อายุ 18 ปี ของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยนเรศวร อีกด้วย” ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง