รีเซต

กรมวิทย์ฯ เผย ตรวจหาเชื้อวันละกว่า 5,000 ตัวอย่าง

กรมวิทย์ฯ เผย ตรวจหาเชื้อวันละกว่า 5,000 ตัวอย่าง
TNN ช่อง16
17 มีนาคม 2563 ( 17:05 )
147
1
กรมวิทย์ฯ เผย ตรวจหาเชื้อวันละกว่า 5,000 ตัวอย่าง

วันนี้ (17 มี.ค.63) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุ ในปัจจุบัน มี 3 ประเภทในการตรวจหาเชื้อ คือ ตรวจหาเชื้อ ตรวจหาภูมิคุ้มกัน และตรวจหาเชื้ออื่นๆ ส่วนใหญ่การติดเชื้อโควิด-19 ในหลายๆ ประเทศ จะเป็นการตรวจหาเชื้อทางเดินหายใจเป็นหลัก เช่น การนำตัวอย่างเชื้อ บริเวณคอ เยื้อบุจมูก หลังคอ คอหอย ถ้าเชื้อลงปอดก็ต้องตรวจเชื้อ ซึ่งการตรวจหาเชื้อในแต่ละครั้ง ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการตรวจ

ขณะที่การตรวจด้วยเลือด (Rapid test ) เริ่มเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยเป็นการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกัน หลังจากเริ่มมีอาการ 5-7 วัน แต่ส่วนใหญ่เชื้อจะไม่ได้อยู่ที่เลือด ส่วนการตรวจเชื้อแบบ "ไดรฟ์ทรู" ต้องระวัง เนื่องจากการเก็บเชื้ออาจปนเปื่อนกับสิ่งแวดล้อมได้ คนที่เก็บตัวอย่างเชื้อ และคนที่จะส่งตัวอย่างเชื้อจะต้องมีการป้องกันอย่างดี

สำหรับการตรวจหาเชื้อจากห้องปฏิบัติการ เพื่อเอาไว้วินิจฉัย ในการรักษาโรค ตรวจหาเชื้อทางเดินหายใจ ใช้ติดตามการรักษา เป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังโรค เป็นข้อมูลทางระบาดรักษาซึ่งในช่วงฟักตัว 14 วัน ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการ จะเป็นส่วนสำคัญในการนำไปสู่การรักษาผู้ป่วย

แต่ข้อจำกัดของการตรวจเชื้อส่วนใหญ่ ต้องเริ่มมีอาการก่อนถึงจะเจอเชื้อ โดยเมื่อมีอาการป่วยเข้าข่ายสอบสวนโรค จะตรวจเจอเชื้อเกือบ100% โดย ย้ำว่า การตรวจผลจากห้องปฏิบัติการ หากผลเป็น "ลบ" ไม่ได้หมายความว่าจะ "ไม่ติดเชื้อ" เนื่องจากยังอยู่ในช่วงระยะฟักตัว 14 วัน 

ทั้งนี้ การตรวจเชื้อมากหรือน้อย ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการควบคุมโรค ซึ่งการตรวจหาเชื้อที่สำคัญคือ การตรวจให้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ ที่ต้องเร่งดำเนินการ คือทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายได้มีการตรวจให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ ในการตรวจเชื้อ ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการ 2 แห่ง จะต้องยืนยันตรงกัน รวมถึงจะต้องพิจารณาข้อมูลอาการป่วย จากผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค ประวัติการเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง การสัมผัส จากนั้นจะนำ ข้อมูลทั้งหมดจะเข้าคณะผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส ด้านระบาดวิทยา และด้านคลินิกพิจารณาร่วมกัน 

ด้าน ดร. พิไลลักษณ์ โอกาดะ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ ระบุว่าสำหรับขั้นตอนการตรวจหาเชื้อโควิด-19 กรมควบคุมโรค จะทำการส่งตัวอย่าง ผู้สงสัยติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์คัดกรอง เพื่อมาตรวจยังห้องปฏิบัติการ 

จากนั้น เจ้าหน้าที่จะทำการสกัดหาสารรหัสพันธุกรรมของตัวอย่างเชื้อ และตรวจตัวอย่างเชื้อผ่านชุดน้ำยาทดสอบ หากพบว่าเป็นเชื้อโควิด กราฟเส้นสีแดงจะปรากฏบนหน้าจอ ซึ่งการตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรม ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทำด้วยเทคนิค เรียลไทม์ RT-PCR ใช้เวลาตรวจวิเคราะห์และรู้ผลภายใน 3 ชั่วโมง

ปัจจุบัน การตรวจหาเชื้อในห้องปฏิบัติการ กรมวิทย์ฯ มีประมาณวันละ 4,000-5,000 ราย ส่วนต้นทุนในการตรวจห้องปฏิบัติการ ประมาณ 2,500 บาท แบ่งเป็น ค่าน้ำยาในการเพิ่มปริมาณของเชื้อ น้ำยาสกัดเชื้อ

ทาง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ย้ำด้วยว่า หากไม่มีอาการ ถึงตรวจก็ไม่พบเชื้อ คำแนะนำการตรวจหาเชื้อ ถ้าอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสอบสวนโรค หรือ PUI คือ กลุ่มเสี่ยง ที่มีประวัติเดินทางกลับจากต่างประเทศ สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางจากประเทศเสี่ยงระบาด ทำงานใกล้ชิดกับกลุ่มเสี่ยง ให้รีบไปตรวจที่โรงพยาบาล ตรวจฟรี หากไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงไม่แนะนำให้ตรวจ แต่ให้เฝ้าระวังตัวเองสังเกตอาการ 14 วัน

และในเบื้องต้น การตรวจหาเชื้อ ในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ตรวจฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากไม่มีอาการ ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงที่เฝ้าระวัง แล้วอยากตรวจเพื่อความสบายใจ อาจมีค่าใช้จ่าย

ส่วนการรับรองชุดตรวจโควิด-19 ของเอกชน และสถาบันการศึกษา ขณะนี้รับรองไปแล้ว 5 ราย และจะทยอยรับรองอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์นี้ แต่ที่ผ่านมาหลายแห่งที่มาขอยื่นรับรองตรวจแต่ไม่ผ่านมาตรฐาน

 

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง