รีเซต

ญี่ปุ่นพัฒนา "แมสก์เรืองแสงเมื่อพบเชื้อโควิด" เตรียมวางจำหน่ายภายในปีหน้า!

ญี่ปุ่นพัฒนา "แมสก์เรืองแสงเมื่อพบเชื้อโควิด" เตรียมวางจำหน่ายภายในปีหน้า!
TNN ช่อง16
23 ธันวาคม 2564 ( 15:48 )
166

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในยุคสมัยที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 ก็คือ หน้ากากอนามัย เนื่องจากจะช่วยปกป้องผู้สวมใส่ให้ปลอดภัยจากการสัมผัสเชื้อ และป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยแพร่เชื้อออกไปด้วยเช่นกัน แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดนี้จะช่วยให้หน้ากากอนามัยของคุณเป็นได้มากกว่าเครื่องป้องกัน เพราะจะสามารถช่วยคุณตรวจหาเชื้อไวรัสโควิดได้ทันที


นักวิจัยชาวญี่ปุ่น Yasuhiro Tsukamoto และทีมงานที่มหาวิทยาลัย Kyoto ได้พัฒนาหน้ากากอนามัยที่ใช้แอนติบอดี้จากนกกระจอกเทศเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโควิดที่ติดอยู่บนหน้ากากอนามัย ซึ่งสามารถทำการตรวจสอบได้โดยการใช้เพียงแค่แสงอัลตราไวโอเลตเท่านั้น


ที่มาของภาพ designboom


เคล็ดลับในการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาของหน้ากากอนามัยนี้ก็คือ ไข่ของนกกระจอกเทศ เนื่องจากนกกระจอกเทศสามารถผลิตแอนติบอดีต่างๆ ได้หลายชนิด ด้วยความสามารถนี้ทีมงานจึงได้ทำการสกัดสารจากแอนติบอดี ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผลิตโดยระบบภูมิคุ้มกันเพื่อตอบสนองต่อแบคทีเรียและไวรัสจากไข่ของนกกระจอกเทศ และเมื่อได้สารแอนติบอดี้มาแล้ว ทางผู้พัฒนาก็จะนำแอนติบอดี้ไปผสมกับสีเรืองแสง


ยิ่งไปกว่านั้นผู้พัฒนาก็ได้ทำการสร้างแผ่นกรองหน้ากากแบบพิเศษที่สามารถถอดแยกออกมาจากหน้ากากอนามัยได้ แล้วได้ทำการให้ผู้ทดลองสวมหน้ากาก หลังจากผ่านไปแปดชั่วโมง ตัวกรองจะถูกนำออกมาและฉีดพ่นด้วยสารเคมีที่เรืองแสงภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต หากมีไวรัสติดอยู่ตัวกรองที่สวมใส่โดยผู้ติดเชื้อโควิดจะเรืองแสงรอบๆ จมูกและปากนั่นเอง


ที่มาของภาพ theguardian

 

ขณะนี้ทีมงานของผู้พัฒนากำลังพยายามพัฒนาหน้ากากให้สามารถเรืองแสงได้โดยอัตโนมัติหากพบเชื้อไวรัส โดยไม่ต้องใช้แสงพิเศษ โดยหวังว่าใครก็ตามที่สวมหน้ากากอนามัยจะตระหนักว่าตนเองอาจติดเชื้อไวรัสโคโรน่าเมื่อหน้ากากเรืองแสงขึ้นมา แล้วจะได้รีบเข้ารับการตรวจอย่างเป็นทางการ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นด้วย


นักวิจัย Yasuhiro Tsukamoto ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวญี่ปุ่น Kyodo News ว่าทางทีมได้ทำการทดลองกับผู้ป่วย 32 รายที่ติดเชื้อโควิด-19 ในระยะเวลา 10 วัน นักวิจัยพบว่าหน้ากากที่สวมใส่โดยผู้ทดสอบเหล่านี้เรืองแสงและพบร่องรอยของไวรัส COVID-19 หลังจากฉีดพ่นด้วยสเปรย์แอนติบอดีและถือไว้ภายใต้แสงยูวี ทางทีมยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าแสงจะจางลงเมื่อเวลาผ่านไปในขณะที่ผู้ป่วยฟื้นตัวและปริมาณไวรัสลดลง


Tsukamoto ตั้งใจที่จะทดลองใช้หน้ากากกับผู้เข้าร่วม 150 คนในการทดสอบรอบถัดไปของทีม และหวังว่าจะได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อขายหน้ากากในปี 2022




ขอบคุณข้อมูลจาก

theguardian

designboom

insider

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง