มีผลแล้ว! ประกาศควบคุมโฆษณา ข้อความไหนอาจเข้าข่ายไม่เป็นธรรมเช็กที่นี่
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา เรื่อง แนวทางการใช้ข้อความโฆษณาที่มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอันยากแก่การพิสูจน์และแนวทางการพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงเกี่ยวกับข้อความโฆษณา พ.ศ. 2565
โดยที่ปัจจุบัน การโฆษณาสินค้าหรือบริการสามารถกระทำได้หลายรูปแบบ โดยอาศัยสื่อต่าง ๆ เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อป้ายโฆษณา หรือสื่อสังคมออนไลน์ ที่สามารถกระทำการโฆษณาไปได้ทั่วโลก
ซึ่งข้อความที่ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้กระทำการโฆษณาใช้ในการโฆษณามีลักษณะเป็นการเชิญชวนหรือชักจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าหรือบริการ โดยจะพรรณนาถึงข้อดี คุณภาพที่โดดเด่นแต่ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้กระทำการโฆษณาไม่สามารถพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงได้ตามที่ได้มีการอ้างอิงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายงานทางวิชาการ ผลการวิจัย สถิติการรับรองของสถาบันหรือบุคคลอื่นใด หรือใช้ข้อความที่ยากแก่การพิสูจน์ เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นและเกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการและเพื่อให้การโฆษณาสินค้าหรือบริการมีความชัดเจน ถูกต้องเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค
ประกอบกับเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้กระทำการโฆษณา ตลอดจนเพื่อให้การพิจารณาและการใช้อำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. 2522 เป็นไปด้วยความถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใส เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 จึงกำหนดแนวทางการใช้ข้อความโฆษณาที่มีลักษณะเป็น
การยืนยันข้อเท็จจริงอันยากแก่การพิสูจน์และแนวทางการพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงเกี่ยวกับข้อความโฆษณาจึงได้ออกประกาศไว้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 2 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา เรื่อง การโฆษณาสินค้าหรือบริการโดยใช้ข้อความโฆษณาที่มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอันยากแก่การพิสูจน์ ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2526
(2) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา เรื่อง แนวทางการพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงเกี่ยวกับข้อความโฆษณา ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
ข้อ 3 การใช้ข้อความโฆษณาไม่ว่าจะกระทำทางสื่อโฆษณาใดก็ตามจะต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็น ฟัง หรืออ่านได้ชัดเจนตามประเภทของสื่อโฆษณา ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด
ในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ถ้าข้อความโฆษณาทำเป็นภาษาต่างประเทศต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับข้อความที่เป็นสาระสำคัญด้วยทุกครั้งข้อความที่ใช้เป็นหลักในการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ต้องแสดงให้เห็น อ่าน ฟังได้อย่างครบถ้วน
ชัดเจน และไม่ทำให้ผู้บริโภคหลงผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
ข้อความที่แสดงรายละเอียดเงื่อนไขเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจความหมายของโฆษณาได้อย่างถูกต้อง ให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้กระทำการโฆษณาปฏิบัติ
อ่านราชกิจจานุเบกษาฉบับเต็มได้ที่นี่ คลิก
ข้อความโฆษณาที่อาจจะเข้าข่ายมีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอันยากแก่การพิสูจน์แสดงไว้ตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้