รีเซต

ต่างชาติซื้อ-ขายหุ้นไทย มิ.ย. รอบ 10 ปี มากแค่ไหน?

ต่างชาติซื้อ-ขายหุ้นไทย มิ.ย. รอบ 10 ปี มากแค่ไหน?
TNN Wealth
4 มิถุนายน 2564 ( 09:46 )
147

ปูพรมฉีดวัคซีนหนุนหุ้นไทยเดือนมิ.ย.เข้าสู่โหมดกระทิงหรือยัง !

 

 

ตลาดหุ้นไทยในเดือน มิ.ย. โดยปกติในอดีต รอบ 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554 -2563) พบว่า SET Index ให้ผลตอบแทนเป็นบวกรวม 6 ครั้ง ปรับลงเพียง 4 ครั้ง และค่าเฉลี่ย 10 ปี ดัชนี SET ปรับลงเล็กน้อย 0.1%

 

 

ทั้งนี้หากพิจารณาแรงซื้อ-ขายจากต่างชาติ (Foreign) จากสถิติ 10 ปี พบว่า ขายสุทธิหุ้นไทย 8 ครั้ง ซื้อสุทธิ 2 ครั้ง หรือขายเฉลี่ยสุทธิ 1.05 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้จากข้อมูลสถิติตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นเดือน พ.ค. (ytd). ต่างชาติ ขายสุทธิหุ้นไทย 66,000 ล้านบาท ส่วนพันธบัตรซื้อสุทธิ 30,796 ล้านบาท แต่เดือนมิ.ย.นี้จะเป็นอย่างไร

 

 

 

นายฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยเดือน มิ.ย. โดยปกติในอดีต รอบ 10 ปีที่ผ่านมา (ระหว่างปี 2554-2563) พบว่า SET Index ให้ผลตอบ แทนเป็นบวกรวม 6 ครั้ง ปรับลงเพียง 4 ครั้ง และค่าเฉลี่ย 10 ปี ดัชนี SET ปรับลงเล็กน้อย 0.1% และหากพิจารณาแรงซื้อ-ขายจากต่างชาติ (Foreign) จากสถิติ 10 ปี พบว่า ขายสุทธิหุ้นไทย 8 ครั้ง ซื้อสุทธิ 2 ครั้ง หรือขายเฉลี่ยสุทธิ 1.05 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้จากข้อมูลสถิติตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นเดือน พ.ค. (ytd). ต่างชาติ ขายสุทธิหุ้นไทย 66,000 ล้านบาท ส่วนพันธบัตรซื้อสุทธิ 30,796 ล้านบาท

 

สำหรับมิ.ย. ปีนี้มองว่าแรงขายจากต่างชาติน้อยลง หรือมีแรงซื้อเข้ามามากขึ้น ต่างจากในอดีต โดยมีปัจจัยหนุนหลักๆ มาจาก ภาพรวมผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกเริ่มลดน้อยลง แม้จะมีกระจุกตัวอยู่บ้างในแถบทวีปเอเชีย แต่ตัวเลขก็เริ่มทรงตัวไม่ได้เร่งตัวขึ้นอย่างมีนัยฯ ประเทศไทยในเดือน มิ.ย. คาดมีการกระจายวัคซีนล็อตใหญ่จากวัคซีน Astrazeneca เพิ่มเข้ามากว่า 6 ล้านโดส ซึ่ง รัฐบาลคาดว่าจะมีการฉีดวัคซีนได้ 12% ของประชากรภายในสิ้นเดือน โดยเน้นการกระจายไปในพื้นที่เสี่ยง และพื้นที่เศรษฐกิจขนาดใหญ่ก่อน

 

 

 

รัฐบาลค่อย ๆ เริ่มผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจ เห็นได้จากปลายเดือน พ.ค. ทยอยให้เปิดกิจกรรมเศรษฐกิจต่างๆ แม้จะยังคุมเข้ม แต่เชื่อว่าไม่น่าจะกลับไปเข้มงวดรุนแรงมากกว่าเดิม หากผู้ติดเชื้อไม่พุ่งขึ้นแรง เชื่อว่าระยะถัดไปรัฐบาลน่าจะผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจเพิ่ม ลด Downside ในการปรับลด คาดการณ์ GDP Growth ปี 2564 ลง ล่าสุด ผลกระทบโควิดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ฝ่ายวิจัยฯ ปรับลด GDP Growth ปี 2564 เหลือ 1.7% yoy

 

 

 

ขณะเดียวกันรัฐบาลเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการกู้เงิน พรก. ฉุกเฉินเพิ่มอีก 5 แสนล้านบาท พร้อมกับเพิ่มมาตการฟื้นฟูเศรษฐกิจตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้

 

 

 

ส่วนแนวโน้มของ Fund Flow ทั้งผลกระทบ COVID-19 ระลอกที่ 3 รวมถึง MSCI ปรับลดน้ำหนักดัชนีหุ้นไทยยังกดดันให้ Fund Flow ไหลออกในเดือน พ.ค. สูงถึง 3.3 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามทิศทาง Fund Flow ในเดือน มิ.ย. มีแนวโน้มดูดีขึ้น หลังกองทุนไทยและต่างประเทศปรับพอร์ตตาม MSCI เสร็จสิ้น (1 สัปดาห์ให้หลังหุ้นมักขึ้นแรง 3 – 7%)

 

 

 

รวมถึงการกระจายวัคซีนที่เร่งตัวขึ้น ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่จะผลักดันให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบเคียงกับตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว ในเดือน มี.ค. พบว่า มีผู้คนในประเทศดังกล่าวได้รับวัคซีนเร่งขึ้น 2 เท่าจากเดือนก่อน หนุนการกระจายวัคซีนผ่านสัดส่วน 10% ขึ้นไปถึง 28% ของประชากร ณ สิ้นเดือน เม.ย. ขณะที่ตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว (MSCI World) ตอบสนองเชิงบวก และปรับตัวขึ้นแรงถึง 10% ในช่วงเวลาเดียวกัน

 

 

 

ด้านมุมมองกำไรบริษัทจดทะเบียน ในงวด 1Q64 ที่ผ่านมา (ดีกว่าตลาดคาดมาก โดยมีกำไรสูงถึง 2.62 แสนล้านบาท หลักๆได้แรงหนุนมาจากหุ้นในกลุ่ม Commodity ที่ฟื้นตัวตามภาพรวมเศรษฐกิจโลก และหนุน ฝ่ายวิจัยฯ ทยอยปรับประมาณการกำไรปี 2564 ขึ้นเป็น 8.05 แสนล้านบาท (EPS64F 71.2 บาท/หุ้น)และมีการเติบโตสูงถึง 34% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งในอดีตปีไหนที่กำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตเกิน 30% SET Index มีโอกาสปรับตัวขึ้นเกิน 20%

 

 

 

นอกจากนี้หากพิจารณาความถูกแพงของ SET Index ณ ปัจจุบัน ที่ 1,600 จุด มีการซื้อขายบน Market Earning Yield Cap ที่ระดับ 4% ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ระดับ 3.90% แสดงว่าดัชนียังอยู่ในระดับที่น่าลงทุน และหวังขึ้นไปทดสอบดัชนีเป้าหมายที่ 1,670 จุด

 

 

 

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์เดือน มิ.ย. 64 แแนะนำหุ้นเปิดเมือง ราคา Laggard และมีแนวโน้มการเติบโตชัดเจนขึ้นในช่วงที่เหลือของปี AOT(FV@67) BDMS (FV@24) , MAJOR(FV@24) , MINT (FV@34) MTC (FV@80) STEC(FV@18) SAT (FV@24)น่าจะ Outperform ได้ดี

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง