รีเซต

อย.ตรวจสอบช็อกโกแลต "Kinder Surprise" รุ่นที่เป็นข่าว ไม่มีการนำเข้าในไทย

อย.ตรวจสอบช็อกโกแลต "Kinder Surprise" รุ่นที่เป็นข่าว ไม่มีการนำเข้าในไทย
TNN ช่อง16
14 เมษายน 2565 ( 14:46 )
164
อย.ตรวจสอบช็อกโกแลต "Kinder Surprise" รุ่นที่เป็นข่าว ไม่มีการนำเข้าในไทย

วันนี้ (14 เม.ย.65) นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวว่า สำนักงานมาตรฐานอาหารของประเทศอังกฤษ (Food Standards Agency, FSA) ประกาศเตือนผู้บริโภค

กรณีบริษัทผู้ผลิตเรียกคืนผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตเฟอเรโร ที่ผลิตจากประเทศเบลเยียม รุ่น Kinder Surprise ขนาด 20 กรัม และ 20 กรัม x 3 ระบุวันที่ควรบริโภคก่อนระหว่างวันที่ 11 ก.ค.-7 ต.ค. 2565 เนื่องจากอาจปนเปื้อนเชื้อแซลโมเนลลานั้น 

จากการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่า ผลิตภัณฑ์คินเดอร์ช็อกโกแลต ตรา เฟอเรโร มีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยหลายรุ่น 

โดยผู้นำเข้า 2 บริษัท คือ บริษัท เอส.จี.ฟาร์อีสเทิร์น จำกัด และบริษัท ซีโน-แปซิฟิคเทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งไม่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์คินเดอร์ เซอร์ไพรซ์ และจากการตรวจสอบข้อมูลการอนุญาต พบว่า คินเดอร์ เซอร์ไพรซ์ ช็อกโกแลตนมรูปไข่ KINDER SURPRISE MILK CHOCOLATE EGG เลขสารบบอาหาร 10-3-09423-1-0399 สถานะผลิตภัณฑ์ สิ้นสภาพ ตั้งแต่ 31/12/2558 

โดยเป็นผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตนมที่ประกอบด้วยไข่ช็อกโกแลตล้อมรอบแคปซูลพลาสติกที่มีของเล่นชิ้นเล็กอยู่ข้างใน เข้าข่ายเป็นการบรรจุสิ่งอื่นหรือวัตถุอื่นที่ไม่ใช่อาหารในหีบห่อของภาชนะบรรจุอาหารที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ

จึงห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 310) พ.ศ. 2551 อย่างไรก็ตาม ทางด่านอาหารและยา อย. มีการเฝ้าระวังไม่ให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีปัญหาหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคหลุดรอดเข้ามาในประเทศได้

รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อว่า ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตที่บรรจุภัณฑ์ ไม่มีรอยแตก หรือฉีกขาด มีฉลากแสดงข้อมูล เช่น ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า น้ำหนักสุทธิปริมาณน้ำตาลและ/หรือวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ

เดือนและปีที่ผลิต หรือ วันเดือนและปีที่หมดอายุ ข้อความแสดงการใช้วัตถุกันเสีย สี หรือการแต่งกลิ่นรส ถ้ามีการใช้ แล้วแต่กรณี และหากพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ขอให้ร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ.


ข้อมูลและภาพจาก สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง